ผลของการจัดการปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินต่อผลผลิตและประสิทธิภาพการใช้ธาตุไนโตรเจนจากปุ๋ยของข้าวสุพรรณบุรี 1 ที่ปลูกในชุดดินวัฒนา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบการตอบสนองด้านการให้ผลผลิตและประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยของข้าวสุพรรณบุรี 1 ที่ปลูกในชุดดินวัฒนาและได้รับปุ๋ยที่สอดคล้องกับความต้องการธาตุอาหารของข้าวและค่าวิเคราะห์ดิน (site-specific fertilizer management, SSF) วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ภายในบล๊อก มี 6 ซ้ำ และ 5 ตำรับการทดลอง ได้แก่ (1) ไม่มีการใส่ปุ๋ยเคมี (C), (2) การใส่ปุ๋ยเคมีตามวิธีการของเกษตรกร (F), (3) การใส่ปุ๋ยเคมีอัตรา 1SSF, (4) การใส่ปุ๋ยเคมีอัตรา 2SSF และ (5) การใส่ปุ๋ยเคมีอัตรา 3SSF ผลการทดลอง พบว่า ข้าวที่ได้รับปุ๋ยเคมีอัตรา 3SSF มีผลผลิตข้าวเปลือก (900 กิโลกรัม/ไร่) ไม่แตกต่าง (P>0.05) กับข้าวที่ได้รับปุ๋ยเคมีอัตรา 2SSF (815 กิโลกรัม/ไร่) และ 1SSF (827 กิโลกรัม/ไร่) แต่สูงกว่า (P<0.05) ตำรับการทดลอง F (696 กิโลกรัม/ไร่) และ C (619 กิโลกรัม/ไร่) ข้าวที่ได้รับปุ๋ยเคมีอัตรา 1SSF (55%) มีประสิทธิภาพการดูดใช้ธาตุไนโตรเจนจากปุ๋ยไม่แตกต่าง (P>0.05) จากข้าวที่ได้รับปุ๋ยในอัตรา 2SSF (50%) และ 3SSF (57%) แต่สูงกว่า (P<0.05) ข้าวในตำรับการทดลอง F (43%) ข้าวในตำรับการทดลอง 1SSF มีประสิทธิภาพการผลิตพืช (37.34 กิโลกรัมผลผลิต/กิโลกรัมไนโตรเจน) สูงกว่า (P<0.05) ข้าวที่ได้รับปุ๋ยเคมีอัตรา 2SSF (16.71 กิโลกรัมผลผลิต/กิโลกรัมไนโตรเจน) และ 3SSF (15.56 กิโลกรัมผลผลิต/กิโลกรัมไนโตรเจน) ซึ่งสูงกว่า (P<0.05) ข้าวในตำรับการทดลอง F (2.83 กิโลกรัมผลผลิต/กิโลกรัมไนโตรเจน) ดังนั้น ในการปลูกข้าวสุพรรณบุรี 1 ในชุดดินวัฒนาควรมีการจัดการปุ๋ยที่สอดคล้องกับความต้องการของข้าวและค่าวิเคราะห์ดิน
Article Details
References
กรมการข้าว. 2550. พันธุ์ข้าว. แหล่งที่มา: http://goo.gl/nx-osdT. ค้นเมื่อ 16 มกราคม 2559.
กิ่งแก้ว คุณเขต, สำราญ อินแถลง, สมโรจน์ ประกอบบุญ, นิตยา รื่นสุข, อดุลย์ กฤษวะดี, ประนอม มงคลบรรจง, วาสนา อินแถลง, ชิษณุชา บุดดาบุญ, อมรรัตน์ อินทร์มั่น, เฉลิมชาติ ฤาไชยคาม, สุรพล จัตุพร และโอภาส วรวาท. 2552. การเพิ่มผลผลิตข้าวภาคกลางจากการจัดเขตศักยภาพของพื้นที่. น. 82-98. ใน: ประชุมวิชาการข้าวและธัญพืชเมืองหนาว ประจำปี 2552 ณ. โรงแรมซีบรีท จอมเทียน พัทยา จ.ชลบุรี.
คณาจารย์ภาควิชาปฐพีวิทยา. 2554. คู่มือปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ทางดิน ระบบโสตทัศนูปกรณ์. คณะเกษตรกำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, นครปฐม.
งามชื่น คงเสรี. 2536. คุณภาพเมล็ดทางเคมี. การฝึกอบรมหลักสูตรวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว ณ ศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง. ฝ่ายฝึกอบรมสถาบันวิจัยข้าว กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ.
