ผลของการเสริมโทโคฟีรอลและซีลิเนียมในอาหารต่อคุณภาพน้ำเชื้อและอัตราการผสมติดในไก่พ่อพันธุ์

Main Article Content

พัชรา ธนานุรักษ์
สมจิตร ถนอมวงศ์วัฒนะ
ศศินิษฐา ถนอมวงศ์วัฒนะ
ปาจรีย์ โทตะกูล
พิริยาภรณ์ สังขปรีชา
ชาติชาย โยเหลา
อชิรา ผดุงฤกษ์
สินสมุทร แซ่โง้ว
สุจีรา พึ่งเจริญ
ยศพนธ์ ยางงาม
ฐิตาภรณ์ คงดี
ณปภัช ช่วยชูหนู

บทคัดย่อ

การทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการเสริมโทโคฟีรอลและซีลิเนียมในอาหารต่อคุณภาพน้ำเชื้อและอัตราการผสมติดในไก่พ่อพันธุ์ ใช้ไก่ประดู่หางดำ อายุ 1 ปี จำนวน 36 ตัว แบ่งออกเป็น 9 กลุ่ม กลุ่มละ 4 ตัว ทำการเสริมโทโคฟีรอล (0, 50  และ 100 มิลลิกรัม/กิโลกรัมอาหาร) ร่วมกับซีลีเนียม (0, 0.3 และ 0.6 มิลลิกรัม/กิโลกรัมอาหาร) ในอาหาร เป็นเวลา 14 วัน ทำการรีดน้ำเชื้อสัปดาห์ละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 6 สัปดาห์ และประเมินคุณภาพน้ำเชื้อสด โดยประเมินปริมาณน้ำเชื้อ ความเข้มข้นของอสุจิ วิเคราะห์รูปแบบการเคลื่อนที่ด้วยเครื่อง CASA วิเคราะห์อัตราการรอดชีวิต ด้วยการย้อมสีฟลูออเรสเซนต์ SYBR-14 และ PI ทดสอบอัตราการผสมติดกับแม่ไก่ไข่สายพันธุ์ทางการค้าจำนวน 54 ตัว จากการศึกษาพบว่ากลุ่มที่ได้รับโทโคฟีรอลร่วมกับซีลิเนียมในอาหารทุกระดับมีปริมาณน้ำเชื้อและความเข้มข้นไม่แตกต่างกัน กลุ่มที่มีการเสริมโทโคฟีรอลที่ระดับ 50 มิลลิกรัม/กิโลกรัมอาหาร ร่วมกับซีลิเนียมที่ระดับ 0.3 และ 0.6 มิลลิกรัม/กิโลกรัมอาหาร มีอัตราการเคลื่อนที่รวม (96.06±2.19 และ 96.00±2.27 เปอร์เซ็นต์) และอัตราการรอดชีวิต (92.45±2.13 และ 92.67±2.41 เปอร์เซ็นต์) สูงกว่ากลุ่มอื่นๆ (P<0.05) เมื่อนำน้ำเชื้อไปทดสอบอัตราการผสมติด พบว่ากลุ่มที่มีการเสริมโทโคฟีรอลระดับ 50 มิลลิกรัม/กิโลกรัมอาหาร ร่วมกับซีลิเนียมที่ระดับ 0.3 และ 0.6 มิลลิกรัม/กิโลกรัมอาหารมีอัตราการผสมติด (93.07±1.17 และ 93.27±3.57 เปอร์เซ็นต์) สูงที่สุด (P<0.05) ดังนั้น จึงสรุปได้ว่าการเสริมโทโคฟีรอลระดับ 50 มิลลิกรัม/กิโลกรัมอาหารร่วมกับซีลิเนียมที่ระดับ 0.3 และ 0.6 มิลลิกรัม/กิโลกรัม สามารถปรับปรุงคุณภาพน้ำเชื้อสดและเพิ่มอัตราการผสมติดในไก่ได้

Article Details

บท
บทความวิจัย