ผลกระทบของความแปรปรวนทางสภาพภูมิอากาศต่อการผลิตอ้อยน้ำตาลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนของประเทศไทย

Main Article Content

จักรกฤษณ์ พจนศิลป์
ธนาภรณ์ อธิปัญญากุล
ชมพูนุช นันทจิต

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบต้นทุนและผลตอบแทนจากการผลิตอ้อยกับพืชทางเลือก และวิเคราะห์ผลกระทบของความแปรปรวนทางสภาพภูมิอากาศต่อปริมาณผลผลิตและพื้นที่ปลูกอ้อย โดยใช้ข้อมูลปฐมภูมิจากการสัมภาษณ์ครัวเรือนเกษตรกร 421 ครัวเรือน ประกอบกับข้อมูลทุติยภูมิด้านภูมิอากาศมาประยุกต์ใช้กับการวิเคราะห์ต้นทุนผลตอบแทน แบบจำลองการเจริญเติบโตของพืช และแบบจำลองคณิตศาสตร์ที่เป็นจริง ผลการศึกษาพบว่าโดยเฉลี่ยเกษตรกรผู้ปลูกอ้อยได้รับรายได้เหนือต้นทุนผันแปรเงินสดประมาณ 1,496.26 บาท/ไร่ ในขณะที่พืชทางเลือก คือ ข้าวนาปี ข้าวนาปรัง และมันสำปะหลังได้รับกำไรที่สูงกว่า ทั้งนี้เกิดจากการผลิตอ้อยมีต้นทุนผันแปร (เช่น แรงงาน) สูงว่าพืชทดแทนชนิดอื่น เมื่อพิจารณาเกษตรกรผู้ปลูกอ้อยตามขนาดพื้นที่ปลูกพบว่าเกษตรกรรายเล็กขาดทุน เมื่อคำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศด้วยแบบจำลองการเจริญเติบโตของพืชทำให้ทราบว่า ปีที่มีสถานการณ์เอลนีโญรุนแรงจะส่งผลต่อผลผลิตต่อไร่ของอ้อย และข้าวนาปรัง ร้อยละ 7.2 และ 6.7 ตามลำดับเมื่อเทียบกับผลผลิตในปีการผลิต 2561/62 ผลการวิเคราะห์จากแบบจำลองคณิตศาสตร์ที่เป็นจริง พบว่า ถ้าเกิดสถานการณ์ปีเอลนีโญ และเอลนีโญรุนแรง ไม่เพียงแต่จะส่งผลต่อผลผลิตต่อไร่ที่เกษตรกรได้รับ แต่จะส่งผลต่อเนื่องให้มีพื้นที่เพาะปลูกอ้อยในพื้นที่การศึกษาลดลงด้วย การที่ผลผลิตต่อไร่และพื้นที่ปลูกที่ลดลงร่วมกันนี้ส่งผลต่อผลผลิตอ้อยน้ำตาลในภาพรวมของทั้งพื้นที่การศึกษาที่ระดับร้อยละ 7-19 การศึกษานี้มีข้อเสนอแนะให้เกษตรกรรายเล็กจัดการต้นทุนให้มีการประหยัดต่อขนาดด้วยการรวมกลุ่ม หรือพิจารณาเปลี่ยนไปปลูกพืชทางเลือก หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรสนับสนุนให้เกษตรกรมีการประกันภัยพืชผลเพื่อลดความเสียหายจากความแปรปรวนสภาพอากาศจากฝนทิ้งช่วงมากขึ้น โรงงานน้ำตาลควรสนับสนุนระบบการชลประทานให้แก่เกษตรกรเพื่อลดความเสี่ยงจากการขาดวัตถุดิบอ้อยในอนาคต

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กรมพัฒนาที่ดิน. 2558. เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจอ้อยโรงงาน. กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน, กรมพัฒนาที่ดิน, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

กรมพัฒนาที่ดิน. 2560. ข้อมูลสารสนเทศทางภูมิศาสตร์รายจังหวัดปี 2560. แหล่งข้อมูล: https://www.ldd.go.th/www/lek_web/web.jsp?id=17868. ค้นเมื่อ 10 กันยายน 2562.

