การศึกษาอายุของต้นหว้าที่เหมาะสมในการเจริญของเชื้อเห็ดตับเต่าภายใต้สภาวะเรือนปลูกพืช

Main Article Content

ธนภักษ์ อินยอด
ธนากร ลัทธิ์ถีระสุวรรณ
ขนิษฐา ชวนะนรเศรษฐ์
ธนภัทร เติมอารมย์
ชาตรี กอนี
สุริมา ญาติโสม
สุจิตรา บัวลอย
ปิยะดา เอี่ยมประสงค์

บทคัดย่อ

การศึกษาอายุของต้นหว้าที่เหมาะสมในการเจริญของเชื้อเห็ดตับเต่า ภายใต้สภาวะเรือนปลูกพืช โดยการปลูกเชื้อเห็ดตับเต่าลงในกล้าต้นหว้าอายุ 1, 3, 5, 7 และ 9 เดือน หลังจากนั้น 1 เดือน ตรวจวัดอัตราการเจริญทางความสูงของลำต้น ความโตของลำต้น (เส้นผ่านศูนย์กลางที่ระดับคอรากลำต้น) มวลชีวภาพส่วนเหนือดิน (น้ำหนักแห้งของใบและลำต้น) มวลชีวภาพส่วนใต้ดิน (น้ำหนักแห้งของราก) จำนวนรากแขนง ความยาวราก จำนวนใบ และ เปอร์เซ็นต์การเกิดรากเอคโตไมคอร์ไรซา ผลการทดลองพบว่ากล้าต้นหว้าที่อายุ 7 เดือน เป็นช่วงอายุกล้าที่เหมาะสมที่สุดสำหรับปลูกเชื้อเห็ดตับเต่า ส่งผลให้การเจริญทางด้านความสูง ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของลำต้นที่ระดับคอรากของกล้าไม้แตกต่างจากต้นกล้าอายุอื่นๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P≤0.05)  เท่ากับ 21.32±1.53 และ 1.35±0.09 เซนติเมตร ตามลำดับ รวมถึงผลของจำนวนใบ ความยาวราก มวลชีวภาพส่วนเหนือและใต้ดิน โดยมีค่าเท่ากับ 22±1.00 ใบ, 645.36±24 มิลลิเมตร, 5.2±0.31 กรัม และ 2.9±0.74 กรัม ตามลำดับ ในขณะที่เปอร์เซ็นต์การเกิดรากเอคโตไมคอร์ไรซาพบมากที่สุดในต้นหว้าอายุ 3 เดือน จากงานวิจัยนี้ สามารถใช้เป็นข้อมูลสำหรับเกษตรกรและผู้สนใจ ในการเลือกช่วงอายุที่เหมาะสมของพืชอาศัย สำหรับการผลิตเห็ดตับเต่าให้ประสบผลสำเร็จในอนาคตได้

Article Details

บท
บทความวิจัย