การประเมินศักยภาพการให้ผลผลิตระหว่างอ้อยปลูกและอ้อยตอ 1 จำนวน 16 สายพันธุ์ที่ปลูกในสภาพพื้นที่ดินทรายของจังหวัดพิษณุโลก

Main Article Content

จุฑามาศ ปูริยะ
วีรพงษ์ ชำนาญผา
พิชัย บุตรสีภูมิ
อนุพงศ์ วงค์ตามี

บทคัดย่อ

จังหวัดพิษณุโลกมีภูมิประเทศที่เหมาะแก่การปลูกอ้อยโรงงาน พื้นที่ปลูกอ้อยของจังหวัดพิษณุโลกส่วนใหญ่จัดอยู่ในกลุ่มดินทราย จึงต้องมีการทดสอบพันธุ์อ้อยที่เหมาะสมต่อสภาพดินเพื่อให้ได้พันธุ์อ้อย
ที่เหมาะสมต่อสภาพพื้นที่ ดังนั้นในการศึกษาครั้งนี้ จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้พันธุ์อ้อยที่เหมาะสมกับ
สภาพพื้นที่ดินทรายในเขตจังหวัดพิษณุโลก โดยประเมินพันธุ์ในระยะอ้อยปลูกและอ้อยตอจำนวน 16 พันธุ์ วางแผนการทดลองแบบ RCBD จำนวน 4 ซ้ำ ได้ปลูกเปรียบเทียบพันธุ์อ้อยดีเด่น จำนวน 14 พันธุ์ ที่ให้
ผลผลิตสูงและใช้พันธุ์มาตรฐานเปรียบเทียบ 2 พันธุ์ ได้แก่ พันธุ์ขอนแก่น 3 (KK3) และพันธุ์ LK92-11 บันทึกข้อมูลปริมาณน้ำฝนชนิดรายวัน และข้อมูลผลผลิตของอ้อยปลูกและอ้อยตอ 1 พบว่าปริมาณน้ำฝนระหว่างช่วง
การเจริญเติบโตของอ้อยปลูก มีปริมาณน้ำฝนสะสมสูงกว่าในช่วงการเจริญเติบโตของอ้อยตอ องค์ประกอบผลผลิตและผลผลิตของอ้อยปลูก 16 พันธุ์มีปริมาณที่สูงกว่าอ้อยตออย่างชัดเจน อาจจะเป็นผลมาจากปริมาณน้ำฝนที่แตกต่างกันระหว่าง 2 ฤดูปลูก ส่งผลต่อการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตอ้อย โดยเฉพาะที่ระยะ
ย่างปล้องมีผลต่อการเจริญเติบโตที่ดีทำให้อ้อยมีผลผลิตน้ำหนักลำและน้ำตาลสูง ดังนั้น พันธุ์อ้อยที่ให้ผลผลิตใกล้เคียงพันธุ์เปรียบเทียบมาตรฐานทั้งในระยะอ้อยปลูกและอ้อยตอได้แก่พันธุ์ UT84-10 และ TBy27-0590

Article Details

บท
บทความวิจัย