Efficacy of S-Metolachlor and Acetochlor on Weed Control in Sweet Corn
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัชพืชรบกวนการเจริญเติบโตของข้าวโพดหวานโดยการแก่งแย่งแข่งขันปัจจัยต่าง ๆ ส่งผลกระทบให้ผลผลิตข้าวโพดหวานลดลง เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดหวานจังหวัดสุโขทัย นิยมใช้สารกำจัดวัชพืชอาทราซีนตามด้วยพาราควอต อย่างไรก็ตามพาราควอตมีประกาศห้ามใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563 ทำให้ต้องหาสารชนิดอื่นทดแทน งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของสารกำจัดวัชพืชประเภทก่อนงอก ได้แก่ เอส-เมโทลาคลอร์และอะเซโทคลอร์ต่อการควบคุมวัชพืชในข้าวโพดหวาน ดำเนินการทดลองในแปลงเกษตรกร อ.ศรีสำโรง จ.สุโขทัย ระหว่างเดือนมีนาคม พ.ศ. 2563 - กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 วางแผนการทดลองแบบ RCBD มี 5 ซ้ำประกอบด้วย 11 กรรมวิธี ได้แก่ การไม่กำจัดวัชพืช, การกำจัดวัชพืชด้วยจอบ 2 ครั้ง, การกำจัดวัชพืชด้วยวิธีของเกษตรกร (อาทราซีนตามด้วยพาราวอต), การพ่นสารกำจัดวัชพืชอะเซโทคลอร์ อัตรา 340 และ 538 กรัมสารออกฤทธิ์ต่อไร่ ที่ 1 และ 7 วันหลังปลูก, การพ่นสารกำจัดวัชพืชเอส-เมโทลาคลอร์อัตรา 255 และ 340 กรัมสารออกฤทธิ์ต่อไร่ ที่ 1 และ 7 วันหลังปลูก ผลปรากฏว่า วัชพืชที่สำคัญในพื้นที่ ได้แก่ หญ้านกสีชมพู หญ้าตีนนก และแห้วหมู การพ่นสารเอสเมโทลาคลอร์ทั้งสองอัตรา ที่ 1 และ 7 วันหลังปลูก สามารถควบคุมวัชพืชได้ดีกว่าสารวัชพืชอะเซโทคลอร์ และกรรมวิธีของเกษตรกร โดยมีจำนวนวัชพืชและน้ำหนักแห้งน้อยกว่าอย่างมีน้อยสำคัญ ผลต่อผลผลิตข้าวโพดหวาน พบว่า การพ่นสารกำจัดวัชพืชเอส-เมโทลาคลอร์ทั้งสองอัตรา ที่ 1 หรือ 7 วันหลังปลูก ให้จำนวนฝัก และน้ำหนักฝักสด ซึ่งมากกว่า กรรมวิธีการอื่น ๆ และไม่แตกต่างกันกับการกำจัดวัชพืชด้วยจอบ หลังการเก็บเกี่ยวข้าวโพดหวานได้นำดินที่ความลึก 0–15 และ 15–30 เซนติเมตร ทดสอบการตกค้างของสารด้วยวิธีการทดสอบทางชีวภาพต่อข้าวสาลี พบว่า ที่ความลึก 0–15 การพ่นด้วยเอส-เมทาโลคลอร์และอะเซโทคลอร์ ทั้งสองอัตราให้ผลต่อน้ำหนักแห้งของข้าวสาลีไม่แตกต่างกันกับกำจัดวัชพืชด้วยจอบ ส่วนที่ระดับความลึก 15–30 เซนติเมตร พบว่า สารกำจัดวัชพืชเอส-เมโทลาคลอร์ที่อัตรา 340 กรัมสารออกฤทธิ์ต่อไร่ ที่ 7 วันหลังปลูก ให้น้ำหนักแห้งของข้าวสาลีน้อยกว่ากรรมวิธีการอื่นๆ แสดงให้เห็นว่าอาจจะเกิดการตกค้างของสารในดินที่ความลึกระดับ 15–30 เซนติเมตร ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าสารเอสเมโทลาคลอร์ทั้งสองอัตรา พ่นที่ 1 หรือ 7 วันหลังปลูก สามารถควบคุมวัชพืชในข้าวโพดหวานได้ดีกว่าสารอะเซโทคลอร์ อย่างไรก็ตามเอสเมโทลาคลอร์อัตรา 340 กรัม อาจจะเป็นเกิดการตกค้างของสารในดินที่ระดับความลึก 15 – 30 เซนติเมตร ซึ่งจะต้องพิจารณาชนิดของพืชที่จะปลูกในรอบต่อไป
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
Journal of TCI is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) licence, unless otherwise stated. Please read our Policies page for more information...