การศึกษาผลผลิตและองค์ประกอบผลผลิตของข้าวเหนียวพื้นเมือง 3 พันธุ์ เปรียบเทียบกับพันธุ์ กข 6 ภายใต้การจัดการแบบนาอินทรีย์ฤดูนาปี 2554

Main Article Content

มานัส ลอศิริกุล
นันทิยา หุตานุวัตร
นพมาศ นามแดง
สุกัญญา คลังสินศิริกุล
ประสิทธิ์ กาญจนา

บทคัดย่อ

ข้าวเหนียวพื้นเมืองยังคงนิยมปลูกกันทั่วไปในพื้นที่ชนบทของภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือโดยเฉพาะอย่างยิ่งตอนบนของทั้งสอง ภูมิภาค เพราะเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตและความมั่นคงทางอาหารของครัวเรือน ประกอบกับการปลูกข้าวพันธุ์ส่งเสริมทางราชการมีต้นทุนการผลิตสูงด้านปุ๋ยเคมีและยากำจัดศัตรูข้าว ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบองค์ประกอบผลผลิตและผลผลิตข้าวพื้นเมือง 3 พันธุ์ คือ ตมแดง ตมหอม และเล้าแตก กับพันธุ์ กข 6 ที่ทางราชการส่งเสริม รวมทั้งศึกษาปัจจัยทางด้านกายภาพและชีวภาพที่เกี่ยวข้องกับผลผลิตในนาดินร่วนปนทรายที่มีการจัดการแบบนาอินทรีย์ของเกษตรกร บ้านแสงทอง ตำบลบุ่งมะแลง อำเภอสว่างวีระวงศ์ จังหวัดอุบลราชธานีในฤดูนาปี 2554 โดยนำเอาข้าวเหนียวพื้นเมืองทั้ง จำนวน 3 พันธุ์ดังกล่าว ปลูกเปรียบเทียบกับพันธุ์ กข 6 วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ในบล็อก (RCBD) มี จำนวน 6 ซ้ำ ผลการทดลองพบว่า ผลผลิตเฉลี่ยข้าวเหนียวทั้ง 4 พันธุ์ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (P<0.01) ข้าวพันธุ์เล้าแตกให้ผลผลิตสูงสุด 497 กก./ไร่ รองลงมา กข 6 436กก./ไร่ พันธุ์ตมแดง 400 กก./ไร่ ขณะที่พันธุ์ตมหอมให้ผลผลิตต่ำสุด 381 กก./ไร่ โดยที่ข้าวพันธุ์เล้าแตกให้ค่าเฉลี่ยองค์ประกอบผลผลิตสูงสุดด้านจำนวนต้น/กอ จำนวนรวง/กอ จำนวนเมล็ดดี/กอ ส่วนแมลงศัตรูข้าวพบเพลี้ยไฟระบาดหลังปักดำ 2 สัปดาห์ หลังจากนั้นในระยะข้าวแตกกอและข้าวออกดอกพบการระบาดของหนอนกอข้าว (Scirpophaga incertulus Walker) และตั๊กแตนข้าว (Cyrthacantacris tatarica) แต่เกษตรกรสามารถควบคุมได้โดย ฉีดพ่นด้วยน้ำหมักสมุนไพรและใช้ระดับน้ำควบคุมการระบาด ส่วนแมลงศัตรูธรรมชาติในนาข้าวอินทรีย์ที่พบ คือ แมลงปอบ้าน (Neurothemis tulia) และแมงมุม (Lycosa pseudoannulata)

