ผลของไคโตซานต่อคุณภาพการเก็บรักษาหน่อไม้ฝรั่งสด

Main Article Content

ทรายขวัญ บุญช่วยสุข
กัลย์กนิต พิสมยรมย์
ธนสรณ์ รักดนตรี
มยุรี กระจายกลาง

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


การศึกษาการเปลี่ยนแปลงคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของหน่อไม้ฝรั่งสดภายหลังการใช้ไคโตซานผลิตภัณฑ์ทางการค้าอีเด็น (Eden®) วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ ประกอบด้วย 2 ทรีทเมนต์ ได้แก่ ไม่เคลือบ
(ชุดควบคุม) และเคลือบด้วยผลิตภัณฑ์ Eden® จำนวน 3 ซ้ำ ๆ ละ 10 หน่อ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินอายุ
การเก็บรักษาและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของหน่อไม้ฝรั่ง โดยการแช่ตัวอย่างนาน 2 นาที ผึ่งให้แห้ง ห่อหุ้มด้วยพลาสติกใส และเก็บรักษาที่อุณหภูมิตู้แช่ 5 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ร้อยละ 80-85 เป็นเวลา 14 วัน บันทึกข้อมูลคุณภาพทุก 2 วัน ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงน้ำหนัก ความแน่นเนื้อ การเปลี่ยนแปลงของสีเนื้อ คุณภาพทางด้านประสาทสัมผัส และคุณภาพทางด้านจุลินทรีย์ รวมทั้งอายุการเก็บรักษา พบว่า ผลิตภัณฑ์ Eden® มีประสิทธิภาพ
ในการรักษาคุณภาพและยืดอายุการเก็บรักษาหน่อไม้ฝรั่งนานถึง 14 วัน ที่อุณหภูมิเก็บรักษาที่ 5 องศาเซลเซียส
เมื่อเปรียบเทียบกับชุดควบคุมมีอายุการเก็บรักษาเพียง 11 วัน โดยผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมีผลช่วยชะลอการสูญเสียน้ำหนัก ความแน่นเนื้อ การเปลี่ยนแปลงคุณลักษณะของสีเนื้อ รักษาคุณภาพด้านประสาทสัมผัส (สี กลิ่น รสชาติ เนื้อสัมผัส และการยอมรับ) อยู่ในเกณฑ์ที่ผู้บริโภคพอใจ ซึ่งดีกว่าชุดควบคุม นอกจากนี้ การใช้ผลิตภัณฑ์ Eden®
ยังมีผลยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ตลอดการเก็บรักษา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2560). เกณฑ์คุณภาพทางจุลชีววิทยาของอาหารและภาชนะสัมผัสอาหาร ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2560). กรุงเทพฯ: บริษัทพีทู ดีไซน์ แอนด์ พริ้นท์ จำกัด.

กรมส่งเสริมการเกษตร. (2562). หน่อไม้ฝรั่ง. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์การเกษตร. สืบค้น 8 กุมภาพันธ์ 2566, จาก http://www.agriman.doae.go.th.

จริงแท้ ศิริพานิช. (2549). ชีววิทยาหลังการเก็บเกี่ยวและการวายของพืช. นครปฐม: ศูนย์ส่งเสริมและฝึกอบรมการเกษตรแห่งชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์กำแพงแสน.

จุฑาทิพย์ โพธิ์อุบล. (2559). เทคโนโลยีรักษาคุณภาพและยืดอายุหน่อไม้ฝรั่งโดยไม่ใช้สารเคมี. สืบค้น 8 กุมภาพันธ์ 2566, จาก http:www3.rdi.ku.ac.th/.

ดนัย บุณยเกียรติ และนิธิยา รัตนาปนนท์. (2548). การปฏิบัติการภายหลังการเก็บเกี่ยวผักและผลไม้. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.

เพทาย จรูญนารถ (2550). การใช้ไคโตซานเพื่อชะลอภาวะเสื่อมถอยและยืดอายุการเก็บรักษาหลังการเก็บเกี่ยวของหน่อไม้ฝรั่ง Asparagus officinalis. (ปริญญานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เวธณี พรหมจันทร์ อดิเรก รักคง และระวี เจียรวิภา. (2565). ผลของไคโตซานและอุณหภูมิต่อการยืดอายุการเก็บรักษาใบพืชกระท่อม. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 30(5), 80-91.

อีเด็น อะกริเท็ค (Eden Agritech) (2558). สารเคลือบบริโภคได้. สืบค้น 8 กุมภาพันธ์ 2566, จาก https://edenagri.co.th/product/naturen-สารเคลือบบริโภคได้/

El-Ghaouth, A., Ponnampalam, R., Castaigne, F. & Arul, J. (1992). Chitosan coating to extend the storage life of tomatoes. Horticultural Science, 27(9), 1016-1018.

El-Ghaouth, A., Smilanick, J.L. & Wilson, C.L. (2000). Enhancement of the performance of Candida saitoana by the addition of glycolchitosan for the control of postharvest decay of apple and citrus fruit. Postharvest Biology and Technology, 19, 103-110.

Eskin, M. (1997). Tempyrrole derivertives: chlorophyll, in plant pigments, flavors and textures: the chemistry and biochemistry of selected compounds. New York: Academic Press.

Li, W., Zhang, M. & Han, Q.Y. (2006). Study on hypobaric storage of green asparagus. Journal of Food Engineering, 73, 225-230.

Wu, L. & Yang, H. (2016). Combined application of carboxymethyl chitosan coating and brassinolide maintains the postharvest quality and shelf life of green asparagus. Journal of Food Processing and Preservation, 40, 154-165.