การประเมินความหลากหลายทางพันธุกรรมของกล้วยไข่โดยใช้เครื่องหมายเอสอาร์เอพี

Main Article Content

วรดา ช้างคำ
ฐนิตา บุญสร้างสม

บทคัดย่อ

กล้วยเป็นหนึ่งในผลไม้ที่บริโภคกันมากที่สุดในโลก โดยกล้วยไข่กำแพงเพชรและกล้วยไข่เกษตรศาสตร์ 2 เป็นสายพันธุ์ที่สร้างมูลค่าสูงมากให้กับตลาดการส่งออก เนื่องจากมีรสชาติหวานและมีกลิ่นหอมเป็นเอกลักษณ์ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากความหลากหลายทางพันธุกรรมในกล้วยสามารถเกิดขึ้นได้โดยการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติหรือการคัดเลือกโดยมนุษย์ อีกทั้งสายพันธุ์กล้วยไข่ที่เพาะปลูกในประเทศไทยมีคะแนนจีโนมเท่ากันแต่แสดงลักษณะทางสัณฐานวิทยาที่แตกต่างกัน ดังนั้นความหลากหลายทางพันธุกรรมของสายพันธุ์กล้วยไข่จึงจำเป็นต้องมีการตรวจสอบโดยใช้เครื่องหมายชีวโมเลกุล งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบลายพิมพ์ดีเอ็นเอและประเมินความหลากหลายทางพันธุกรรมของกล้วยไข่ต่างสายพันธุ์และในสายพันธุ์เดียวกันจำนวน 13 ตัวอย่าง ร่วมกับกล้วยหอม จำนวน 2 สายพันธุ์ โดยใช้เครื่องหมายเอสอาร์เอพี จำนวน 10 คู่ พบว่าไพรเมอร์สามารถเพิ่มปริมาณดีเอ็นเอและให้แถบดีเอ็นเอทั้งหมด 79 แถบ เป็นแถบดีเอ็นเอที่แสดงพอลิมอร์ฟิซึมจำนวน 61 แถบ (77.2 เปอร์เซ็นต์) และค่า PIC มีค่าอยู่ระหว่าง 0.16-0.38 โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.25 ค่าสัมประสิทธิ์ความคล้ายคลึงทางพันธุกรรมมีค่าระหว่าง 0.64-1.00 โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.83 ในการศึกษานี้สามารถจัดกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธี UPGMA และแบ่งกลุ่มกล้วยได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้อาจเป็นประโยชน์ในการเก็บรวบรวบเชื้อพันธุกรรม การอนุรักษ์ และการปรับปรุงพันธุ์กล้วยต่อไปในอนาคต

Article Details

บท
บทความวิจัย