กรมอุตุนิยมวิทยา. 2562. ข้อมูลภูมิอากาศสถานีอุตุนิยมวิทยาจังหวัดขอนแก่น ปี 2494 - 2561. แหล่งข้อมูล: http://www.khonkaen.tmd.go.th/Home.php. ค้นเมื่อ 15 กันยายน 2562.

กลุ่มวิชาการและสารสนเทศอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล. 2559. รายงานพื้นที่ปลูกอ้อยปีการผลิต 2558/59. สำนักนโยบายอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย, สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย.

เกริก ปั้นเหน่งเพ็ชร, วินัย ศรวัต, สมชาย บุญประดับ, สุกิจ รัตนศรีวงษ์, สหัสชัย คงทน, สมปอง นิลพันธ์, อิสระ พุทธสิมมา, ปรีชา กาเพ็ชร, แคทลิยา เอกอุ่น, วิภารัตน์ ดำริเข้มตระกูล, ชิษณุชา บุดดาบุญ และกิ่งแก้ว คุณเขต. 2552. ผลกระทบของภาวะโลกร้อนต่อการผลิต ข้าว อ้อย มันสำปะหลัง และข้าวโพดของประเทศไทย. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์เสนอสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

จักรกฤษณ์ พจนศิลป์, อภิชาต ดะลุณเพธย์, อุชุก ด้วงบุตรศรี, สุภาวดี โพธิยะราช, จุลมณี ไพฑูรย์เจริญลาภ, เกวลิน มะลิ, อังศุธร เถื่อนนาดี, ชลิต อำนวย, สุนทร เหมทานนท์, พรศิริ เสนากัสป์, อรชุรณ์ สารพินิจ, ขจร เราประเสริฐ, ธนันท์ หาญเกริกไกร, รวิสสาข์ สุชาโต, ณัฐพล พจนาประเสริฐ และอัจฉรา ปทุมนากูล. 2559. ศักยภาพทางเศรษฐกิจสังคมของการผลิตอ้อยในพื้นที่ปลูกข้าวที่ไม่เหมาะสม. รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์เสนอสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

ธีระพล ตั๊งสมบุญ. 2549. เอกสารประกอบการบรรยายหลักสูตรการปรับปรุงระบบการจัดการน้ำด้านเกษตรชลประทาน เรื่อง การใช้น้ำของพืช: สำนักอุทกวิทยาและบริหารน้ำ, กรมชลประทาน.

บรรลุ พุฒิกร, ศานิต เก้าเอี้ยน และเอื้อ สิริจินดา. 2549. เศรษฐศาสตร์การผลิตทางการเกษตร. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ.

สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย. 2560. รายงานการผลิตอ้อยและน้ำตาลทรายฉบับปิดหีบ ปีการผลิต 2559/60: สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย, กระทรวงอุตสาหกรรม.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2560. ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร. แหล่งข้อมูล: http://www.oae.go.th. ค้นเมื่อ 20 มกราคม 2561.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. 2561. การสำรวจข้อมูลพื้นฐานของครัวเรือน พ.ศ. 2561. แหล่งข้อมูล: http://www.nso.go.th/sites/2014/Pages/home.aspx. ค้นเมื่อ 21 มกราคม 2561.

สำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร. 2559. สถานการณ์สินค้าเกษตรและแนวโน้ม ปี 2559. แหล่งข้อมูล: http://www.oae.go.th/download/document_tendency/journalofecon2559.pdf. ค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2560.

Apata, T.G., K.D. Samuel, and A.O. Adeola. 2009. Analysis of climate change perception and adaptation among arable food crop farmers in south western nigeria. Contributed Paper prepared for presentation at the International Association of Agricultural Economists’ 2009 Conference 16-22 August 2009. Beijing, China.

Cooper, D.R., and P.S. Schindler. 2006. Business research methods. 9th edition. New York: McGraw-Hill Companies, Inc.

