ผลของการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนต่อผลผลิตและความเข้มข้นธาตุสังกะสีในเมล็ดข้าวพันธุ์พื้นเมือง

Main Article Content

กมลชนก นันต๊ะจันทร์
เพ็ญนภา จักรสมศักดิ์
นันทิยา พนมจันทร์
ชนากานต์ เทโบลต์ พรมอุทัย

บทคัดย่อ

การเพิ่มปริมาณธาตุสังกะสีในเมล็ดข้าวเป็นวิธีการหนึ่งที่มีการยอมรับว่าสามารถช่วยลดปัญหาการขาดธาตุสังกะสีในกลุ่มประชากรที่บริโภคข้าวเป็นอาหารหลักได้ ดังนั้นการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนแตกต่างกัน 3 ระดับ คือ 0, 10 และ 20 กิโลกรัม/ไร่ ต่อผลผลิต และปริมาณธาตุสังกะสีในเมล็ดข้าวกล้องพันธุ์พื้นเมือง 3 พันธุ์คือ ปะอ้ายโกล้ บือซาโกล้ และสังข์หยดโดยปลูกข้าวทั้ง 3 พันธุ์ในสภาพแปลง พบว่าการใส่ปุ๋ยไนโตรเจน 10 กิโลกรัม/ไร่ ทำให้ข้าวทั้ง 3 พันธุ์ มีผลผลิตเพิ่มขึ้น เปรียบเทียบกับการไม่ใส่ปุ๋ยไนโตรเจน แต่มีอัตราการเพิ่มขึ้นแตกต่างกันในข้าวแต่ละพันธุ์ตั้งแต่ 19.7 - 47.3 % แต่พบว่า ระดับ 20 กิโลกรัม/ไร่ ทำให้ผลผลิตพันธุ์บือซาโกล้ลดลง แต่ไม่แตกต่างกันในปะอ้ายโกล้และสังข์หยด โดยการใส่ปุ๋ยไนโตรเจน 10 และ 20 กิโลกรัม/ไร่ ทำให้องค์ประกอบผลผลิตเพิ่มขึ้นจากการไม่ใส่ปุ๋ยในทุกพันธุ์ ยกเว้นจำนวนเมล็ดดี/รวง ที่มีจำนวนมากที่สุดที่อัตรา 10 กิโลกรัม/ไร่ แต่ระดับปุ๋ยที่เพิ่มเป็น 20 กิโลกรัม/ไร่ ทำให้จำนวนเมล็ดดีลดลง สำหรับธาตุสังกะสีในเมล็ดข้าวกล้องพบว่าทั้งพันธุ์ข้าวและอัตราการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนมีผลต่อความเข้มข้นธาตุสังกะสีแต่ไม่พบปฏิสัมพันธ์ระหว่างสองปัจจัยนี้ โดยพบว่าพันธุ์ที่มีความเข้มข้นธาตุสังกะสีสูงที่สุดคือสังข์หยดและบือซาโกล้ และน้อยที่สุดคือปะอ้ายโกล้ ในขณะที่การใส่ปุ๋ยไนโตรเจน 10 กิโลกรัม/ไร่ ทำให้ข้าวกล้องทั้ง 3 พันธุ์มีธาตุสังกะสีสูงที่สุด รองลงมาคือที่ 20 กิโลกรัม/ไร่ และการไม่ใส่ปุ๋ย ตามลำดับ และไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างผลผลิตเมล็ดและความเข้มข้นธาตุสังกะสีในข้าวทั้ง 3 พันธุ์ การทดลองนี้บ่งชี้ว่าการจัดการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนในอัตราที่เหมาะสมสามารถเพิ่มผลผลิตและปริมาณธาตุสังกะสีในเมล็ดข้าวได้แตกต่างกันในข้าวแต่ละพันธุ์ ซึ่งข้อมูลดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อการจัดการปุ๋ยไนโตรเจนและการปรับปรุงพันธุ์ข้าวเพื่อเพิ่มผลผลิตและปริมาณสังกะสีในเมล็ดข้าวต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. 2532. ข้อกำหนดสารอาหารที่ควรจะได้รับประจำวันและแนวการบริโภคอาหารสำหรับคนไทย องค์กรสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
ดำเนิน กาละดี. 2543. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์เรื่องพันธุศาสตร์การปรับปรุงพันธุ์และโภชนศาสตร์เกษตรของข้าวเหนียวดำ. สถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 74 หน้า.
อารีรัตน์ น้องสินธุ์. 2542. อิทธิพลของระดับปุ๋ยไนโตรเจนต่อการสะสมและการถ่ายเทไนโตรเจนในข้าว. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เกษตรศาสตร์) สาขาพืชไร่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 104 หน้า.
Allen, L., B. Benoist, O. Dary, and R. Hurrel. 2006. Guidelines on Food Fortification with Micronutrients, World Health Organization and Food and Agricultural Organization of the United Nations.
Alloway, B.J. 2008. Zinc in soil and crop nutrition. 2ndEdition. International Zinc Association and International Fertilizer Industry Association. Brussels, Belgium and Paris, France. 135 pp.
Cakmak, I. 2008. Enrichment of cereal grains with zinc: agronomic or genetic biofortification. Plant and Soil. 302: 1-17.
Delhaiz E., B. Dell, G. Kirk, J. Loneragan, R. Nable, D. Plaskett, and M. Webb. 1984. Manual of Research Procedures. 1st Edition. Plant nutrition Research Group School of Environmental and Life Science. Murdoch University, Australia.
Hao, H.l., Y.Z. Wei, X. E. Yang, Y. Feng, and C. Y. Wu. 2007. Effects of different nitrogen fertilizer levels on Fe, Mn, Cu and Zn concentratios in shoot and grain quality in rice (Oryzasativa). Rice science. 14(4): 289-294.
IRRI, 1989. Rice Ratooning. The International Rice Reseaech, Las Bonos, Philippines. 279 p.
Juliano, B.O. 1993. Rice in human nutrition. Rome: Food and Agriculture Organization of the United Nation ; International Rice Research Institute. Las Bonos. Phillipines. 162 pp.
Prom-u-thai, C., S. Fukai, I.D. Godwin, and L. Huang. 2007. Genotypic variation of iron partitioning in rice grain. J Sci Food Agric. 87: 2049-2054.
Prom-u-thai, C., G. Thomson, J. Kuo, M. Saunders, L. Huang, B. Rerkasem, and B. Dell. 2008. Distribution of protein bodies and phytate-rich inclusions in grain tissues in relation to iron density in low and high iron rice genotypes. Cereal Chem. 85(2): 257-265.
Stocking, C. R., and A. Ongum. 1962. The intercellular distribution of some metallic element in leaves. Amer. J. Bot. 49: 284-289.
Watanabe, I., and K. Tensho. 1970. Further study on iodine toxicity in relation to “Reclamation Akagare disease of lowland rice”. Soil Sci. Plant Nuts. 16: 192-194.
Yoshida, S. 1981. Fundamantals of Rice of Crop Science. The International Rice Ressearch Insitute. Los Banos, Laguna, Philippines.