อายุทะลายต่อการพัฒนาและคุณภาพเมล็ดพันธุ์ปาล์มน้ำมัน

Main Article Content

สุธารา สุวรรณดวง
วัลลภ สันติประชา
ขวัญจิตร สันติประชา
ธีระ เอกสมทราเมษฐ์

บทคัดย่อ

การศึกษาอายุทะลายต่อการพัฒนาและคุณภาพเมล็ดพันธุ์ปาล์มน้ำมันเพื่อใช้ในการผลิตต้นกล้า ทำโดยเก็บเกี่ยวทะลายปาล์มน้ำมันที่อายุทะลาย 4, 5, 6 และ 7 เดือน หลังการผสมเกสรมาศึกษาการพัฒนาของขนาด น้ำหนักแห้ง ความชื้น น้ำหนักของกะลาและเนื้อใน ขนาดของต้นอ่อน ความงอก ความแข็งแรง และความสามารถในการผลิตต้นกล้า พบว่าเมล็ดพันธุ์ที่อายุ 4 เดือน มีการพัฒนาขนาด 64.00-65.00% น้ำหนักแห้ง 27.51% ความชื้น 33.23% และต้นอ่อนมีการพัฒนาแล้ว 86.00-89.00% เมล็ดพันธุ์ปาล์มน้ำมันมีการพัฒนาขนาดและน้ำหนักแห้งสูงสุดที่อายุ 6 เดือน และเมล็ดพันธุ์ปาล์มน้ำมันมีส่วนที่เป็นกะลาในสัดส่วน 64.53-73.85% เมล็ดพันธุ์ที่อายุ 4 เดือน มีความงอก 45.50% มีความแข็งแรง 54.50-65.42% เมล็ดพันธุ์ที่อายุ 5 เดือน มีความงอก 79.50% มีความแข็งแรง 70.05-71.61% และเมล็ดพันธุ์ที่อายุ 6-7 เดือน มีความงอก 85.00-89.50% ความแข็งแรง 93.07-100.00% โดยทะลายที่อายุ 6 เดือน ให้เมล็ดพันธุ์ที่มีความงอกและความแข็งแรงสูงสุด ที่งอกให้ต้นกล้าที่มีการเจริญสูงสุด

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

ธีระ เอกสมทราเมษฐ์. 2554. การปรับปรุงพันธุ์ปาล์มน้ำมัน. โอ เอส พริ้นติ้ง เฮาส์, กรุงเทพฯ.
ธีระ เอกสมทราเมษฐ์, ชัยรัตน์ นิลนนท์, ธีรพงศ์ จันทรนิยม, ประกิจ ทองคำ และสมเกียรติ สีสนอง. 2548. เส้นทางสู่ความสำเร็จการผลิตปาล์มน้ำมัน. Neo Point, สงขลา.
วัลลภ สันติประชา. 2540. เทคโนโลยีเมล็ดพันธุ์. ภาควิชาพืชศาสตร์ คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่, สงขลา.
วิภาวี บุญยะตุลานนท์. 2555. การตอบสนองของพันธุ์ปาล์มน้ำมันต่อการให้น้ำในระยะต้นกล้า. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2554. ทิศทางปาล์มน้ำมันไทย. แหล่งข้อมูล: http://goo.gl/kbeBwB. ค้นเมื่อ 30 เมษายน 2558.
Myint, T., W. Chanprasert, and S. Srikul. 2010. Germination of seed of oil palm (Elaeis guineensis Jacq.) as affected by different mechanical scarification methods. Seed Sci. Technol. 38: 635-645. Ngalle, H.B., J.M. Bell, G.F. Ebongue, L. Nyobe, F.C. Ngangnou, and G.N. Ntsomboh. 2013. Morphogenesis of oil palm fruit (Elaeis guineensis Jacq.) in mesocarp and endocarp development. Life Sci. 7: 153- 158.
Panyangnoi, K., S. Srikul, and C. Korawis. 1997. Study on some morphologies of oil palm seeds. Thai Agric. Res. J. 15: 185-193.
Rees, A.R. 1963. Some factors affecting the germination of oil palm seeds under natural conditions. J. W. Afri. Inst. Oil Palm Res. 4: 201-207.
USDA. 2015. Oilseeds: world markets and trade. Available: http://goo.gl/hiYmrd. Accessed Apr. 30, 2015.