การใช้สูตรน้ำมันหอมระเหยจากพืชร่วมกับคาร์บอนไดออกไซด์ในการควบคุมแมลงศัตรูในโรงเก็บ การใช้สูตรน้ำมันหอมระเหยจากพืชในการควบคุมแมลงศัตรูในโรงเก็บ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การทดสอบประสิทธิภาพการรมของสูตรน้ำมันหอมระเหยที่มีจันทน์แปดกลีบ (S) เทียนข้าวเปลือก (D) และตะไคร้บ้าน (L) เป็นองค์ประกอบในอัตราส่วนต่าง ๆ ต่อด้วงงวงข้าวโพด ใช้ร่วมกับคาร์บอนไดออกไซด์
โดยกำหนดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไม่ต่ำกว่า 80% โดยปริมาตร อัตราการใช้ 5 µl/L air ที่ 6 ชั่วโมง
พบว่าน้ำมันหอมระเหยจันทน์แปดกลีบ (S) ต่อตะไคร้บ้าน (L) อัตราส่วน 3:1 (S3L1) ที่ความเข้มข้น 10%
มีประสิทธิภาพสูงมาก โดยพบอัตราการตายถึง 79.82% รองลงมาคือสูตรน้ำมันหอมระเหยจันทน์แปดกลีบ (S)
ต่อตะไคร้บ้าน (L) อัตราส่วน 3:2 (S3L2) และสูตรน้ำมันหอมระเหยจันทน์แปดกลีบ (S) ต่อเทียนข้าวเปลือก (D) อัตราส่วน 3:1 (S3D1) มีอัตราการตายเท่ากับ 63.92-69.76% และ 59.28-66.36% ตามลำดับ และจากการทดสอบในสภาพจริงโดยนำด้วงงวงข้าวโพดบรรจุในหลอดทดสอบและแทรกในกระสอบข้าวสารตามจุดต่างๆ
รมที่ 24 ชั่วโมง ด้วยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ร่วมกับเอทานอล (กลุ่มควบคุม) มีผลทำให้ด้วงงวงข้าวโพดตาย
เพียง 6.70% ขณะที่การใช้สูตรน้ำมันหอมระเหย S3L1 10% ร่วมกับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มีการตายถึง 93.99% และเมื่อทำการรมที่ 48 ชั่วโมง พบการตายของแมลงในอัตราที่ใกล้เคียงกันโดยที่การใช้สูตรน้ำมันหอมระเหย
มีการตายถึง 100% ส่วนการรมแมลงทั้ง 3 ชนิด คือ ด้วงงวงข้าวโพด มอดแป้ง และมอดฟันเลื่อย มีอัตราการตายของแมลงอยู่ที่ 99.52-100% ในส่วนความแตกต่างของคุณภาพข้าวสารที่เกิดจากการรม พบว่า ด้านของสี
และคุณภาพที่สังเกตได้ในเบื้องต้น ทั้งข้าวสารและข้าวสวยมีความแตกต่างไม่มากนัก
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
Journal of TCI is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) licence, unless otherwise stated. Please read our Policies page for more information...
References
กวีวัฒน์ จาวสุวรรณวงษ์, จรงค์ศักดิ์ พุมนวน, และอำมร อินทร์สังข์. (2556). ประสิทธิภาพของสูตรน้ำมันหอมระเหยจากจันทน์แปดกลีบ (Illicium verum Hook.f.) และเทียนข้าวเปลือก (Anethum graveolens Linn.) ในการควบคุมแมลงศัตรูในโรงเก็บ. ใน การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 11. ณ โรงแรมเซ็นทาราคอนเวนชันเซ็นเตอร์ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. หน้า 1069-1076. วันที่ 26-28 พฤศจิกายน 2556.
กวีวัฒน์ จาวสุวรรณวงษ์. (2558). ประสิทธิภาพของน้ำมันหอมระเหยจากพืชสมุนไพรร่วมกับคาร์บอนไดออกไซด์ ในการควบคุมแมลงศัตรูในโรงเก็บ. วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโท, คณะเทคโนโลยีการเกษตร, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง. 76 หน้า.
นภัส ยิ้มกรุง, วีรเทพ พงษ์ประเสริฐ,ปาณิสรา เทพกุศล, ไสว บูรณพานิชพันธุ์ และเยาวลักษณ์ จันทร์บาง. (2562). พลวัตประชากรและการควบคุมมอดข้าวเปลือกในโรงเก็บเมล็ดพันธุ์ข้าว. วารสารเกษตร, 35(2), 295-302.
