ผลของอุณหภูมิ ความชื้น และฤดูกาลต่อระดับคอร์ติซอลในโคนมสายพันธุ์โฮลสไตน์ฟรีเชียน

Main Article Content

Wannaluk Thaworn

บทคัดย่อ

อุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์เป็นปัจจัยหลักสำคัญซึ่งเกี่ยวข้องกับการจัดการความเครียดในโคนมและส่งผลต่อการผลิตน้ำนม วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมนคอร์ติซอลของโคนมแม่พันธุ์โฮลสไตน์ฟรีเชียนที่ได้รับอิทธิพลของการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิสิ่งแวดล้อม และความชื้นในอากาศในช่วงฤดูกาลต่างๆ ในจังหวัดลำพูน ด้วยเทคนิค Sandwich ELISA โดยใช้ความเข้มข้นของปริมาณคอร์ติซอลเป็นค่ามาตรฐาน 0, 0.039, 0.078, 0.156, 0.315, 0.625, 1.25, 5 และ 10 ng/ml  เพื่อใช้ในการคำนวณปริมาณฮอร์โมนคอร์ติซอลในตัวอย่างสารสกัดจากมูลโค จากผลการศึกษาพบว่าค่าเฉลี่ยของอุณหภูมิ 28.16°C ความชื้นสัมพัทธ์ 34.36% ค่า THI 72.40% และปริมาณของฮอร์โมนคอร์ติซอล 12.84 ng/ml ซึ่งปริมาณของฮอร์โมนคอร์ติซอลในฤดูฝนมีค่าเฉลี่ยที่ 16.96 ± 7.83 ng/ml ซึ่งมีค่าสูงกว่าในฤดูหนาว (7.94 ± 3.01 ng/ml) เนื่องจากมีความสัมพันธ์กับความชื้นสัมพัทธ์ที่วัดได้ภายในโรงเรือนพบว่ามีค่าความสูงช่วงฤดูฝนของเดือนสิงหาคมและตุลาคม โดยค่าความความชื้นที่วัดได้ 52.29 และ 54.19 % ตามลำดับ และอุณภูมิในช่วงฤดูหนาวมีความแปรปรวนของสภาพอากาศก่อนที่จะเข้าสู่ฤดูร้อนจึงส่งผลต่อปริมาณฮอร์โมนคอร์ติซอลในฤดูหนาวสูงกว่าในฤดูร้อน รวมถึงความชื้นที่สูงช่วงฤดูหนาวของเดือนมกราคมซึ่งมีความชื้นสูงถึง 52.71% นอกจากนี้ปริมาณของฮอร์โมนคอร์ติซอลต่ำสุดในช่วงฤดูร้อน 7.03 ± 2.93 ng/ml ผลการศึกษาพบว่าความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิ ความชื้น และฤดูกาลต่อระดับคอร์ติซอลในโคนมสายพันธุ์โฮลสไตน์ฟรีเชียน ค่าเฉลี่ยปริมาณคอร์ติซอลต่ออุณหภูมิอากาศมีค่าสหสัมพันธ์เท่ากับ 0.17 (P<0.05) และค่าเฉลี่ยปริมาณคอร์ติซอลต่อ ความชื้นสัมพัทธ์ ฤดูกาล และ ค่า THI มีค่าสหสัมพันธ์เท่ากับ 0.435, 0.543 และ 0.347 ตามลำดับ (P<0.01) ดังนั้นจากการศึกษาในครั้งนี้พบว่าอุณภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ และฤดูกาล มีผลต่อปริมาณคอร์ติซอลซึ่งแสดงถึงความเครียดในโคนมสายพันธุ์โฮลสไตน์ฟรีเชียน

Article Details

บท
บทความวิจัย