คุณภาพทางกายภาพและการหุงต้มของข้าวนาสวนพื้นเมือง 16 พันธุ์ในจังหวัดพัทลุง
Main Article Content
บทคัดย่อ
ขนาด รูปร่าง สีเมล็ด และลักษณะข้าวท้องไข่ เกี่ยวข้องกับคุณภาพการสีและการหุงต้มของข้าวใช้เป็นเกณฑ์กำหนดราคาซื้อขายข้าวและผลิตภัณฑ์ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินคุณภาพทางกายภาพและการหุงต้มของข้าวพันธุ์พื้นเมืองภาคใต้เพื่อหาแนวทางเพิ่มมูลค่าและใช้ประโยชน์จากลักษณะด้อยที่ส่งผลให้ข้าวคุณภาพต่ำ ปลูกข้าวพันธุ์พื้นเมืองภาคใต้ 16 พันธุ์ จำนวน 3 ซ้ำ ปลูกแบบปักดำ ฤดูนาปี ณ ศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง วัดและประเมินลักษณะทางกายภาพ (ขนาดและรูปร่างเมล็ด สีเมล็ด ข้าวท้องไข่ และคุณภาพการสี) และคุณภาพการหุงต้มโดยวิเคราะห์คุณสมบัติทางเคมี (ปริมาณอมิโลส ความคงตัวของแป้งสุก การยืดตัวของเมล็ดข้าวสุก และการสลายเมล็ดในด่าง) พบว่าข้าวพื้นเมืองที่ศึกษามีรูปร่างเมล็ดปานกลาง 9 พันธุ์ และเรียว 7 พันธุ์ ข้าวกล้องมี 3 สี (น้ำตาล แดง และขาว) ปริมาณข้าวท้องไข่มากพบในพันธุ์เบานายหมัก (2.6%) และนางทอง (2.4%) คุณภาพการสีต่ำพบในพันธุ์ยาไทร (24.5%) ข้าวนัง (21.6%) และเบานายหมัก (20.6%) ตามลำดับ ข้าวมีปริมาณ อมิโลสต่ำ (11.5%-19.1%) 6 พันธุ์ และปานกลาง (20.2%- 23.9%) 10 พันธุ์ ความคงตัวของแป้งสุกเฉลี่ย 76.8 มม. เป็นแป้งสุกอ่อน (12 พันธุ์) ปานกลาง (2 พันธุ์) และแข็ง (2 พันธุ์) ทุกพันธุ์มีอุณหภูมิแป้งสุกปานกลาง (70-74 °ซ) ยกเว้นพันธุ์เบานายหมักและหอมแดงจัดอยู่ระดับต่ำ (< 65 °ซ) อัตราการยืดตัวของเมล็ดข้าวสุกปกติ (<1.9 มม.) ข้าวพันธุ์ที่มีคุณภาพเมล็ดต่ำควรคัดเลือกพันธุ์ไว้เพื่อเพิ่มมูลค่าและใช้ประโยชน์จากลักษณะด้อยควบคู่กับการรักษาพันธุกรรมข้าวพื้นเมืองภาคใต้ให้คงความหลากหลายและคงอยู่ต่อไป
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กัญญา เชื้อพันธุ์. 2547. คุณภาพข้าวทางกายภาพ. ในคุณภาพและการตรวจสอบข้าวหอมมะลิไทย. สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม. กระทรวงอุตสาหกรรม, กรมวิชาการเกษตร. จิรวัฒน์ เอ็กซ์เพรส. กรุงเทพฯ.
กิตติพงษ์ ตระกูลโชคอำนวย. 2558. นวัตกรรมการผลิตข้าว การแปรรูปข้าว และการข้าวในประเทศไทย. ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
เครือวัลย์ อัตตะวิริยะสุข. 2531. คุณภาพเมล็ด ข้าวทางกายภาพและมาตรฐานข้าว. น. 60-76. ใน การปรับปรุงคุณภาพข้าวสําหรับผู้ดําเนินธุรกิจโรงสี สถาบันวิจัยข้าว กรมวิชาการเกษตร กรุงเทพฯ.
งามชื่น คงเสรี. 2536. คุณภาพเมล็ดทางเคมี. น. 54-70. ใน เอกสารประกอบการบรรยายการ ฝึกอบรมหลักสตูรวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว ณ ศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง ฝ่ายฝึกอบรม สถาบันวิจัยข้าว กรมวิชาการเกษตร กระทรวง เกษตรและสหกรณ์ กรุงเทพฯ.
