นิเวศวิทยาป่าต้นน้ำและการจัดการลุ่มน้ำโดยชุมชนในลุ่มน้ำแม่พร้าว บ้านงิ้วเฒ่า ตำบลแม่สาบ อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษานิเวศวิทยาป่าต้นน้ำและการจัดการลุ่มน้ำโดยชุมชนในลุ่มน้ำแม่พร้าว บ้านงิ้วเฒ่า ตำบล แม่สาบ อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินนิเวศวิทยาเชิงปริมาณของป่าต้นน้ำ ประเมินคุณภาพน้ำและปริมาณน้ำท่า และเข้าใจการจัดการลุ่มน้ำโดยชุมชน วิธีการประกอบด้วย การสำรวจนิเวศวิทยาอย่างมีส่วนร่วม (PEIM) การประเมินคุณภาพน้ำทางกายภาพและชีวภาพ การวัดปริมาณน้ำท่าด้วยวิธีการวัดหน้าตัด - ความเร็ว การสำรวจภาคสนามร่วมกับชาวบ้านและการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างด้านการจัดการลุ่มน้ำและการใช้ประโยชน์ที่ดิน พบว่าลุ่มน้ำแม่พร้าวมีพื้นที่ทั้งหมด 5,014.50 ไร่ ประกอบด้วยพื้นที่ป่าไม้ร้อยละ 88.85 ของพื้นที่ลุ่มน้ำ ป่าต้นน้ำเป็นป่าดิบเขาผสมเบญจพรรณมีพื้นที่ 1,455.44 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 29.02 ของพื้นที่ทั้งหมด ค่าดัชนีความหลากหลายของชนิดพันธุ์ไม้เท่ากับ 5.18 ถือว่าค่อนข้างสูง พบชนิดพันธุ์ไม้จำนวน 376 ต้น จำแนกได้ 67 ชนิดพันธุ์ ใน 36 วงศ์ ห้วยแม่พร้าวมีคุณภาพน้ำที่ดี โดยมีค่าดัชนีบ่งชี้คุณภาพน้ำทางชีวภาพเฉลี่ยเท่ากับ 5.99 ปริมาณน้ำท่าทั้งหมดเท่ากับ 2,634,369.30 ลบ.ม./ปี การใช้ที่ดินเพื่อเกษตรกรรมคิดเป็นร้อยละ 7.28 ของพื้นที่ลุ่มน้ำ ชุมชนบ้านงิ้วเฒ่าร่วมกันจัดการทรัพยากรน้ำโดยบูรณาการเทคโนโลยีด้านชลประทานสมัยใหม่กับภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยเฉพาะระบบเหมืองฝาย ชาวบ้านมีการปกป้องป่าต้นน้ำอย่างเข้มแข็งทำให้ป่ามีสภาพอุดมสมบูรณ์และทำหน้าที่ให้น้ำแก่ลุ่มน้ำตอนล่างอย่างเหมาะสม
คำสำคัญ: นิเวศวิทยาป่าไม้, ป่าต้นน้ำ, คุณภาพน้ำ, ปริมาณน้ำท่า, การใช้ประโยชน์ที่ดิน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
Journal of TCI is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) licence, unless otherwise stated. Please read our Policies page for more information...