การวิเคราะห์ประสิทธิภาพทางเทคนิคของเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาช่อนในจังหวัดอ่างทอง
Main Article Content
บทคัดย่อ
จังหวัดอ่างทอง เป็นหนึ่งในจังหวัดพื้นที่นำร่องของรัฐบาลในการสนับสนุนการเลี้ยงปลาช่อน แต่พบว่าเกษตรกรจังหวัดอ่างทองมีการใช้ต้นทุนในการเลี้ยงค่อนข้างสูง และประสบปัญหาด้านตลาดที่มีราคาขายค่อนข้างต่ำ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.ศึกษารูปแบบการเลี้ยงปลาช่อนในจังหวัดอ่างทอง และ 2.ศึกษาประสิทธิภาพทางเทคนิคในการเลี้ยงปลาช่อนในจังหวัดอ่างทอง ด้วยวิธีการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจงจากเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาช่อนจำนวน 18 ราย โดยการสัมภาษณ์ด้วยแบบสอบถาม และนำข้อมูลมาวิเคราะห์ประสิทธิภาพทางเทคนิคด้วย DEA ผลการศึกษาพบว่า ภายใต้ข้อสมมติผลได้ต่อขนาดคงที่ (CRS) และผลได้ต่อขนาดผันแปร (VRS) มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.862 และ 0.960 ตามลำดับ ในส่วนของผลการวิเคราะห์ประสิทธิภาพด้านขนาด (SE) พบว่ามีเกษตรกร 9 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 50.00 ของเกษตรกรในพื้นที่ที่มีขนาดการผลิตที่เหมาะสม ส่วนเกษตรกรอีก 9 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 50.00 ยังมีขนาดการผลิตที่เล็กเกินไป ดังนั้นการที่จะทำให้เกษตรกรมีประสิทธิภาพการผลิตมากขึ้น จะต้องลดปัจจัยการผลิตลง ซึ่งปัจจัยที่เกษตรกรควรคำนึงมากที่สุด คือ แรงงาน พื้นที่บ่อ และความหนาแน่นในการปล่อย ตามลำดับ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 2562. สถิติผลผลิตการเลี้ยงสัตว์นํ้าจืด ประจําปี 2560. กรุงเทพฯ.
กุลภา กุลดิลก, อัจฉรา ปทุมนากุล, รวิสสาข์ สุชาโต, ณัฐพล พจนาประเสริฐ, กาญจนรี พงษ์ฉวี และรัฐภัทร ประดิษฐ์สรรพ์. 2563.
การวิเคราะห์โซ่อุปทานของปลานช่อนในประเทศไทย. รายงานการวิจัยและการพัฒนาการวิจัยการเกษตรฉบับสมบูรณ์ (POP6207011050). สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.) กรุงเทพฯ.
ธนิศฐ์สรณ์ คันธกมลมาศ, กุลภา กุลดิลก และณัฐพล พจนาประเสิรฐ. 2563. การวัดประสิทธิภาพทางเทคนิคของการ เลี้ยงปลาช่อนในจังหวัดกำแพงเพชร. หน้า 233-242. การประชุมวิชาการระดับชาติ. มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล.
วินัย จั่นทับทิม, ประเสริฐ สิงห์สุวรรณ, วรรณา ถวิลวรรณ์, พิเชต พลายเพชร, พลพัฒน์ พิมาลัย และปยะพจน์ เบราวะนะกุล. 2560. รายงานการวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงปลาช่อน. สถาบันการวิจัยเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด กองวิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด กรมประมง. สนับสนุนโดยสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน).
Athipanyakul, T. 2018. Sugarcane production efficiency of small-scale farmers in Thailand. International Sugar Journal. 470-474.
Banker, R.D., A. Charnes, and W.W. Cooper. 1984. Some models for estimate technical and scale inefficiencies in data envelopment analysis. Management Science. 30(9): 1078-1092.
Charnes, A., W.W. Cooper, and E. Rhodes. 1978. Measuring the efficiency of decision making units. European Journal of Operational Research. 2: 429-444.
Coelli, T.J. 1996. A Guide to DEAP Version 2.1: A Data Envelopment Analysis (Computer) Program. CEPA Working Papers Department of Econometrics. University of New England, Armidale.
Farrell, M.J. 1957. The measurement of productive efficiency. Journal of Royal Statistical Society. 120: 253-290.
Iliyasu, A., Z.A. Mohamed, and R. Terano. 2016. Comparative analysis of technical efficiency for different production culture systems and species of freshwater aquaculture in Peninsular Malaysia. Aquaculture Reports. 3: 51-57.
Krasachat, W. 2001. Performance measurement of the Thai oil palm farms: a non-parametric approach. Songklanakarin Journal. 763-769.
Ogundari, K., and O.O. Akinbogun. 2010. Modeling technical efficiency with production risk: A study of fish farms in Nigeria. Marine Resource Economics. 25(2): 295-308.
Raab, R., and R. Lichty. 2002. Identifying sub-areas that comprise a greater metropolitan area: the criterion of country relative efficiency. Journal of Regional Science. 42(3): 579-594.