พูนพัฒน์ พูนน้อย, เบญญทิพย์ มหาเทพ, และภิญญาพัชญ์ พุฒตาล. (2553). การทำลายไข่มอดในข้าวอินทรีย์ด้วยคลื่นไมไครเวฟ. วารสารวิจัยและพัฒนา มจธ, 33(1), 39-48.
ไพโรจน์ วิริยจารี. (2545). การวางแผนและการวิเคราะห์ทางประสาทสัมผัส. ภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.
รุจิรา ปรีชา, สุเทพ ฤทธิ์แสวง, และสุนันทา วงศ์ปิยชน. (2551). ประสิทธิภาพของพืชสมุนไพรต่อการเก็บรักษาข้าวกล้องและข้าวซ้อมมือ. ใน การประชุมวิชาการข้าวและธัญพืชเมืองหนาว ประจำปี 2551 ชลบุรี. วันที่ 8-10 เมษายน, 352-362.
วริยา ธนะศิรังกูล, จรงค์ศักดิ์ พุมนวน, และอำมร อินทร์สังข์. (2556). ประสิทธิภาพของน้ำมันหอมระเหยจากพืชสมุนไพรบางชนิดต่อตัวเต็มวัยของมอดแป้ง มอดหัวป้อม และด้วงงวงข้าวโพด. ใน การประชุมวิชาการพืชสวนแห่งชาติ ครั้งที่ 12. ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค กรุงเทพฯ. วันที่ 9-12 พฤศจิกายน 2556.
ฤชุอร วรรณะ และจิราภรณ์ กระแสเทพ. (2566). ผลของผลิตภัณฑ์จากหญ้าดอกขาวที่มีต่อการเกิดออกเป็นตัวเต็มวัยของด้วงงวงข้าวโพด. วารสารแก่นเกษตร, 615-621.
Abbott, W.S. (1987). A method of computing the effectiveness of an insecticide. 1925. Journal of the American Mosquito Control Association, 3, 302-303.
Azad, M. A. K. (2012). Effect of botanical extract on pest controlin Brinjalfield. Journal of Environmental Sciences & Natural Resources, 5(2), 173-176.
Delate, K.M., Grace, J.K. & Armstrong, J.W. (1995). Carbon dioxide as a potential fumigant for termite control. Journal of Pesticide Science, 44, 357-361.
Leesch, J.G. (1995). Fumigant action of acrolein on stored-product insects. Journal of Economic Entomology, 88, 326-330.
Manna, C. D., Jayas, D. S., White, N. D. G. & Muira, W. E. (1999). Mortality of cryptoleste ferrugineus (Stephens) exposed to changing CO2 concentration. Journal of Stored Products Research, 35, 385-395.
Page, B.B.C., Bendall, M.J. & Carpenter, A. (2002). Carbon dioxide fumigation of Thrips tabaci in export onions. New Zealand Plant Protection, 55, 303-307.
Pimentel, M.A.G., Faroni, L.R.D., Totola, M.R. & Guedes, R.N.C. (2007). Phosphine Resistance, Respiration Rate and Fitness Consequences in Stored-Product Insects. Pest Management Science, 63, 867-881.
Pourmirza, A. A. & Tajbakhsh, M. (2008). Studies on the toxicity of acetone, acrolein and carbon dioxide on stored-product insects and wheat seed. Pakistan Journal of Biological Sciences, 11, 953-963.
Rajendran, S., & Sriranjini, V. (2008). Plant products as fumigants for stored-product insect control. Journal of Stored Product Research, 44, 126-135.
Sittisuang, P., & Nakakita, H. (1985). The effect of phosphine and methyl bromide on germination of rice and corn. Journal of Pesticide Science, 10, 461-468.
WMO. (1995). Scientific Assessment of Ozone Depletion: 1991. World Meteorological Organization global ozone research and monitoring project, Report No. 37, World Meteorological Organization of the United Nations, Geneva, Switzerland
Yadav, D.N., Anand, T., Sharma, M., & Gupta. R.K. (2014). Microwave technology for disinfestation of cereals and pulses: An overview. Journal of Food Science and Technology, 51(12), 3568-3576.