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กรมวิชาการเกษตร. 2547. ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์น้ำหมักชีวภาพ (ตอนที่ 1). เอกสารวิชาการลำดับที่ 3/2547. ควิกปริ๊นท์ ออฟเซ็ท, กรุงเทพฯ. 51 หน้า.
นันทิยา หุตานุวัตร, ณรงค์ หุตานุวัตร, มานัส ลอศิริกุล, นพมาศ นามแดง, สุกัญญา คลังสินศิริกุล, ประสิทธิ์ กาญจนา และประวัติ ไชยกาล. 2555. บทคัดย่อการประชุมวิชาการข้าวแห่งชาติครั้งที่ 2 เรื่องมิติใหม่วิจัยข้าวไทยพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงของ สภาพภูมิอากาศและการเปิดตลาดเสรีอาเซียน วันที่ 21-23 ธันวาคม 2555 ณ โรงแรม Swissotel Le Concorde, กรุงเทพฯ. น. 657-661.
มานัส ลอศิริกุล, นันทิยา หุตานุวัตร, นพมาศ นามแดง, สุกัญญา คลังสินศิริกุล และประสิทธิ์ กาญจนา. 2556ก.การทดสอบกระบวนการเพิ่มผลผลิตข้าวเหนียวพื้นเมืองพันธุ์เล้าแตกและตมแดง ในพื้นที่นาดินทรายปนร่วนของเกษตรกร. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ (สกว., เล่มที่ 4). คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัย อุบลราชธานี, อุบลราชธานี.
มานัส ลอศิริกุล, นันทิยา หุตานุวัตร, นพมาศ นามแดง, สุกัญญา คลังสินศิริกุล และประสิทธิ์ กาญจนา. 2556ข.การทดสอบกระบวนการเพิ่มผลผลิตข้าวเหนียวพื้นเมืองพันธุ์ตมแดง ตมหอมและเล้าแตก ในพื้นที่นาทั่วไปของเกษตรกร.รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ (สกว., เล่มที่ 5). คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัย อุบลราชธานี, อุบลราชธานี.
วราภรณ์ วงศ์บุญ และ จิรพงศ์ ใจรินทร์. 2550. แนวทางการเพิ่มผลผลิตข้าวโดย System of Rice Intensification (SRI). วารสารแก่นเกษตร. 35(1): 1-5. สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2553. รายงานผลการสำรวจข้าวนาปี ปีเพาะปลูก 2552/53. เอกสารสถิติการเกษตร เลขที่ 415 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ. สำนักวิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาที่ดิน. 2547. คู่มือการวิเคราะห์ตัวอย่างดิน น้ำ ปุ๋ย พืช วัสดุปรับปรุงดิน และการวิเคราะห์เพื่อตรวจรับรองมาตรฐานสินค้า. กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 181 หน้า.
สุกัญญา คลังสินศิริกุล, นันทิยา หุตานุวัตร, มานัส ลอศิริกุล, นพมาศ นามแดง และประสิทธิ์ กาญจนา. 2556. การทดสอบกระบวนการเพิ่มผลผลิตข้าวเหนียวพื้นเมืองพันธุ์ตมแดง ตมหอมและเล้าแตก ในพื้นที่นาทั่วไปของเกษตรกร. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ (สกว., เล่มที่ 5). คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัย อุบลราชธานี, อุบลราชธานี.
สมชาย ชคตระการ. 2548. ข้าว ข้าวโพด ข้าวฟ่าง ข้าวสาลี. ภาควิชาเทคโนโลยีการเกษตร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต. 152 หน้า.
สมพร อิศวิสานนท์. 2556. ข้าวเหนียวไทย...ความจำกัดของตลาดการค้า. นิตยสารข้าวไทย. 6(35). อนนท์ สุขสวัสดิ์. 2547. การประเมินความอุดมสมบูรณ์ของดินนา. สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์, กรุงเทพฯ. 116 หน้า.
อนุชาติ คชสถิตย์, อุไรวรรณ คชสถิตย์ และกฤษณา สัตยากุล. 2555. การรวบรวมและประเมินลักษณะกลุ่มพันธุ์ข้าวเล้า แตก.บทคัดย่อการประชุมวิชาการข้าวแห่งชาติครั้งที่ 2 เรื่องมิติใหม่วิจัยข้าวไทยพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและการเปิดตลาดเสรีอาเซียน วันที่ 21-23 ธันวาคม 2555 ณ โรงแรม Swissotel Le Concorde, กรุงเทพฯ. น. 241-243.
อรวรรณ ศรีสมพันธ์ และ ทัตพิชา เจริญรัตน์. 2557. ข้าวเหนียวในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน: โอกาสหรือข้อจำกัดของไทย. วารสารแก่นเกษตร. 42(1): 119-128.
Walkley, A., and I. A. Black.1947. Chromic acid titration method for determination of soil organic matter. Soil Sci. Amer.Proc. 63: 257.