ลักษณะที่เหมาะสมในการคัดเลือกพันธุ์อ้อยในขั้นต้นของการคัดเลือกพันธุ์อ้อยชุดกำแพงแสน 2016
Main Article Content
บทคัดย่อ
การคัดเลือกพันธุ์อ้อยในขั้นต้นส่วนใหญ่มักคัดเลือกจากลักษณะที่เห็นด้วยสายตาเพียงอย่างเดียว ทั้งนี้ การคัดเลือกในขั้นต้นมีจำนวนพันธุ์อ้อยที่ต้องคัดเลือกเป็นจำนวนมาก ซึ่งการคัดเลือกจากลักษณะที่เห็นด้วยสายตาเพียงอย่างเดียวอาจมีโอกาสในการคัดเลือกพันธุ์อ้อยที่มีลักษณะคุณภาพดีทิ้งไปได้ งานวิจัยนี้จึงศึกษาหาลักษณะต่างๆ ของใบ ลักษณะองค์ประกอบผลผลิต และผลผลิตอ้อย ที่มีความสัมพันธ์กับลักษณะคุณภาพต่างๆ เพื่อใช้เป็นลักษณะทางอ้อมในการคัดเลือกพันธุ์อ้อยที่มีการสะสมความหวานไวและสูงใน 3 กลุ่มตัวอย่าง (กลุ่มตัวอย่างอ้อยปลูกและอ้อยตอของการคัดเลือกขั้นที่ 2 และกลุ่มตัวอย่างอ้อยปลูกของการคัดเลือกขั้นที่ 3) มีพันธุ์อ้อยที่ใช้ในการทดสอบทั้งหมด 124 พันธุ์ จาก 8 คู่ผสม ตรวจวัดข้อมูลที่อายุ 8 เดือน โดยตรวจวัด (1) ลักษณะใบ ได้แก่ ความเขียวใบ จำนวนใบสดและใบแห้งต่อลำ ความกว้าง และความยาวใบ พื้นที่ใบต่อลำ (2) องค์ประกอบผลผลิต ได้แก่ ความสูง เส้นผ่านศูนย์กลางลำ จำนวนลำต่อไร่ และผลผลิต และ (3) ลักษณะคุณภาพ ได้แก่ ปริมาณน้ำอ้อย ปริมาณน้ำตาลรีดิวซ์ ค่าซีซีเอส และเปอร์เซ็นต์สุกแก่ จากการศึกษาพบว่า มีลักษณะต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทั้ง 3 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ความเขียวใบมีความสัมพันธ์ทางบวกกับปริมาณน้ำตาลรีดิวซ์ (0.39, 0.27, 0.46) ความสูงอ้อยกับปริมาณน้ำอ้อย (0.38, 0.67, 0.35) และพบความสัมพันธ์ทางลบระหว่างความเขียวใบกับค่าซีซีเอส (-0.20, -0.53, -0.44) จากผลการทดลองจะเห็นได้ว่า ความเขียวใบ และความสูงอ้อยเป็นลักษณะที่สามารถสังเกตได้ด้วยสายตาซึ่งช่วยในการคัดเลือกพันธุ์อ้อยที่มีการสะสมความหวานไวและสูงได้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
เกษม สุขสถาน. 2521. การจัดการไร่อ้อย. ภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
ชูศักดิ์ จอมพุก. 2555. สถิติ: การวางแผนการทดลอง และการวิเคราะห์ข้อมูลในงานวิจัยด้านพืชด้วย “R”. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
สถานีอุตุนิยมวิทยานครปฐม. 2563. ข้อมูลอุตุนิยมวิทยาเกษตร. ค้นเมื่อ 8 พฤษภาคม 2564.
สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย. 2547. การวิเคราะห์คุณภาพอ้อยในด้านงานวิจัย. ใน: เอกสารฝีกอบรม เพื่อพัฒนาเกษตรกรชาวไร่อ้อยให้เป็นผู้นำชาวไร่อ้อยรุ่นที่ 3. 12-17 กรกฎาคม 2547. ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายภาคกลาง, กาญจนบุรี.
สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย. 2563. รายงานสถานการณ์การปลูกอ้อย ปีการผลิต 2562/63. แหล่งที่มา: http://www.ocsb.go.th/upload/journal/fileupload/923-1854.pdf. ค้นเมื่อ 2 พฤษภาคม 2565.
สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย. 2564. รายงานสถานการณ์การปลูกอ้อย ปีการผลิต 2563/64. แหล่งที่มา: http://www.ocsb.go.th/upload/journal/fileupload/923-9200.pdf. ค้นเมื่อ 2 พฤษภาคม 2565.
สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย. มปป. คู่มือแนะนำพันธุ์อ้อย. บริษัท ออนป้า จำกัด, กรุงเทพฯ.
เรวัต เลิศฤทัยโยธิน. 2549. พันธุ์อ้อยของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และการปรับปรุงพันธุ์. ใน: การฝึกอบรมเรื่องการทำไร่อ้อยอย่างมีประสิทธิภาพ “เศรษฐีไร่อ้อย รุ่นที่ 1” 26-27 กันยายน 2549. ศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรี, สุพรรณบุรี.
Ali A., S.A. Khan, M. Tahir, A. Farid, A. Khan, S.M. Khan, and N. Ali. 2019. Clonal selection strategy in sugarcane (Saccharum officinarum L.) based on the association of quality traits and cane yield. The Journal of Animal & Plant Sciences. 29: 889-893.
Das, U.K. 1934. The sugar cane plant: A study of millable cane and sucrose formation. Hawaii Sugar Plant Research. 11: 251-317.
Hogarth, D.M. 1971. Quantitative inheritance studies in sugarcane II. Correlations and predicted responses to selection. Australian Journal of Agricultural Research. 22: 103-109.
Khan I., S. Bibi, S. Yasmin, A. Khatri, N. Seema, and S. Abro. 2012. Correlation studies of agronomic traits for higher sugar yield in sugarcane. Pakistan Journal of Botany. 44: 969-971.
Markwell, J., J.C. Osterman, and J.L. Mitchell. 1995. Calibration of the Minolta SPAD-502 leaf chlorophyll mater. Photosynthesis Research. 46: 467-472.
Nelson, N. 1944. A photometric adaptation of the somogyi method for the determination of glucose. Journal of Biological Chemistry. 153: 375-380.
Singles, A., and R.A. Donaldson. 2000. The effect of row spacing on an irrigated plant crop of sugarcane variety NCo 376. pp. 151-154. In proceedings of South African Sugarcane Research Institute.
Tai, P.Y.P., and J.D. Miller. 1989. Family performance at early stages of selection and frequency of superior clones from crosses among canal point cultivars of sugarcane. Journal of the American Society of Sugar Cane Technologists. 9: 62-70.
Tena E., F. Mekbib, and A. Ayana. 2016. Correlation and path coefficient analyses in sugarcane genotypes of Ethiopia. American Journal of Plant Sciences. 7: 1490-1497.
Thompson, G.D. 1988. The composition of plant and ratoon crops of variety N14 at Pongola. pp. 185-189. In proceedings of South African Sugarcane Research Institute.
Venables, W.N., D.M. Smith, and the R Core Team. 2020. An introduction to R. Available: https://cran.r-project.org/doc/manuals/r-release/R-intro.pdf. Accessed Jun. 10, 2020.