ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับเครื่องเกี่ยวนวดข้าวของเกษตรกร อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร

Main Article Content

อรวรรณ ศรีโสมพันธ์
ชนากานต์ สร้อยเพชร
สุรศักดิ์ บุญแต่ง

บทคัดย่อ

การใช้เครื่องจักรกลการเกษตรทดแทนแรงงานคนส่งผลให้ประสิทธิภาพการผลิตเพิ่มขึ้น ลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มรายได้ของเกษตรกร แม้ว่าปัจจุบันเกษตรกรผู้ปลูกข้าวส่วนใหญ่ของไทยจะใช้รถเกี่ยวนวดข้าว แต่ยังมีเกษตรกรบางส่วนในจังหวัดสกลนครที่ยังไม่ยอมรับการใช้รถเกี่ยวนวด ดังนั้น การศึกษาในครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับเครื่องเกี่ยวนวดข้าวของเกษตรกรในอำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร โดยใช้ข้อมูลจากการสัมภาษณ์เกษตรกรตัวอย่างจำนวน 146 ราย ผลการประมาณค่าแบบจำลอง พบว่า ตัวแปรอิสระในแบบจำลองสามารถอธิบายการเปลี่ยนแปลงการตัดสินใจยอมรับเครื่องเกี่ยวนวดข้าวได้ร้อยละ 46.32 สำหรับผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับเครื่องเกี่ยวนวดข้าว พบว่า ระดับการศึกษา ขนาดพื้นที่เพาะปลูก ทัศนคติด้านสุขภาพ ทัศนคติด้านเศรษฐกิจ และทัศนคติด้านกายภาพมีอิทธิพลต่อความน่าจะเป็นของการยอมรับเครื่องเกี่ยวนวดข้าวของเกษตรกรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ข้อเสนอแนะหลักจากผลการศึกษา ได้แก่ 1) การส่งเสริมเครื่องเกี่ยวนวดข้าวควรมีเป้าหมายหลักในกลุ่มเกษตรกรที่มีระดับการศึกษาต่ำ เนื่องจากการเข้าถึงและความสามารถในการยอมรับเทคโนโลยีน้อยกว่ากลุ่มอื่น 2) การพัฒนาเครื่องเกี่ยวนวดข้าวควรให้ความสำคัญกับปัจจัยด้านคุณภาพข้าวเป็นหลัก 3) หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องควรส่งเสริมให้มีแปลงนาสาธิตเพื่อเปรียบเทียบผลผลิตและผลตอบแทนจากการเก็บเกี่ยวข้าวด้วยเครื่องเกี่ยวนวดและการใช้แรงงานคน ซึ่งจะช่วยสนับสนุนการตัดสินใจยอมรับเครื่องเกี่ยวนวดข้าวในพื้นที่ได้มากขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

เขมชาติ ปัญจมทุม, พลสราญ สราญรมย์ และสุนันท์ สีสังข์. 2560. การส่งเสริมการใช้เครื่องจักรกลการเกษตรในการผลิตสับปะรดของเกษตรกรในอำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี. น. 3860-3867. ใน: การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 14 เรื่องตามรอยพระยุคลบาท เกษตรกำแพงแสน 7-8 ธันวาคม 2560. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกําแพงแสน, นครปฐม.

ชมพูนุช นันทจิต. 2559. ความแตกต่างในการลงทุนของธุรกิจรถเกี่ยวนวดข้าวรับจ้างภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือประเทศไทย. แก่นเกษตร. 44: 59-65.

ธีระดา ภิญโญ. 2562. การศึกษาการรายงานผลการวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติคสำหรับงานวิจัย. Humanities, Social Sciences and Arts. 12: 544-558.

พัชราภรณ์ เพ็ชรทอง. 2552. การยอมรับการปฏิบัติตามระบบการผลิตทางการเกษตรที่ถูกต้องและเหมาะสมสำหรับเงาะของเกษตรกร อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วิทยานิพนธ์ ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. สงขลา.

พิสุทธิพันธ์ กิตติชัยณรงค์, รุ่งโรจน์ พิทักษ์ด่านธรรม และสุวรรณา ประณีตวตกุล. 2559. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการยอมรับเทคโนโลยีปุ๋ยสั่งตัดโดยเกษตรกรผู้นำผู้ปลูกข้าว ในตำบลหนองกุลา อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก. น. 1080 - 1088. ใน: การประชุมวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ครั้งที่ 54 สาขาส่งเสริมการเกษตรและคหกรรมศาสตร์ 2-5 กุมภาพันธ์ 2559. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน, กรุงเทพฯ.