Cortignani, R., and S. Severini. 2009. Modeling farm-level adoption of deficit irrigation using positive mathematical programing. Agricultural Water Management. 96: 1785-1791.

Dabbert, S. 2008. Positive mathematical programming. Handout document for Advance Resource Management course, University of Hohenheim, Germany.

FAO. 1998. Crop evapotranspiration - Guidelines for computing crop water requirements: Water Resources, Development and Management Service, FAO.

FAO. 1998. CropWat for Windows: User Guide. Rome, Italy: Land and Water Development Division, FAO.

Gibbons, J.M., and S.J. Ramsden. 2008. Integrated modelling of farm adaptation to climate change in east anglia, uk: Scaling and farmer decision making. Agriculture, Ecosystems & Environment. 127(1-2): 126-134.

Golden Gate Weather Services. 2018. El niño and la niña years and intensities. Available: http://www.cpc.noaa.gov/products/analysis_monitoring/ensostuff/ensoyears.shtml. Accessed Sep 12, 2018.

Henseler, M., T. Krimly, and A. Wirsig. 2006. An agro-economic production model for a middle european river basin – first results of cap reform scenario calculations. Selected paper presented at the International Association of Agricultural Economists Conference, Gold Coast, Australia, August 12-18, 2006.

Hiangrat, R. 2016. Thai sugar industry: Challenges, trends and current development affecting the industry. Presentation at Cash Crop Conference 2016, 30 June 2016, Bangkok, Thailand.

Howitt, R.E. 1995. Positive mathematical programming. Agricultural & Applied Economics Association. 77(2): 329-342.

Judez, L., and J.M. de Miguel. 2002. Modeling crop regional production using positive mathematical programming. Mathematical and Computer Modelling. 35: 77-86.

Karanja, F.K. 2006. Cropwat model analysis of crop water use in six districts in kenya. CEEPA Discussion Paper No. 35, CEEPA, University of Pretoria.

Krol, M.S., and A. Bronstert. 2007. Regional integrated modelling of climate change impacts on natural resources and resource usage in semi-arid northeast brazil. Environmental Modelling & Software. 22(2): 259-268.

Molua, E.L. 2009. An empirical assessment of the impact of climate change on smallholder agriculture in cameroon. Global and Planetary Change. 67: 205-208.

Nantajit, C., and C. Potchanasin. 2018. Impacts of a Litchi’s marketing alternative policy on land use change in upstream and downstream agricultural area. Kasetsart Journal of Social Sciences. 39: 660-673.

Naruchaikusol, S. 2016. "Climate Change and its impact in Thailand: A short overview on actual and potential impacts of the changing climate in Southeast Asia." TransRe Fact Sheet, vol. 2.

Nelson, G.C., M.W. Rosegrant, J. Koo, R. Robertson, T. Sulser, T. Zhu, C. Ringler, S. Msangi, A. Palazzo, M. Batka, M. Magalhaes, R. Valmonte-Santos, M. Ewing, and D. Lee. 2009. Climate change: Impact on agriculture and costs of adaptation. International Food Policy Research Institute (IFPRI). International Food Policy Research Institute (IFPRI).

Schreinemachers, P. 2010. Lecture note on the analysis of climate change impact on agriculture: IPAAE, Kyushu University.

Smith, M. 1992. Cropwat a computer program for irrigation planning and management. FAO Irrigation and Drainage Paper, no. 46. Food and Agriculture Organization of the United Nations.

Sriroth, K. 2016. Thai crop production where is it heading to?. Presentation at Cash Crop Conference 2016, 30 June 2016, Bangkok, Thailand.

Umstaetter, J. 1999. Calibrating regional production models using positive mathematical programming. Aachen: Shaker Verlag.

Valdes, C., C. Arriola, A. Somwaru, and J.G. Gasques. 2010. Brazil’s climate adaptation policies: Impacts on agriculture. Contributed Paper at the IATRC Public Trade Policy Research and Analysis Symposium 27–29 June 2010. Stuttgart, Germany.