อิทธิพลของเอนโซ่ที่มีผลต่อปริมาณฝุ่นละอองขนาด 2.5 ไมครอน ในช่วงฤดูฝนและฤดูแล้งบริเวณภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย

Main Article Content

รังสรรค์ เกตุอ๊อต
ปริญ หล่อพิทยากร

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของเอนโซ่ที่มีผลต่อปริมาณฝุ่นละอองขนาด 2.5 ไมครอนในช่วงฤดูฝนและฤดูแล้งในบริเวณภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย การศึกษาในครั้งนี้เป็นการใช้ข้อมูลในช่วงปี พ.ศ. 2561-พ.ศ.2563 และทำการศึกษาค่าดัชนีเอนโซเพื่อทำการแบ่งช่วงภาวะเอลนีโญ ปกติ และลานีญาในช่วงฤดูฝน และฤดูแล้ง จากนั้นนำข้อมูลความเข้มข้นสูงสุดของปริมาณฝุ่นละอองขนาด 2.5 ไมครอน ในแต่ละสถานีมาทำการเฉลี่ยในช่วงฤดูฝน (พฤษภาคม- ตุลาคม) และช่วงฤดูแล้ง (พฤศจิกายน-ธันวาคม,มกราคม-เมษายน)ของแต่ละปีสภาวะ และนำค่าเฉลี่ยของความเข้มข้นสูงสุดของปริมาณฝุ่นละอองขนาด 2.5 ไมครอนแต่ละสถานีมาพล็อตลงในแผนที่โดยใช้โปรแกรม Arc GIS และนำค่าเฉลี่ยปริมาณความเข้มข้นสูงสุดของปริมาณฝุ่นละอองขนาด 2.5 ไมครอนแต่ละสถานีมาเปรียบเทียบกันแบบรายคู่ (paired sample t-test) ระหว่างปีภาวะเอลนีโญ-ปกติ ลานีญา-ปกติ และเอลนีโญ-ลานีญา ในช่วงฤดูฝนและฤดูแล้ง ผลการศึกษาพบว่า ในช่วงฤดูฝนค่าเฉลี่ยของปริมาณความเข้มข้นสูงสุดของฝุ่นละอองขนาด 2.5 ไมครอนในช่วงปีภาวะเอลนีโญจะมีปริมาณความเข้มสูงกว่าในปีภาวะปกติในเดือนพฤษภาคมอย่างชัดเจน สำหรับค่าเฉลี่ยความเข้มสูงสุดของปริมาณฝุ่นละอองขนาด PM 2.5 ของปีภาวะลานีญามีค่าต่ำกว่าปีภาวะปกติ สำหรับค่าเฉลี่ยความเข้มข้นสูงสุดของปริมาณฝุ่นละอองขนาด 2.5 ไมครอน ในช่วงปีภาวะเอลนีโญจะสูงกว่าปีภาวะลานีญา สำหรับในช่วงฤดูแล้ง (พ.ย. - ธ.ค. และ ม.ค. - เม.ย.) ค่าเฉลี่ยของปริมาณความเข้มข้นสูงสุดของฝุ่นละอองขนาด 2.5 ไมครอนในช่วงปีภาวะเอลนีโญจะมีค่าสูงกว่าปีภาวะปกติอย่างชัดเจนโดยเฉพาะในเดือนเมษายน แต่ค่าเฉลี่ยของปริมาณความเข้มข้นสูงสุดของฝุ่นละอองขนาด 2.5 ไมครอนในช่วงปีภาวะลานีญามีค่าต่ำกว่าในปีภาวะปกติ และค่าเฉลี่ยของปริมาณความเข้มข้นสูงสุดของฝุ่นละอองขนาด 2.5 ไมครอนของปีภาวะเอลนีโญจะสูงกว่าปีภาวะลานีญาอย่างชัดเจนโดยเฉพาะในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ – เดือนเมษายน อย่างไรก็ตามทั้งในช่วงฤดูฝนและฤดูแล้งโดยเฉพาะในปีภาวะเอลนีโญถ้าได้รับอิทธิพลของพายุหมุนเขตร้อนก็จะส่งผลทำให้ค่าเฉลี่ยปริมาณความเข้มข้นสูงสุดของฝุ่นละอองขนาด 2.5 ไมครอน มีค่าต่ำกว่าปีภาวะปกติและภาวะลานีญา

Article Details

บท
บทความวิจัย