ยุทธ ไกยวรรณ. 2555. หลักการและการใช้การวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติคสำหรับการวิจัย. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย. 4: 1-12.

ยุพิณพรรณ ศิริวัธนนุกูล, ยุทธนา ศิริวัธนานุกูล, มงคล หลิม และอำมร อินนุรักษ์. 2550. การยอมรับเทคโนโลยีด้านการจัดการสวนลองกองของเกษตรกรในอำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส. วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ. 10: 33-49.

วันทนีย์ แสนภักดี. 2560. การวิจัยตลาด. แหล่งข้อมูล: http://management.aru.ac.th/mnge/images/pdf/e-book/wanthanee/marketing/chapter7.pdf. ค้นเมื่อ 25 มีนาคม 2564.

วิวัฒน์ ภูพร้อม และศิริวรรณ แดงฉ่ำ. 2554. ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการเกษตรดีที่เหมาะสมของเกษตรกรผู้ปลูกผัก ในอำเภอ

โพธาราม จังหวัดราชบุรี. น.1-11. ใน: การประชุมวิชาการนานาชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางการเกษตร ครั้งที่ 1 สาขาวิชาเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรเพื่อการพัฒนา 21-22 มกราคม 2554. มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, เพชรบุรี.

ศุภชัย สุทธิเจริญ, อาชา ศรีวิชา และอรวรรณ ศรีโสมพันธ์. 2563. การตัดสินใจขอใบรับรองอินทรีย์ของเกษตรกรผู้ปลูกผักในจังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร. 37: 90-100.

สมพร อิศวิลานนท์. 2561. ระบบการผลิตข้าวของไทยทำไมต้องปฎิรูปและปฏิรูปอย่างไร. แหล่งข้อมูล: https://www.slideshare.net/sompornisvilanonda1/thailand-rice-production-reform. ค้นเมื่อ 2 ตุลาคม 2563.

สมพร อิศวิลานนท์. 2562. มองอนาคตข้าวไทยผ่านตลาดการค้าข้าวโลก. แหล่งข้อมูล: http://www.ricethailand.go.th/web/images/brps_rd/seminar/11-09-62/1.market_world.pdf. ค้นเมื่อ 2 ตุลาคม 2563.

สาโรจน์ อังศุมาลิน และนุกูล ยืนยง. 2560. ธุรกิจการผลิตและการรับจ้างรถเกี่ยวนวดข้าวในพื้นที่ภาคกลางของประเทศไทย. กรุงเทพฯ : สํานักงานกองทนสนุนการวิจัย (สกว.).

สายสกุล ฟองมูล. 2563. ผลกระทบจากการขาดแคลนแรงงานภาคการเกษตร ที่มีผลต่อความมั่นคงทางด้านอาหารในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร. 37: 118-125.

สำนักงานส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดสกลนคร. 2564. สภาพทั่วไปของจังหวัดสกลนคร. แหล่งข้อมูล: http://www.sakonlocal.go.th/page.php?id=1664. ค้นเมื่อ 9 มกราคม 2564.

สำนักงานเลขาธิการ สภาผู้แทนราษฎร. 2557. การปฏิรูปชาวนาไทย. แหล่งข้อมูล: https://library2.parliament.go.th/ebook/content-issue/2557/hi2557-003.pdf. ค้นเมื่อ 2 ตุลาคม 2563.

โสมรัศมิ์ จันทรัตน์, วิษณุ อรรถวานิช และบุญธิดา เสงี่ยมเนตร. 2561. จุลทรรศน์ภาคเกษตรไทยผ่านข้อมูล ทะเบียนเกษตรกรและ

สำมะโนเกษตร. แหล่งข้อมูล: https://www.pier.or.th/wp-content/uploads/2018/05/aBRIDGEd_2018_009.pdf.

ค้นเมื่อ 9 มกราคม 2564.

อรรถศาสตร์ วิเศียรศาสตร์ และสุจินต์ สิมารักษ์. 2556. ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการรถแทรกเตอร์ขนาดกลางของ เกษตรกรในตำบลน้ำอ้อม อำเภอกระนวน จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น. (บัณฑิตศึกษา). 13: 14-26.

อินทา จันธาวงศ์, พุฒิสรรค์ เครือคำ, พหล ศักดิ์คะทัศน์ และนคเรศ รังควัต. 2561. ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีการปลูกข้าวภายใต้ระบบเกษตรดีที่เหมาะสมของเกษตรกร อำเภอจำพอน จังหวัดสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร. 36: 106-117.