งามชื่น คงเสรี. 2545. ปัจจัยคุณภาพข้าวสารและข้าวสวย. น. 13-18. ใน: การอบรมหลักสูตรหลักและวิธีการวิเคราะห์คุณภาพข้าว. วันที่ 29-31 กรกฎาคม 2545 ณ. ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี จ.ปทุมธานี.
ธนกฤต เขียวอร่าม, นันทวัฒน์ ศรีอำไพ, อำพล แพบุตร, อุไร กาลปักษ์ และรุ่งนภา อังคุณี . 2555. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง ศึกษาปัจจัยและแนวทางการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในการทำนาในพื้นที่อำเภอบ้าน ลาด จังหวัดเพชรบุรี คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยศิลปากรวิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี และสำนักงานเกษตรอำเภอบ้านลาด ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากสถาบันวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยศิลปากร.
นันทนา ชื่นอิ่ม, วิวัฒน์ อิงคะประดิษฐ์, สมชาย กรีฑาภิรมย์ และนุษรา สินบัวทอง. 2553. การใช้ปุ๋ยเคมีในนาข้าวตามค่าการวิเคราะห์ดิน. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
ไพลิน รัตนจันทร์, อานัน ผลวัฒนะ, ทัศนีย์ อัตตะนันท์ และนิวัติ เจริญศิลป์. 2550. การจัดการธาตุอาหารเฉพาะพื้นที่เพื่อการผลิตข้าวในพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา. น. 41-48. ใน: ประชุมวิชาการข้าวและธัญพืชเมืองหนาว ประจำปี 2550 วันที่ 19-20 กุมภาพันธ์ 2550, ปทุมธานี.
พันธวัศ สัมพันธ์พานิช. 2555. การใช้ปุ๋ยคอกและเคมีต่อการปลดปล่อยก๊าซมีเทนในนาข้าว. วารสารวิทยาศาสตร์ มข. 40: 1236-1249.
ยงยุทธ โอสถสภา, อรรถศิษฐ์ วงศ์มณีโรจน์ และชวลิต ฮงประยูร. 2551. ปุ๋ยเพื่อการเกษตรยั่งยืน. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
โสรยา เกิดพิบูลย์, ดาริกา เจริญดี, เณศรา จันต๊ะวงศ์ และพนัชกร อัศวจิต. 2555. ผลของวิธีการหุง ที่มีต่อสัณฐานวิทยา และสมบัติเชิงกายภาพของข้าวฮางในระหว่างการหุง. คณะอุตสาหกรรมเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, กรุงเทพฯ.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2557. สถิติการเกษตรของประเทศไทย ปีการเพาะปลูก 2557.อุไรวรรณ ไอยสุวรรณ์. 2557a. การจัดการปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินต่อการเจริญเติบโตผลผลิตและประสิทธิภาพการใช้ไนโตรเจนของข้าวที่ปลูกในชุดดินสรรพยา. วารสารเกษตร. 30: 133-140.
อุไรวรรณ ไอยสุวรรณ์. 2557b. ผลของการจัดการปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินต่อผลผลิตและสมบัติทางเคมีของข้าวพันธุ์ปทุมธานีในชุดดินสรรพยา. แก่นเกษตร. 43: 423-430.
Bray, R. H., and L. T. Kurtz. 1945. Determination of total organic and available forms of phosphorus in soil. Soil Sci. 59: 39-45.
Bremmer, J. M., and C. S. Mulvaney. 1982. Nitrogen Total. P. 595-624. In: A. L. Page (ed.), Methods of soil analysis: Agron. NO. 9, Part 2: Chemical and microbiological properties. 2nd ed., Am. Soc. Agron., Madison, WI, USA.
FAO. 1974. The euphrates pilot irrigation project. Methods of soil analysis, Gadeb Soil Laboratory (A Laboratory manual). Food and Agriculture Organization, Rome, Italy.
Jackson, M. L. 1958. Soluble salt analysis for soils and water. Soil chemical analysis. Prentice Hall, Inc. Englewaed Cliffs, N. J. 251p.
Ladha, J.K., H. Pathak, T. Krupnik, J. Six, and C. van Kessel. 2005. Efficiency of fertilizer nitrogen in cereal production: retrospects and prospects. Advance in Agronomy. 87: 85-156.
Mclean, E. O. 1982. Soil pH and lime requirement. P. 199-224. In: A. L. Page (ed.), Methods of soil analysis Part 2: Chemical and microbiological properties. Am. Soc. Agron., Madison, WI, USA.
Peech, M., L. T. Alexander, L. A. Deanand, and J. F. Reed. 1947. Method of soil analysis for soil fertility Investigation. Dept. Agric. Circ., USA.
Walkley, A. 1947. A critical examination of a rapid method for determining organic carbon in soil: Effect of variation in digestion conditions and of organic soil constituents. Soil Sci. 63: 251-263.