ปัจจัยการตัดสินใจเข้าร่วมเกษตรแปลงใหญ่โกโก้ ของเกษตรกรในอำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง

Main Article Content

ฉวีวรรณ เจริญผ่อง
ชลาธร จูเจริญ
สุภาภรณ์ เลิศศิริ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล ปัจจัยพื้นฐานด้านเศรษฐกิจและสังคม ความรู้เกี่ยวกับการปลูกโกโก้แปลงใหญ่ และปัจจัยการตัดสินใจเข้าร่วมเกษตรแปลงใหญ่โกโก้ ของเกษตรกรในอำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ เกษตรกรผู้ปลูกโกโก้แปลงใหญ่ จำนวน 98 คน ใช้แบบสัมภาษณ์ในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้วิเคราะห์ ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน ทดสอบค่า t-test, F-test ผลการศึกษา พบว่า เกษตรกรผู้ปลูกโกโก้แปลงใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 55.04 ปี มีการศึกษาระดับประถมศึกษา มีประสบการณ์การปลูกโกโก้เฉลี่ย 2.39 ปี พื้นที่ปลูกโกโก้เฉลี่ย 2.4 ไร่ เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่จ้างแรงงาน แต่เกษตรกรใช้งานแรงงานภายในครัวเรือนและแหล่งเงินทุนตนเอง เกษตรกรมีการเปิดรับข้อมูลข่าวสารผ่านทางสื่อบุคคลมากที่สุด และเกษตรกรส่วนใหญ่เป็นสมาชิกกลุ่มสถาบันเกษตรกรนอกเหนือจากการเป็นสมาชิกกลุ่มแปลงใหญ่โกโก้ ทั้งนี้เกษตรกรมีความรู้เกี่ยวกับการปลูกโกโก้แปลงใหญ่ (ค่าเฉลี่ย 0.69) และปัจจัยการตัดสินใจเข้าร่วมเกษตรแปลงใหญ่โกโก้โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 2.82) พบว่า การตัดสินใจด้านการตลาดมากที่สุด เกษตรกรยังพบปัญหาการขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูแล้ง ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า เกษตรกรที่มีประสบการณ์การปลูกโกโก้ และการเป็นสมาชิกกลุ่มแตกต่างกัน มีการตัดสินใจเข้าร่วมเกษตรแปลงใหญ่โกโก้แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ P<0.05 และ P<0.01

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กนกพร ทรงรอด, พิชัย ทองดีเลิศ และพัชราวดี ศรีบุญเรือง. 2563. ความต้องการรับบริการส่งเสริมการเกษตรของเกษตรกรผู้ปลูกมังคุดโครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ในอำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า. 38: 555-562.

กนิษฐา ชาลีเปลี่ยม, ไกรเลิศ ทวีกุล และฝากจิต ปาลินทร. 2564. ความคิดเห็นของเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังต่อการดำเนินงานโครงการส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ในจังหวัดขอนแก่น. วารสารเกษตรพระวรุณ. 18: 88-94.

กรมวิชาการเกษตร. 2563. สถานการณ์การผลิตโกโก้. แหล่งข้อมูล: https://www.doa.go.th/hort/wp-content/uploads/2020/12/สถานการณ์การผลิตโกโก้_พฤศจิกายน63.pdf. ค้นเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2564.

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 2559. คู่มือการดำเนินงานระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่. แหล่งข้อมูล: http://www.oic.go.th/FILEWEB/CABINFOCENTER3/DRAWER057/GENERAL/DATA0000/00000233.PDF.

ค้นเมื่อ 23 มกราคม 2563.

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 2559. แผนพัฒนาการเกษตรในช่วงพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564). แหล่งข้อมูล: https://tarr.arda.or.th/static2/docs/development_plan2559.pdf. ค้นเมื่อ 23 มกราคม 2563.

