พฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชและทัศนคติด้านความเสี่ยงของเกษตรกรผู้ปลูกผักในจังหวัดปทุมธานี

Main Article Content

ปัทมา เมี่ยงมุกข์
สุวรรณา ประณีตวตกุล
จักรกฤษณ์ พจนศิลป์

บทคัดย่อ

การพัฒนาด้านการเกษตรของประเทศไทยที่ผ่านมาใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในปริมาณสูง ก่อให้เกิดผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม การศึกษาพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชและทัศนคติด้านความเสี่ยงของเกษตรกรมีความสำคัญต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเกษตรกร การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ วิเคราะห์พฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช วิเคราะห์ทัศนคติด้านความเสี่ยงของเกษตรกรผู้ปลูกผักตัวอย่าง และวิเคราะห์ปัจจัยที่มีต่อความสัมพันธ์ต่อการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของผู้ปลูกผักตัวอย่าง ข้อมูลรวบรวมจากการสัมภาษณ์เกษตรกรผู้ปลูกผักคะน้าและถั่วฝักยาวในจังหวัดปทุมธานี ตัวอย่างจำนวน 96 ครัวเรือน ปีการเพาะปลูก 2557/2558 อาศัยทฤษฎีความคาดหวัง (Prospect Theory) และวิเคราะห์โดยเลือกสถิติเชิงพรรณนา ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสถิติไคสแควร์ ผลการศึกษาด้านพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช เมื่อพิจารณาความเป็นพิษ (toxicity) ตามหลักเกณฑ์การจัดระดับความเป็นพิษขององค์การอนามัยโลกพบว่า สารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่เกษตรกร ของผู้ปลูกผักคะน้าใช้ส่วนใหญ่อยู่ใน Class II (ระดับพิษปานกลาง) มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 131.77 กรัมสารออกฤทธิ์/ไร่ ในขณะที่ผู้ปลูกถั่วฝักยาวใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชระดับ U (ระดับที่ไม่เป็นพิษเมื่อใช้อย่างระวัง) มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 154.74 กรัมสารออกฤทธิ์/ไร่ ทัศนคติด้านความเสี่ยงพบว่า เกษตรกรมีทัศนคติหลีกเลี่ยงความเสี่ยง (Risk averse) ทั้งหมดแต่ในระดับที่แตกต่างกัน โดยเกษตรกรที่มีทัศนคติหลีกเลี่ยงความเสี่ยงสูงจะมีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในปริมาณสูง ข้อเสนอต่อหน่วยงานของราชการ ส่งเสริมการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน และเทคนิคทางเลือกให้เกษตรกรในการลดการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชให้กับเกษตรกรอย่างทั่วถึง

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

ธนาภรณ์ อธิปัญญากุล. 2555. ทฤษฎีอรรถประโยชน์คาดหวังและทฤษฎีคาดหวัง: ทัศนคติและพฤติกรรมการตัดสินใจของเกษตรกรที่มีต่อความเสี่ยง. แก่นเกษตร. 40: 269-278.
พิทยา สิทธิอำนวย. 2552. การทดสอบทฤษฎี Prospect theory ของ Kahneman และ Tversky กับกลุ่มตัวอย่างในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สาคร ศรีมุข. 2556. ผลกระทบจากการใช้สารเคมีทางการเกษตรของประเทศไทย. สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการ วุฒิสภา ปีที่ 3, กรุงเทพฯ.
สุวรรณา ประณีตวตกุล. 2549. นโยบายด้านสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชในประเทศไทย. สถาบันวิจัยสังคมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 2543. การพัฒนาการเกษตรแบบยั่งยืน, กรุงเทพฯ.
Kahneman, D., and A. Tversky. 1979. Prospect theory: An analysis of decision under risk. Econometrica. 47: 263-91.
Krejcie, R. V., and D. W. Morgan. 1970. Determining Sample size for Research Activities. Education and Psychological Measurement. 30: 607-610
Liu E. M. and J. Huang. 2013. Risk preferences and pesticide use by cotton farmers in China. Journal of Development Economic. 103: 202-215.
Michael C.R. Aldvanja. 2009. Pesticides Use and Exposure Extensive Worldwide. Rev Environ Health. 24(4): 303-309.
Nuttall, N. 2012. Urgent Action Needed to Reduce Growing Health and Environmental Hazards from Chemicals: UN Report. UNEP Division of Communications and Public Information
Prelec, D., 1998. The probability weighting function. Econometrica. 66(3): 497-527.
Roumasset, J., J. Boussard, and I. Singh. 1979. Risk, Uncertainty and Agricultural Development. 3rd Edition. Southest Asian Regional Center for Graduate Study and Research in Agricultural Development Council, New York.
Tanaka, T., C. F. Camerer, and Q. Nguyen. 2010. Risk and time preferences: linking experimental and household survey data from Vietnam. American economic review. 100: 557-571.
Von Neuman, J., and O. Morgenstern. 1947. Theory of games and economics behavior. Princeton University Press, New Jersey.