ไรโซแบคทีเรียส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช: หลักการและการใช้ประโยชน์

Main Article Content

ศุภชาติ ธรรมนิติเวทย์

บทคัดย่อ

ไรโซแบคทีเรียส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชหรือที่นิยมเรียกกัน “พีจีพีอาร์” (PGPR) พบในบริเวณเขตอิทธิพลรากพืช จัดเป็นแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ภายในรากพืช (iPGPR) แบบสมชีพ เช่น แบคทีเรียในปมรากพืช และแบคทีเรียอาศัยอยู่ภายนอกรากพืช (ePGPR) แบบการดำรงชีวิตอย่างอิสระในดิน เช่น แบคทีเรียที่อาศัยอยู่ใกล้ผิวรากพืช คุณสมบัติของพีจีพีอาร์ที่พึงประสงค์ ได้แก่ 1) เพิ่มปริมาณได้ง่ายบริเวณผิวรากพืช 2) ควบคุมจุลินทรีย์ก่อโรคพืช และ 3) ทนทานต่อการขาดน้ำ ความเค็ม ความร้อน และรังสีอัตราไวโอเลต อีกทั้งยังมีกลไกส่งเสริมการเจริญเติบโตทั้งทางตรง ได้แก่ การตรึงไนโตรเจน การละลายฟอสเฟต การละลายโพแทสเซียม การผลิตฮอร์โมนพืช และการเจริญของรากพืช กลไกส่งเสริมการเจริญเติบโตทางอ้อม ได้แก่ การผลิตสารปฏิชีวนะ การผลิตไซเดอร์โรฟอร์ การทนทานต่อสภาพแวดล้อม และการทนทานต่อโลหะหนัก ด้วยคุณสมบัติที่เป็นประโยชน์ดังกล่าวพีจีพีอาร์จึงถูกนำมาทำเป็นผลิตภัณฑ์ปุ๋ยชีวภาพที่พัฒนาขึ้นโดยกรมวิชาการเกษตรประกอบด้วย 1) ปุ๋ยชีวภาพไรโซเบียม 2) ปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์ 3 ชนิด ได้แก่ ปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์-วัน (สำหรับข้าวโพดและข้าวฟ่าง) พีจีพีอาร์-ทู (สำหรับข้าว) และพีจีพีอาร์-ทรี (สำหรับอ้อยและมันสำปะหลัง) และ 3) ปุ๋ยชีวภาพละลายฟอสเฟต เมื่อนำปุ๋ยชีวภาพไรโซเบียม ปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์ และปุ๋ยชีวภาพละลายฟอสเฟตมาใช้กับการผลิตพืชสามารถลดการปุ๋ยเคมีได้ร้อยละ 50, 25 และ 25-50 ตามลำดับ นอกจากนี้การใช้ปุ๋ยชีวภาพยังช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กับพืชและเพิ่มผลผลิตให้แก่เกษตรกร

Article Details

บท
บทความปริทัศน์