ผลของโซเดียมคลอไรด์ต่อการเจริญและการตอบสนองทางสัณฐานวิทยาของแคลลัสปาล์มน้ำมันลูกผสมพันธุ์ทรัพย์ ม.อ. 1

Main Article Content

ธีรศักดิ์ สุขดี
สมปอง เตชะโต
สุรีรัตน์ เย็นช้อน

บทคัดย่อ

ปาล์มน้ำมันคือพืชที่ให้ผลผลิตน้ำมันสูงได้ตลอดทั้งปี จึงต้องมีการใส่ปุ๋ยบ่อยครั้ง ส่งผลให้สภาพพื้นที่ปลูกมีความเค็มมากขึ้น ดังนั้นการทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของสารโซเดียมคลอไรด์ต่อการเจริญ และพัฒนาการของแคลลัสที่เพาะเลี้ยงในอาหารเหลวสูตร OPCM เติมโซเดียมคลอไรด์ความเข้มข้นต่างๆ (0 50 100 150 200 300 และ 400 มิลลิโมลาร์) ร่วมกับการเติม dicamba ความเข้มข้น 0.1 มิลลิกรัมต่อลิตร และกรดแอสคอร์บิคความเข้มข้น 200 มิลลิกรัมต่อลิตร เป็นเวลา 4 8 และ 12 สัปดาห์ จากการศึกษาพบว่า ที่เวลา 8 สัปดาห์ โซเดียมคลอไรด์ความเข้มข้น 100 มิลลิโมลาร์ มีการพัฒนาโครงสร้างคล้ายราก (root-like structure; RLS) บริเวณผิวแคลลัส และเมื่อเพาะเลี้ยงเป็นเวลา 12 สัปดาห์ ทุกความเข้มข้นของโซเดียมคลอไรด์ให้แคลลัสที่มีโครงสร้างดังกล่าวเพิ่มขึ้นตามความเข้มข้นที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้การเพิ่มความเข้มข้นของโซเดียมคลอไรด์ส่งผลให้จำนวนโนดูลเฉลี่ยลดลง แต่จำนวนโนดูลสีน้ำตาล และอัตราการเกิดสีน้ำตาลเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามการเจริญเติบโตของแคลลัสลดลงเป็นลำดับโดยเฉพาะความเข้มข้นโซเดียมคลอไรด์สูงกว่า 200 มิลลิโมลาร์เป็นต้นไป สรุปได้ว่าเซลล์ของปาล์มน้ำมันในหลอดทดลองไม่สามารถทนความเค็มของเกลือโซเดียมคลอไรด์ที่ความเข้มข้นเกินกว่า 200 มิลลิโมลาร์ได้

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

เชฐชุดา เชื้อสุวรรณ. 2561. แนวโน้มธุรกิจ/อุตสาหกรรม ปี 2561-63: อุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม. วิจัยกรุงศรี. แหล่งข้อมูล: https://www.krungsri.com/bank/getmedia/ac57ec39-c8ab-4546-8c485dfde9e45328/IO_Oil_Palm_2018_ TH.aspx. ค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2561.

ณรงค์ฤทธิ์ อดุลย์ฐานานุศักดิ์ และลัดดา ธรรมวิทยสกุล. 2561. อุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันไทย: ในบริบทใหม่ที่ท้าทาย. แหล่งข้อมูล: https://www.bot.or.th/Thai/MonetaryPolicy/Southern/DocLib/ palm_minisym.pdf. ค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2561.

ทวิพร แก้วเนรมิตร และนุชนาถ วุฒิประดิษฐกุล. 2557. ผลของภาวะเค็มต่อการเจริญเติบโตและรงควัตถุที่ใช้ในการสังเคราะห์ด้วยแสงในข้าวทรานสเจนิกพันธุ์ขาว ดอกมะลิ 105 ที่มีการแสดงออกของยีน OsCaM1-1 เกินปกติ. Veridian E-Journal Science and Technology Silpakorn University. 1: 11-18.

ธีระ เอกสมทราเมษฐ์. 2554. การปรับปรุงพันธุ์ปาล์มน้ำมัน. ภาควิชาพืชศาสตร์ คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา.

นวรัตน์ อุดมประเสริฐ. 2558. สรีรวิทยาของพืชภายใต้สภาวะเครียด. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

ฝนทิพย์ หนูทอง. 2557. ผลของสภาวะเครียดจากความเค็มต่อแอกติวิตีของเอนไซม์ต้านออกวิเดชันในประชากรข้าว CSSL. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 2561. ปาล์มน้ำมัน “พันธุ์ทรัพย์ ม.อ.”. แหล่งข้อมูล: http://www.rdi.ku.ac.th ค้นเมื่อ 3 สิงหาคม 2561.

สุมาลี ชูกำแพง. 2555. พืชในสภาวะเครียดเกลือ. พฤกษศาสตร์ไทย. 4: 15-24.

อภิชญา นุกูลรัตน์. 2560. ผลของสูตรอาหาร กรดแอสคอร์บิค และแหล่งคาร์บอนต่อการชักนำและการพัฒนาของโซมาติกเอ็มบริโอปาล์มน้ำมันพันธุ์ทรัพย์ ม.อ. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา.

Al-khayri, J. M. 2002. Growth, proline accumulation, and ion content in sodium chloride-stressed callus of date palm. In Vitro Cellular and Developmental Biology-Plant. 38: 79-82.

Atabaki, N., R. Nulit, N. Kalhori, N. Lasumin, M. Sahebi, and R. Abiri. 2018. In vitro selection and development of Malaysian salt-tolerant rice (Oryza sativa L. Cv. MR263) under salinity. Acta Scientific Agriculture. 2: 08-17.

Hanson, A. D., B. Rathinasabapathi, J. Rivoal, M. Burnet, M. O. Dillon, and D. A. Gage. 1994. Osmoprotective compounds in the Plumbaginaceae: A natural experiment in metabolic engineering of stress tolerance. p. 306-310. In: Proceedings of the National Academy of Sciences. January, 1994, USA.

Ni, J., Yang, X., Zhu, J., Liu, Z., Ni, Y., Wu, H., Zhang, H. and Liu, T. 2015. Salinity-induced metabolic profile changes in Nitraria tangutorum Bobr. Suspension cells. Plant Cell, Tissue and Organ Culture. 122: 239-248.

Niknam, V., A. A. Meratan, and S. M. Ghaffari. 2011. The effect of salt stress on lipid peroxidation and antioxidative enzymes in callus of two Acanthophyllum species. In Vitro Cellular and Developmental Biology – Plant. 47: 297–308.

Qados, A. M. S. A. 2011. Effect of salt stress on plant growth and metabolism of bean plant Vicia faba (L.). Journal of the Saudi Society of Agricultural Sciences. 10: 7–15.