ผลของชนิดภาชนะบรรจุและระยะเวลาเก็บรักษาต่อความงอกและความแข็งแรงของเมล็ดพันธุ์ข้าว

Main Article Content

ภารดี แซ่อึ้ง
พชรพล พยัคฆ์

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่องผลของชนิดภาชนะบรรจุและระยะเวลาเก็บรักษาต่อความงอกและความแข็งแรงของเมล็ดพันธุ์ข้าวได้ทำการทดสอบที่สาขาเกษตรศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ช่วงเวลาเดือนมิถุนายน ถึงเดือนกันยายน 2562 ทดสอบโดยใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ กข.49 วางแผนการทดลองแบบ Split Plot Design จำนวน 4 ซ้ำ ประกอบด้วย 2 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยที่ 1 ภาชนะบรรจุเมล็ดพันธุ์ 5 ชนิด คือ  ถุงกระดาษ, ถุงพลาสติก, ถุงฟอยด์ (Aluminium foil) , ถุงพลาสติกสาน และ ถุงกระสอบป่าน ปัจจัยที่ 2 คือ ระยะเวลาการเก็บรักษาที่อุณหภูมิห้อง ที่ระยะเวลา 3 ระยะเวลา คือ 1 เดือน 2 เดือนและ 3 เดือน ผลการทดลองพบว่า ภาชนะบรรจุเมล็ดพันธุ์แบบพลาสติกสานมีความเหมาะสมในการเก็บเมล็ดพันธุ์มากที่สุด โดย ให้ค่าความงอก และความยาวรากสูงที่สุด ส่วนระยะเวลาการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ที่เหมาะสม คือ ระยะเวลา 2 เดือน เนื่องจากมีค่าความงอกและความแข็งแรงของเมล็ดพันธุ์สูงที่สุด 

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 2556. ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดมาตรฐาน คุณภาพและวิธีเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ควบคุม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2556.

จวงจันทร์ ดวงพัตรา. 2521. เทคโนโลยี่ของเมล็ดพันธุ์. คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

ชยพร แอคะรัจน์. 2546. วิทยาการเมล็ดพันธุ์. คณะวิชาพืชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตกาฬสินธุ์, กาฬสินธุ์.

บุญมี ศิริ. 2558. การปรับปรุงสภาพและยกระดับคุณภาพเมล็ดพันธุ์. โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา, ขอนแก่น.

เบญจวรรณ ฤกษ์เกษม. 2561. วิทยาการข้าวไทย. ศูนย์บริหารงานวิจัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

วนิดา นกทอง และกุลภา โสรัตน์. 2562. ผลกระทบของการใช้แหล่งเมล็ดพันธุ์ข้าวที่แตกต่างกันต่อโซ่อุปทานข้าวเปลือก ด้านการใช้ทรัพยากรและต้นทุนการผลิต. หน้า 141-151. ใน: การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ราชธานีวิชาการ ครั้งที่ 4 “การวิจัยเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน 31 พฤษภาคม 2562. มหาวิทยาลัยราชธานี, อุบลราชธานี.

วันชัย จันทร์ประเสริฐ. 2542. เทคโนโลยีเมล็ดพันธุ์พืชไร่. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

วันชัย จันทร์ประเสริฐ. 2553. สรีรวิทยาเมล็ดพันธุ์. ภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

วันเพ็ญ ชลอเจริญยิ่ง, วชัรพงษ์ ดอกแก้ว, อภัสสร ศรีวิเศษ, สุนันทรา โต๊ะงาม และนิอร งามฮุย. 2563. ผลของพื้นที่สำหรับตากลดความชื้นและภาชนะในการเก็บรักษาต่อเมล็ดพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105. แก่นเกษตร. 48(ฉบับพิเศษ 1): 501-108.

วรรณา คงสมทอง, จุฑามาศ ร่มแก้ว, สุนิสา สงวนทรัพย์ และ ชัยสิทธิ์ ทองจู. 2559. การสูญเสียทางด้านคุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าวและแมลงศัตรูในโรงเก็บที่มีผลจาก สภาพการเก็บรักษา. น. 366-375. ใน: การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 54 สาขาพืช 2-5 กุมภาพันธ์ 2559. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

วัลลภ สันติประชา. 2538. เทคโนโลยีเมล็ดพันธุ์. คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, กรุงเทพฯ.