เอกรัตน์ ศรีวิรัตน์. 2545. ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการปลูกผักปลอดสารพิษของเกษตรกรมนจังหวัดสงขลา. การค้นคว้าแบบอิสระ ปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่.

Akram, N., M.W. Akram, and W. Hongshu. 2020. Study on the socioeconomic factors affecting adoption of agricultural machinery. Journal of Economics and Sustainable Development. 11: 68-80.

Alexander, K.S., G. Greenhalgh, and M. Moglia. 2020. What is technology adoption? Exploring the agricultural research value chain for smallholder farmers in Lao PDR. Agriculture and Human Values 37: 17–32.

Augustine, L.S., and M. Mulugetta. 2008. Assessing the influence of neighborhood effects on the adoption of improved agricultural technologies in developing agriculture. African Journal of Agricultural and Resource Economics. 2: 1-19.

Bakar, T.H.S., N. Man, N.M. Nawi, J.A. Shah, N. Muhamad, and M.M. Nor. 2020. Factors explaining post-harvest practices adoption among fruit farmers in Johor. The 2nd International Conference on Tropical Resources and Sustainable Sciences. 549: 012095. doi:10.1088/1755-1315/549/1/012095.

Chandio, A.A., and Y.S. Jiang. 2018. Determinants of adoption of improved rice varieties in northern Sindh, Pakistan. Rice Science. 25: 103-110.

Daberkow, S. G., and W.D. McBride. 2003. Farm and operator characteristics affecting the awareness and adoption of precision agriculture technologies in the US. Precision Agriculture. 4: 163-177.

Dadzie, S.K.N., Ndebugri, J., and E.W. Inkoom. 2022. Social networking and risk attitudes nexus: implication for technology adoption among smallholder cassava farmers in Ghana. Agricultural and Food Security. 11 (41): 1-24.

Ebers, A., T.T. Nguyen, and U. Grota. 2017. Production efficiency of rice farms in Thailand and Cambodia: A comparative analysis of Ubon Ratchathani and Stung Treng provinces. Paddy Water and Environment. 15: 79-92.

Ghimire, S., M. Mehar, and S. Mittal. 2012. Influence of sources of seed on varietal adoption behavior of wheat farmers in Indo-Gangetic Plains of India. Agricultural Economics Research Review. 25: 399-408.

Hasan, K. S. Takashi, T. Tanaka, M. Alam, R. Ali, C.K. Saha. 2020. Impact of modern rice harvesting practices over traditional ones. Review in Agricultural Science. 8: 89-108.

Hiroki, U., and M, Ashok. 2010. Can Education Be a Barrier to Technology Adoption?. In Proceeding of 2010 Annual Meeting, July 25-27, Agricultural and Applied Economics Association, Denver, Colorado, Available: https://EconPapers.repec.org/RePEc:ags:aaea10:61630. Accessed May. 2, 2022.

Isvilanonda, S., and S. Wattanutchariya. 1994. Modern variety adoption, factor-price differential, and income distribution, Thailand. In: David, C.C. and Otsuka, K. (Eds.) Modern Rice Technology and Income Distribution in Asia. Lynne Rienner, Colorado, USA.

Jongdoen, S., W. Anupong, and P.K. Chung. 2020. Factors Affecting the Decision of Using Machinery for Harvesting Products of Rice Farmers in Chiang Rai Province. American Journal of Biomedical Science and Research. 10: 65-72.

Lambe, S. P., P.K. Wakle, and A.S. Gomase. 2014. Attitude of farmers towards use of combine harvester. Indian Journal of Extension Education. 50: 93-95.

Phi, H.D., P.H. Dinh, and M.B. Quang. 2021. Factors Influencing New Technology Adoption Behaviors of Rice Farmers: Binary Logistic Regression Model Approach. International Journal of Business and Management Review. 9: 54-71.

Praweenwongwuthi, S., S. laohasiriwong, and A.T. Rambo. 2009. Impacts of adoption of rice combine harvesters on the economic and social conditions of farmers in Tung Kula Ronghai. Khon Kaen Agricultural Journal. 37: 349-356.

Poungchompu, S., and S. Chantanop. 2016. Economic aspects of rice combine harvesting service for farmer in Northeast Thailand. Asian Social Science. 12: 201-211.

Singh, G., 2006. Estimate of mechanization index and its impact on production and economics factors – a case study in India. Bio-System Engineer. 93: 99-106.