ความต้องการการส่งเสริมการผลิตเส้นไหมไทยสาวมือตามมาตรฐาน มกษ. 8000-2555 ของเกษตรกรในจังหวัดชัยภูมิ

Main Article Content

สุกัลยา เชิญขวัญ
นภัส เหมะธร

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ความต้องการการส่งเสริมการผลิตเส้นไหมไทยสาวมือตามมาตรฐาน มกษ. 8000-2555 ของเกษตรกร และเปรียบเทียบความต้องการการผลิตเส้นไหมไทยสาวมือตามมาตรฐาน มกษ. 8000-2555 ของเกษตรกรผู้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหมและผลิตเส้นไหมหัตถกรรมในจังหวัดชัยภูมิ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 129 ราย ที่เคยได้รับการฝึกอบรมโครงการพัฒนานวัตกรรมการผลิตและจำหน่ายเส้นไหมให้ได้มาตรฐาน มกษ. 8000-2555 ในปี 2562 วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด  ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมุติฐานโดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวน และเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่มด้วยวิธี Scheffe' test ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรมีความต้องการการส่งเสริมมาตรฐาน มกษ. 8000-2555 ทั้งหมด 13 รายการ ได้แก่ การสนับสนุนอุปกรณ์ที่ใช้ในกระบวนการผลิตเส้นไหม อุปกรณ์ที่ใช้หาขนาดเส้นไหม ความรู้ความเข้าใจในหลักเกณฑ์การขอรับรองมาตรฐาน มกษ. 8000-2555 ความรู้เรื่องอุปกรณ์และวิธีการใช้ที่เหมาะสม เทคนิคและวิธีการผลิตเส้นไหมให้ได้มาตรฐาน การจัดหาตลาดรองรับเส้นไหม การประชาสัมพันธ์มาตรฐานเส้นไหม มกษ. 8000-2555 ให้เป็นที่รู้จัก การเชื่อมโยงตลาดโดยจัดหาคู่ค้าให้หรือจัดตั้งกลุ่มเครือข่ายระหว่างผู้ผลิตและผู้ประกอบการ การกำหนดราคากลางและการประกันราคาไหม การพัฒนาฉลากติดบรรจุภัณฑ์ให้มีความโดดเด่นทันสมัย การส่งเสริมแบบบุคคล การส่งเสริมแบบกลุ่ม และการส่งเสริมมวลชน จากการเปรียบเทียบความต้องการการส่งเสริมมาตรฐาน มกษ. 8000-2555 พบว่า เกษตรกรที่มีอายุ ประสบการณ์ รายได้จากการขายเส้นไหม ที่แตกต่างกัน มีความต้องการส่งเสริมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05)

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

บุญชม ศรีสะอาด. 2532. การวิจัยเบื้องต้น. สำนักพิมพ์ สุวีริยาสาส์น, กรุงเทพฯ.

มนสิช สิทธิสมบูรณ์. 2550. ระเบียบวิธีวิจัย. คณะศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ยุพวัลย์ ชมชื่นดี. 2554. สภาพการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมของเกษตรกรบ้านหนองปื้ด ตำบลหนองขาม อำเภอจักราช จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ ปริญญาวิทยาศาสตร มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. นนทบุรี.

วัชรพงษ์ แก้วหอม, ณกรณ์ ไกรอนุพงษา, ณรงค์ แก้วสาหลง, ดิเรก สังข์ศร, สุภณ พันชนะ, พิชัย เชื้องาม, วิศิษฐ์ ไฝจันทร์, ธงชัย วิบูลย์ชาติ, สุเทพ ขวัญเผือก, และพุทธชาด ลีปายะคุณ. 2555. การผลิตเส้นไหมไทยตามมาตรฐาน มกอช. 8000-2548. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ชัยภูมิ. 2562. รายชื่อเกษตรกรที่ได้รับการสนับสนุนเครื่องสาวไหมปรับปรุงชนิดเข้าเหล่งและผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรการเพิ่มศักยภาพการสาวไหมหัตถกรรมให้ได้คุณภาพมาตรฐาน มกษ. 8000-2555 ของจังหวัดชัยภูมิ. กลุ่มงานส่งเสริมหม่อนไหม. กรมหม่อนไหม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

สมพงษ์ ไกรพจน์, สุชาติ จุลพูล, บุษรา จงรวยทรัพย์, วิโรจน์ แก้วเรือง, อัญชลี เชื้อบุญมี, ชาติ ศรีแสง, สิทธิชัย บุญมั่น, สุกานดา คำปลิว, พิมลรัตน์ เมธินธรังสรรค์, ภัทรกร ทัณฑรักษ์, อรวรรณ ติตะปัญ, และบุญปลูก ถาตะบุตร. 2555. ศึกษาวิจัยการผลิตเส้นไหมไทยตามมาตรฐาน มกอช. 8000-2548 ของผู้สาวไหมด้วยมือในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารหารแห่งชาติ. 2555. มาตรฐานสินค้าเกษตร มกษ. 8000-2555 : เส้นไหมดิบ เล่ม 1: เส้นไหมไทยสาวมือ. กรุงเทพฯ: สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

สำนักงานหม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ เขต 3 จังหวัดขอนแก่น. 2562. ขอข้อมูลผู้ปลูกหม่อน เลี้ยงไหมในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานหม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เขต 3 จังหวัดขอนแก่น. กลุ่มงานส่งเสริมหม่อนไหม. กรมหม่อนไหม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

สำนักพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีหม่อนไหม. 2561. คู่มือปฏิบัติปีงบประมาณ 2561. แหล่งข้อมูล: http://122.154.22.188/odt_new/file_upload/2017-11-08-1.pdf. ค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2562.

สำนักวิจัยและพัฒนาหม่อนไหม 2561. คู่มือการปฏิบัติงานและการรายงานผลการดำเนินงาน 2561. แหล่งข้อมูล: http://122.154.22.188/osrd_new/file_upload/2017-12-25-คู่มือการปฏิบัติงานและการรายงานผลการดำเนินงาน2561.pdf. ค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2562.

สำเริง จันทรสุวรรณ และสุวรรณ บัวทวน. 2547. ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.