ความรู้ และความคิดเห็นต่อการผลิตขมิ้นชันตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) และหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตอาหาร (GMP) ของเกษตรกร อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง

Main Article Content

มณฑิรา สังขจร
พัฒนา สุขประเสริฐ
พนามาศ ตรีวรรณกุล

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ข้อมูลส่วนบุคคลของเกษตรกร 2) ความรู้และความคิดเห็นเกี่ยวกับมาตรฐาน GAP และหลักเกณฑ์ GMP 3) การผลิตขมิ้นชันตามมาตรฐาน GAP และหลักเกณฑ์ GMP 4) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของข้อมูลส่วนบุคคล ความรู้และความคิดเห็นเกี่ยวกับมาตรฐาน GAP และหลักเกณฑ์ GMP กับการผลิตขมิ้นชันตามมาตรฐาน GAP และหลักเกณฑ์ GMP ของเกษตรกร ในพื้นที่อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เกษตรกรผู้ผลิตขมิ้นชัน 104 ราย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ สถิติพรรณนา และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ผลการวิจัย พบว่า 1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 81.7 อายุเฉลี่ย 51.45 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 68.3 มีประสบการณ์ปลูกขมิ้นชันเฉลี่ย 12.45 ปี มีพื้นที่ปลูกขมิ้นชันเฉลี่ย 1.87 ไร่ แรงงานในครัวเรือนผลิตขมิ้นชัน 2 คน ผลผลิตขมิ้นชันเฉลี่ย 1,239.62 กก./ไร่ รายจ่ายเฉลี่ยในการผลิตขมิ้นชัน 5,107.69 บาท/ไร่ รายได้เฉลี่ยจากขมิ้นชัน 22,581.70 บาท/ไร่ เกษตรกรส่วนใหญ่ใช้เงินทุนตนเองในการปลูกขมิ้นชัน ร้อยละ 97.1 และร้อยละ 73.1 เป็นสมาชิกกลุ่มทางการเกษตร 2) เกษตรกรมีความรู้ระดับมากเกี่ยวกับมาตรฐาน GAP และหลักเกณฑ์ GMP โดยมีคะแนนเฉลี่ย 11.01 และ 13.13 ตามลำดับ และเกษตรกรเห็นด้วยระดับมากเกี่ยวกับมาตรฐาน GAP และหลักเกณฑ์ GMP โดยมีค่าเฉลี่ย 2.72 และ 2.91 ตามลำดับ 3) เกษตรกรส่วนใหญ่ ร้อยละ 85.6 ผลิตขมิ้นชันตามมาตรฐาน GAP ในระดับปานกลาง และร้อยละ 54.8 ผลิตขมิ้นชันตามหลักเกณฑ์ GMP ในระดับมาก 4) ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ความคิดเห็นของเกษตรกรเกี่ยวกับมาตรฐาน GAP มีความสัมพันธ์กับการผลิตขมิ้นชันตามมาตรฐาน GAP ดังนั้นหน่วยงานของภาครัฐควรมีการส่งเสริมให้เกษตรกรปฏิบัติตามมาตรฐาน GAP และหลักเกณฑ์ GMP อย่างใกล้ชิดเพื่อให้เกษตรกรมีความเชื่อมั่น ขณะเดียวกันควรมีการใช้ช่องทางจากสื่อเทคโนโลยี เช่น อินเตอร์เน็ต (Internet) เฟสบุ๊ค (Facebook) ไลน์ (Line) เพื่อให้เกษตรกรได้รับข้อมูลเกี่ยวกับการผลิตขมิ้นชันตามมาตรฐาน GAP และหลักเกณฑ์ GMP จากแหล่งข้อมูลสื่อเทคโนโลยีมากขึ้น เพื่อขอการรับรองมาตรฐานต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กระทรวงสาธารณสุข. 2560. ขมิ้นชัน. แหล่งข้อมูล: https://www.dtam.moph.go.th/images/download/dl0021/MasterPlan-Thaiherb_Shot.pdf.pdf. ค้นเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2564.

กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. 2564. ขมิ้นชัน. แหล่งข้อมูล: https://thaicam.go.th/wp- content/uploads/.pdf. ค้นเมื่อ 2 ธันวาคม 2564.

กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. 2559. แผนแม่บทแห่งชาติ ว่าด้วยการพัฒนาสมุนไพรไทย ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2560–2564. แหล่งข้อมูล: https://www.opsmoac.go.th/sustainable_agri-knowledge-files-431291791818. ค้นเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2564.

กรมพัฒนาที่ดิน. 2564. แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก. แหล่งข้อมูล: https://www.ldd.go.th/Agri-Map/Data/S/plg. ค้นเมื่อ 5 ธันวาคม 2564.

กรมส่งเสริมการเกษตร. 2548. สภาพการผลิตและการตลาดขมิ้นชัน. แหล่งข้อมูล: https://tarr.arda.or.th/preview/item. ค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2564.

กรมส่งเสริมการเกษตร. 2559. สถานการณ์การปลูกขมิ้นชัน. แหล่งข้อมูล:http://www.agriinfo.doae.go.th/year59/plant. ค้นเมื่อ 5 ธันวาคม 2564.

จุฑามาศ คนไทย, สาวิตรี รังสิภัทร์ และพิชัย ทองดีเลิศ. 2561. ความต้องการการผลิตผักตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืชอาหาร (GAP) ของเกษตรกร ในอำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี. แก่นเกษตร. 47: 727-738.

ชูลีรัตน์ คงเรือง และอนุวัต สงสม. 2548. การผลิตและการตลาดขมิ้นชัน และผลิตภัณฑ์ ในตำบลลานข่อย อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง. รายงานการวิจัย คณะเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยทักษิณ. สงขลา.

นาวินทร์ แก้วดวง, เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ และภรณี ต่างวิวัฒน์. 2560. การผลิตผักปลอดภัยตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของเกษตรกร ในจังหวัดหนองคาย. แก่นเกษตร. 45: 1590-1596.

พัชระ อุ่นทรัพย์ และสุพัตรา ศรีสุวรรณ. 2557.ความคิดเห็นของเกษตรกรที่มีต่อการผลิตข้าวตามระบบการจัดการคุณภาพการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (จี เอ พี) อำเภอบ้านแพรก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วิทยาศาสตร์เกษตร. 45: 197-200.

มนัญชยา เรืองวงศ์โรจน์. 2558. การปฎิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) ของเกษตรกรผู้ผลิตพืช เทศบาลตำบลเกษตรพัฒนา อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร. ครุศาสตร์อุตสาหกรรม. 14: 18-25.

รัทรดา เทพประดิษฐ์. 2560. การแปรรูปและเพิ่มมูลค่าขมิ้นชันสำหรับกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกขมิ้นชัน. รายงานวิจัย คณะเทคโนโลยีและพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยทักษิณ. พัทลุง.

วิวัฒน์ ภู่พร้อม และศิริวรรณ แดงฉ่ำ. 2554. ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการเกษตรดีที่เหมาะสมของเกษตรกรผู้ปลูกผักในอำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี. ใน: ประชุมวิชาการนานาชาติวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางการเกษตร ครั้งที่ 1 21-22 กรกฎาคม 2554. คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรี, เพชรบุรี.

สุภาภรณ์ สาชาติ. 2558. วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตขมิ้นชันอย่างยั่งยืน. สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร.

สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ. 2561. GAP พืชอาหาร. แหล่งข้อมูล: http://www.acfs.go.th. ค้นเมื่อ 19 กรกฎาคม 2562.

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. 2562. หลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตอาหาร. แหล่งข้อมูล: https://oryor.com. ค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2562.

สำนักส่งเสริมและจัดการสินค้าเกษตร. 2562. แหล่งผลิตขมิ้นชัน. แหล่งข้อมูล: http://www.agriman.doae.go.th/home/2563/47-48.pdf. ค้นเมื่อ 2 ธันวาคม 2564.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. 2562. SME รุกตลาดสมุนไพร. แหล่งข้อมูล: https://www.kasikornbank.com. ค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2563.

อัจฉริย์ บุญยะวันตัง และกอบชัย วรพิมพงษ์. 2561. การยอมรับการผลิตข้าวโพดหวานตามระบบเกษตรดีที่เหมาะสม (GAP) ของเกษตรกร อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล. แก่นเกษตร. 46: 749-754.

Krejcie, R.V. and D.W. Morgan. 1970. Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement. 30: 607-610.