งามฉวี จันเทพา. 2552. ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าร่วมโครงการผลิตสับปะรดตามการเกษตรดีที่เหมาะสมของเกษตรกรในจังหวัดลำปาง. วิทยานิพนธ์ ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยแม่โจ้. เชียงใหม่.

ณัฐพงษ์ เพชรลออ และสมศักดิ์ สามัคคีธรรม. 2564. การพัฒนาขีดความสามารถของกลุ่มธุรกิจโดยการรวมกลุ่มคลัสเตอร์: กรณีศึกษากลุ่มผลิตขนมจีน จังหวัดนครปฐม. วารสารชุมชนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. 15: 155-168.

ถาวร สุภาวงค์. 2550. ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าร่วมกลุ่มผลิตกาแฟคั่วบดของเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟอาราบีก้า ตำบลเทพเสด็จ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญาเกษตรศาตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่.

นที ขลิบ. 2544. กลุ่มกระบวนการกลุ่มและพฤติกรรมบุคคลในประมวลสาระชุดวิชาองค์กรพัฒนาเพื่อการส่งเสริมการเกษตร

หน่วยที่ 8 นนทบุรี สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

พงศ์ศิรภพ ทองดีรวิสุรเกตุ. 2562. ปัจจัยการเข้าร่วมโครงการส่งเสริมระบบเกษตรนาแปลงใหญ่ของเกษตรกรในจังหวัดกาญจนบุรี.

วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี. 8: 107–119.

รัฐชาติ พรรษา, สุรชัย กังวล, พหล ศักดิ์คะทัศน์ และสายสกุล ฟองมูล. 2558. ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจปลูกยางพาราของเกษตรกรในอำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ. น 426-435. ในการประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 6 ก้าวสู่การวิจัยระดับโลก 28 เมษายน 2558. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. กรุงเทพฯ.

วัลลภ พรหมทอง. 2551. ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจทำเกษตรทฤษฎีใหม่ของเกษตรกรในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. ปทุมธานี.

สุรินทร์ นิยมางกูร. 2561. การวิเคราะห์ข้อมูลตัวอย่างความพึงพอใจในสภาพความเป็นอยู่ของเกษตรกรในชนบทแห่งหนึ่ง.

โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.

สำนักงานเกษตรจังหวัดลำปาง. 2561. แผนพัฒนาจังหวัดลำปาง. แหล่งข้อมูล: http://www.lampang.go.th/strategy/2563/img61_65-r2.pdf. ค้นเมื่อ 10 มกราคม 2563.

สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดลำปาง. 2563. เกษตรอำเภอวังเหนือ จัดงานถ่ายทอดเทคโนโลยีและบริการการเกษตรเริ่มต้นฤดูการผลิตใหม่ ปี 63. แหล่งข้อมูล: https://thainews.prd.go.th/th/news/detail/TCATG200216101007048. ค้นเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2563.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2563.’โกโก้’ พืชเศรษฐกิจทางเลือกใหม่ จ.ขอนแก่น สร้างรายได้ ตลาดโลกต้องการสูง. แหล่งข้อมูล: http://newweb.oae.go.th/view/1/รายละเอียดภาวะเศรษฐกิจการเกษตร/34079/TH-TH. ค้นเมื่อ 23 มกราคม 2563.

อติญา วงศ์วิทย์วิโชติ, กุลภา กุลดิลก และเดชรัต สุขกำเนิด. 2564. การประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจของโครงการระบบส่งเสริมการเลี้ยงปลานิลแบบแปลงใหญ่ในจังหวัดชลบุรี. วารสารแก่นเกษตร. 49: 430-441.

อาทิตย์ ชื่นอารมณ์, สุภัสรา บุญเรือง, อมรรัตน์ เวชเจริญ, นิตยา วงศ์ยศ และจารุรัศมิ์ ธนูสิงห์. 2563. การบริหารจัดการกลุ่มผู้ปลูกโกโก้ อำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง. วารสารวิชาการ สถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค. 6: 315-326.