ผลของสายพันธุ์เม่าหลวงต่อปริมาณกรดออกซาลิก
Main Article Content
บทคัดย่อ
เม่าเป็นผลไม้ท้องถิ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยที่มีรสฝาดเฝื่อน แต่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ปัจจุบันเม่าเป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมเครื่องดื่มระดับท้องถิ่น งานวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปริมาณกรดออกซาลิกในเม่าหลวง 14 สายพันธุ์ และนำเม่าสายพันธุ์ที่มีปริมาณกรดออกซาลิกสูงสุดมาวิเคราะห์เพิ่มเติม โดยศึกษาผลของปริมาณกรดออกซาลิกต่อระยะการสุกของเม่า 3 ระยะ (ชมพู แดง และดำ) และส่วนต่างๆ ของผลเม่า (เมล็ด กาก และน้ำ) รวมถึงผลของความร้อนที่มีต่อปริมาณกรดออกซาลิก โดยทำการวิเคราะห์ปริมาณกรดออกซาลิกด้วยเครื่อง High Performance Liquid Chromatography (HPLC) จากผลการศึกษา พบว่า เม่าสายพันธุ์ภูพานทองมีปริมาณกรดออกซาลิกสูงที่สุด คือ 67.73 มก./100 ก. (น้ำหนักแห้ง) และเมื่อนำเม่าสายพันธุ์ภูพานทองไปทำการวิเคราะห์เพิ่มเติมในส่วนต่างๆ ของเม่า ได้แก่ เมล็ด กาก และน้ำ พบว่า เมล็ดเม่ามีปริมาณกรดออกซาลิกสูงที่สุด รองลงมาคือ ส่วนของกาก และน้ำ โดยในเมล็ดของเม่าผลแดงมีปริมาณกรดออกซาลิกสูงที่สุด คือ 335.47 มก./100 ก. สำหรับผลของระยะสุกของเม่า พบว่าเม่าแดงมีปริมาณกรดออกซาลิกสูงที่สุด รองลงมาคือ เม่าชมพูและดำ ตามลำดับ และเมื่อพิจารณาในส่วนของน้ำ พบว่า น้ำเม่าจากผลแดงมีปริมาณกรดออกซาลิกสูงที่สุดคือ 38.86 มก./100 ก. รองลงมาคือ น้ำเม่าจากผลชมพูและผลดำที่มีปริมาณกรดออกซาลิกเท่ากับ 30.87 และ 28.28 มก./100 ก. ตามลำดับ โดยเมื่อนำน้ำเม่าไปผ่านการให้ความร้อนที่อุณหภูมิ 90 องศาเซลเซียส นาน 15 นาที มีผลทำให้ปริมาณกรดออกซาลิกในน้ำเม่าลดลง 14.82% เมื่อเปรียบเทียบกับน้ำเม่าก่อนการให้ความร้อน
Article Details
References
จันทร์เฉิดฉาย สังเกตุกิจ. 2549. การศึกษาออกซาเลท (Oxalate) ในผลและไวน์องุ่นป่า. แหล่งข้อมูล: http://goo.gl/1h6WHV. ค้นเมื่อ 3 กรกฎาคม 2555.
นันทยา จงใจเทศ. 2549. เกร็ดความรู้เรื่อง ออกซาเลต. กองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. แหล่งข้อมูล: http://goo.gl/2ptr3L. ค้นเมื่อ 4 ตุลาคม 2554.
บุญมี นากรณ์. 2547. การหาปริมาณกรดออกซาลิกในผักพื้นบ้านโดยวิธีตกตะกอนแคลเซียมออกซาเลต. สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี, อุบลราชธานี.
พัชรินทร์ ชนะพาห์. 2554. ปัจจัยเสี่ยงของโรคนิ่วในไต: ประเด็นของสารแคลเซียมและออกซาเลตสงขลานครินทร์ เวชสาร. 29(6): 299-308
อร่าม คุ้มกลาง และวินัย แสงแก้ว. 2543. งานประดิษฐ์คิดค้นผลิตภัณฑ์จากพืชตระกูลเม่า. โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, กรุงเทพฯ.
Charrier, MJS, GP Savage, and L. Vanhanen. 2002. Oxalate content and calcium binding capacity of tea and herbal teas. Asia Pac J Clin Nutr. 11(4): 298-301.
Hönow, R., and H. Albrecht. 2002. Comparison of extraction methods for the determination of soluble and total oxalate in foods by HPLC-enzyme-reactor. Food Chem. 78: 511-521.
Kotecha, P.M., and B.B Desai. 1995. Handbook of Fruit Science and Technology:Production, Composition, Storage and Processing.
Marcel Dekker, Inc., New York.Kriengkrai V., Y. Nakjamanong, K. Judprasong, S. Charoenkiatkul, P. Sungpuag. 2006. Total and soluble oxalate contents in Thai vegetables, cereal grains and legume seeds and their changes after cooking. J. Food Compos Anal. 19: 340-347.
Libert, B., and V. Franceschi. 1987. Oxalate in crop plants. J. Agr. Food Chem. 35: 926-938.
Massey, LK, RG. Palmer, and H. Horner. 2001. Oxalate content of soybean seeds, soyfoods and other edible legumes. J. Agr. Food Chem.49(9): 4262-4266.
Massey LK, and RA. Sutton 2004. Acute caffeine effects on urine consumption and calcium kidney stone risk in calcium stone formers. J. Urol. 172: 555-558.
Medticott, A.P., and A.K Thompson. 1985. Analysis of sugars and organic acid in ripening mango fruit (Mangifera indica L. var. Keitt) by high performance liquid chromatography. JSFA. 36: 561-566.
Noonan, S.C., and G.P. Savage. 1999. Oxalic acid content of foods and its effect on humans. Asia Pac J Clin Nutr. 8(1): 64-74.
Savage, GP, V. Nilzen, K. Osterberg, and L. Vanhanen. 2002. Soluble and insoluble oxalate content of mushrooms. IJNFS. 53(4): 293-6.
Savage, G.P., L. Vanhanen, S.M. Mason, and A.B. Ross. 2000. Effect of cooking on the soluble and insoluble oxalic acid content of some New Zealand foods. J. Food Compos Anal. 13: 201-206.
Wanasundera, J.P.D., and G. Ravindran. 1992. Effects of cooking on the nutrient and antinutrient contents of yam tubers (Dioscorea alata and Dioscorea esculenta). Food Chem. 45: 247-250.
Zhanguo, C., and L. Jiuru. 2002. Simultaneous and determination of oxalic acid, tartaric acid, malic acid, vitamin C, citric acid and succinic acid in Fructus mumeby reversed-phase high-phase high-performance liquid chromatography. JCS. 40(1): 35-39.