วิไลลักษณ์ ดิเรกโภค, จุฑามาศ ร่มแก้ว, วัชรพล ชยประเสริฐ และนรุณ วรามิตร. 2555. การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของการเก็บรักษาภายใต้สภาวะปิดความดันตํ่า การรมด้วยฟอสฟีนและการเก็บในสภาวะควบคุมอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ที่มีต่อคุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าวและแมลงในโรงเก็บ. น.1321-1330. ใน การประชุมวิชาการแห่งชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ครั้งที่ 9 . 6-7 ธันวาคม 2555. มหาวิทยาลัยเกษตรศาตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน, นครปฐม.

เวียงโขง วันสะหว่าง, วีรเวทย์ อุทโธ, เอกสิทธิ์ อ่อนสอาด, วชิราพรรณ บุญญาพุทธิพงศ์, และเมทินี มาเวียง. 2559. ผลของการเก็บรักษาข้าวเปลือกในบรรจุภัณฑ์ อุณหภูมิ และระยะเวลา ต่อคุณภาพของข้าวฮางงอก. เกษตรพระจอมเกล้า. 34(3): 73-85.

ศิรากานต์ ขยันการ, นิภาภรณ์ พรรณรา, สุมนา จำปา, วราลักษณ์ บุญมาชัย, ภภัสสร วัฒนกุลภาคิน และชนันทวัฒน์ ศุภสุทธิรางกุล. 2562. อิทธิพลของความแข็งแรงของเมล็ดถั่วเหลืองต่อความงอกในไร่. หน้า 303-309. ประชุมวิชาการพืชวงศ์ถั่วแห่งชาติ ครั้งที่ 7 “พืชวงศ์ถั่ว กู้วิกฤตการเกษตรไทย” ระหว่างวันที่ 6 – 8 สิงหาคม 2562 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พิษณุโลก.

ศิริวรรณ ทิพรักษ์ และ ชวนพิศ อรุณรังสิกุล. 2554. ผลของสารละลายอาหารเสริมพืชต่อความงอกและความแข็งแรงของเมล็ดพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105. วิทยาศาสตร์เกษตร. 42(ฉบับพิเศษ 2): 149-152.

สำนักงานสถิติจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. 2563. รายงานสถิติจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. สำนักงานสถิติจังหวัดพระนครศรีอยุธยา, พระนครศรีอยุธยา.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2563. สถิติการเกษตรประเทศไทย ปี 2562. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพ.

สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร. 2560. การผลิตข้าวครบวงจรโดยเกษตรกรมีส่วนร่วม. สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน). จตุจักร กรุงเทพฯ.

Akter N., M.M. Haque, M.R. Islam, and K.M. Alam, 2014. Seed quality of stored (Glycine max L.) as influenced by storage containers and storage periods. The Agriculturists. 12: 85-95.

International Seed Testing Association (ISTA). 2011. International Rules for Seed Testing. International Seed Testing Association, Bassersdorf, Switzerland.

International Seed Testing Association (ISTA). 1995. Handbook of Vigour Test Methods 3rd Edition, 1995, International Seed Testing Association, Zurich, Switzerland.

Khatri N., D. Pokhrel, B.P. Pandey, K.R. Pant, and M. Bista. 2019. Effect of different storage materials on the seed temperature, seed moisture content and germination of wheat under farmer’s field condition of Kailali district, Nepal. Agricultural Science and Technology. 11(4): 352-355.

Patel J.V., D.K. Antala, and A.N. Dalsaniya. 2018. Influence of different packaging materials on the seed quality parameters of Chickpea. International Journal of Current Microbiology and Applied Sciences. 7(12): 2458-2467.

Ramaswamy K, G. Uma, V. Singh, and N. Gunasekaran.2008. Studies on the selection of plastic woven sacks for storage of food commodities. Biosciences Biotechnology Research Asia. 6(1): 221-226.

Shabana Y.M., N.A. Ghazy, Sobhy A. Tolba, and E.A. Fayzalla. 2015. Effect of storage conditions and packaging material on incidence of storage fungi and seed uality in maize. Journal of Plant Protection and Pathology. Mansoura Univ. 6(7): 987-996.

Silva A.S., L. P. Schmid, F. Mielezrski, and B. E. Pavan. 2018. Physiological quality of rice seeds stored in different environments and packages. Journal of Experimental Agriculture International. 23(2): 1-9.