งามชื่น คงเสรี. 2546. ข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าว. กรุงเทพฯ : กรมวิชาการเกษตร.
เชาวนีพร ชีพประสพ, ฤทัยทิพย์ อโนมุณี และหาสันต์ สาเหล็ม. 2558. องค์ประกอบทางเคมีและปริมาณอะไมโลส ในข้าวพันธุ์พื้นเมือง จังหวัดพัทลุง. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.
นันทิยา พนมจันทร์ และวิจิตรา อมรวิริยะชัย. 2554. ความหลากหลายทางพันธุกรรมของข้าวพื้นเมืองบริเวณลุ่มน้ำทะเลน้อยจังหวัดพัทลุงโดยใช้ลักษณะทางสัณฐานวิทยาของเมล็ด. วารสารหาดใหญ่วิชาการ. 9: 25-31.
นันทิยา พนมจันทร์, ศันสนีย์ จำจด, เบญจวรรณ ฤกษ์เกษม, Bernard Dell และชนากานต์ พรมอุทัย. 2559. ความแปรปรวนของลักษณะสัณฐานวิทยาในเมล็ดข้าวพันธุ์สังข์หยดจากภาคใต้ของประเทศไทย. แก่นเกษตร. 44: 83-94.
นิอร โฉมศรี และรัตนพล พนมวัน ณ อยุธยา. 2557. เครื่องดื่มหมักฟังก์ชั่นจากข้าวธัญสิริน และข้าวหอมล้านนา. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา.
บุญหงส์ จงคิด และวุฒชัย แตงทอง. 2558. รายงานความก้าวหน้าในโครงการวิจัยพันธุ์ข้าวหอมธรรมศาสตร์. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุนันทา ทองทา. 2552. คุณสมบัติแป้งข้าวที่ทนต่อการย่อยด้วยเอนไซม์จากข้าวพันธุ์ต่าง ๆ เพื่อใช้ในอาหารเพื่อสุขภาพ. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
สำเริง แซ่ตัน. 2550. ข้าวพื้นเมืองภาคใต้. เล่ม 1. ศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง สำนักวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว.
สำเริง แซ่ตัน. 2553. ข้าวพื้นเมืองภาคใต้. เล่ม 2. ศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง สำนักวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว.
อรวรรณ สมใจ, จรัสศรี นวลศรี และไพศาล เหล่าสุวรรณ. 2553. ความหลากหลายทางพันธุกรรมของ ข้าวพื้นเมือง บริเวณลุ่มน้ำนาทวีจังหวัดสงขลา โดยใช้ลักษณะทางสัณฐานวิทยาของเมล็ด และเครื่องหมายไมโครแซทเทลไลท์. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร. 41: 89-97.
อรอนงค์ นัยวิกุล. 2547. ข้าว: วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
Juliano, B.O., and D.B. Bechtel. 1985. The Rice Grain and Its Gross Composition. pp. 17-57 in: Rice Chemistry and Technology. B.O. Juliano ed. American Association of Cereal Chemists, Inc.St. Paul, Minnesuta, USA.
Juliano, B.O. 1993. Rice in Human Nutrition. International Rice Research. Institute, Los Baños, Philippines and Food and Agriculture Organization of the United Nations, Rome.
Lisle, AJ., M. Martin, and M.A. Fitzgerald. 2000. Chalky and translucent rice grains differ in starch composition and structure and cooking properties. Cereal Chemistry. 77: 627-632.
Nevame, A.Y.M., R.M. Emon, M.A. Malek, M.M. Hasan, Md.A. Alam, F.M. Muharam, F. Aslani, M.Y. Rafii, and M.R. Ismail. 2018.
Relationship between high temperature and formation of chalkiness and their effects on quality of rice. BioMed Research International. 1653721: 1-18.
Prom-u-thai, C., and B. Rerkasem. 2020. Rice quality improvement. A review. Agronomy for Sustainable Development. 40: 28-43.
Rerkasem, B., and K. Rerkasem. 2002. Agrodiversity for in situ conservation of Thailand’s native rice germplasm. Chiang Mai University Journal. 1: 129-148.
Singh, N., N.S. Sodhi, M. Kaur, and S.K. Saxen. 2003. Physico-chemical, morphological, thermal, cooking and textural properties of chalk and translucent rice kernels. Food Chemistry. 82: 433-439.