ความแปรปรวนขององค์ประกอบผลผลิตและคุณภาพการหุงต้มของข้าวพื้นเมือง ที่เก็บรวบรวมจากเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลกและจังหวัดเพชรบูรณ์

Main Article Content

สุพรรษา ชินวรณ์
อุษณรัศมิ์ รักมาก
อนุพงศ์ วงค์ตามี

บทคัดย่อ

ข้าวพันธุ์พื้นเมือง (Oryza sativa L.) เป็นแหล่งความหลากหลายทางพันธุกรรมที่สำคัญในการปรับปรุงพันธุ์ข้าวไทย การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความแปรปรวนขององค์ประกอบผลผลิตและคุณภาพเมล็ดข้าวพื้นเมืองที่เก็บรวบรวมจากเกษตรกรพื้นที่จังหวัดพิษณุโลกและจังหวัดเพชรบูรณ์ โดยใช้องค์ประกอบผลผลิตจำนวน 4 ลักษณะ ได้แก่ จำนวนรวงต่อกอ จำนวนเมล็ดดีต่อรวง เปอร์เซ็นต์การติดเมล็ด น้ำหนัก 100 เมล็ด และการประเมินคุณภาพของเมล็ดข้าวเบื้องต้นโดยการวิเคราะห์ค่าอมิโลส (Amylose) และการตรวจสอบค่าความคงตัวแป้งสุก (Gel Consistency) ศึกษาในข้าวพันธุ์พื้นเมือง 10 สายพันธุ์ เปรียบเทียบกับข้าวพันธุ์มาตรฐาน 3 พันธุ์ ทำการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (CRD) จำนวน 3 ซ้ำ ผลการทดลองพบว่า ข้าวพื้นเมืองมีความความแปรปรวนขององค์ประกอบผลผลิตที่พบระหว่างพันธุ์ข้าวพื้นเมืองภายในกลุ่มข้าวเดียวกัน และความแปรปรวนระหว่างกลุ่มข้าว คุณภาพการหุงต้มของเมล็ดข้าวพื้นเมืองสามารถจัดกลุ่มของตัวอย่างข้าวตามปริมาณอมิโลสและความคงตัวของแป้งสุกได้ 4 กลุ่ม ตามเกณฑ์มาตรฐานของกรมวิชาการเกษตร (2545) ได้แก่ (1) ข้าวเจ้าเมล็ดข้าวเมื่อหุงสุกมีลักษณะเหนียวนุ่ม แต่มีแป้งสุกลักษณะแข็ง จำนวน 3 พันธุ์ ได้แก่ พันธุ์ข้าวเจ้าแดง (RPR1) ข้าวหอมมะลิดำ (FR1) และ ข้าวเจ้าขาว (WR1) (2) เมล็ดข้าวสุกมีลักษณะเหนียวนุ่ม ลักษณะแป้งสุกปานกลางจำนวน 3 พันธุ์ ได้แก่ พันธุ์ข้าวหอมมะลิไร่ (เรียว) (FR3) ข้าวหอมทอง (FR4) และ KDML105 (3) เมล็ดข้าวสุกมีลักษณะเหนียวแต่มีแป้งสุกลักษณะปานกลาง จำนวน 2 พันธุ์ ได้แก่ พันธุ์ข้าวลืมผัว (ขาว) (WR2) และ ข้าวเหนียวขาว (WR3) และ (4) เมล็ดข้าวสุกมีลักษณะเหนียวแต่มีแป้งสุกลักษณะอ่อน จำนวน 5 พันธุ์ ได้แก่ พันธุ์ข้าวเหนียวลืมผัว (FR2) ข้าวเหนียวดำ (เพชรบูรณ์) (RPR2) ข้าวเหนียวดำ (พิษณุโลก) (RPR3) RD6 และ Luem Pua ดังนั้นผลการศึกษานี้สามารถใช้เป็นข้อมูลในการส่งเสริมเกษตรกรในการปลูก หรือสามารถนำไปใช้เป็นประโยชน์ในการคัดเลือกพันธุ์เพื่อการปรับปรุงพันธุ์ข้าวให้มีคุณภาพที่ตรงตามความต้องการของผู้บริโภคได้

Article Details

บท
บทความวิจัย