ผลของวันปลูกต่อผลผลิตข้าวสาลีสายพันธุ์ดีเด่นในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่และแม่ฮ่องสอน

Main Article Content

สิปปวิชญ์ ปัญญาตุ้ย
สาธิต ปิ่นมณี
สุมาลี มีปัญญา
นิพนธ์ บุญมี
อาทิตยา ยอดใจ
นงนุช ประดิษฐ์
สุรพล ใจวงศ์ษา
วาสนา วิรุญรัตน์
สุธีระ เหิมฮึก
เนตรนภา อินสลุด

บทคัดย่อ

ข้าวสาลีเป็นพืชที่มีพันธุกรรมที่หลากหลายทำให้มีการใช้ประโยชน์ที่แตกต่างกัน โดยมีลักษณะดีเด่นที่ถูกปลูกและคัดเลือกในประเทศไทย แต่ละสายพันธุ์มีความต้องการสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมแตกต่างกัน การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดวันปลูกที่เหมาะสมสำหรับข้าวสาลีที่มีลักษณะดีเด่นแต่ละสายพันธุ์ที่ปลูกในแต่ละพื้นที่ โดยปลูกทดสอบในวันปลูกที่ต่างกัน 4 ช่วง ประกอบด้วย 1) กลางเดือนพฤศจิกายน 2) ต้นเดือนธันวาคม 3) กลางเดือนธันวาคม และ 4) ต้นเดือนมกราคม จำนวน 12 สายพันธุ์/พันธุ์ ในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย 4 พื้นที่ ประกอบด้วย 1) บ้านศรีดอนชัย ตำบลเวียงเหนือ อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน 2) บ้านป่าบงเปียง ตำบลช่างเคิ่ง อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ 3) ศูนย์วิจัยข้าวสะเมิง อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ และ 4) บ้านทุ่งหลวง ตำบลแม่วิน อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ ผลการศึกษาพบว่า พื้นที่ดอนอาศัยน้ำฝน บ้านศรีดอนชัยควรปลูกพันธุ์/สายพันธุ์ PMPBWS89013, LARTC-W89011 และ Samerng 2 ในช่วงกลางเดือนพฤศจิกายน พื้นที่สูงอาศัยน้ำฝน (800-1,000 m. MLS) บ้านป่าบงเปียงและศูนย์วิจัยข้าวสะเมิงควรปลูก SMGBWS88008, PMPBWS89013 และ LARTC-W89011 ในช่วงกลางเดือนธันวาคม และที่สูงอาศัยน้ำฝน (1,000-1,200 m. MLS) บ้านทุ่งหลวงควรปลูก PMPBWS89013 และ FNBW8301-5-5 ตั้งแต่ช่วงกลางเดือนพฤศจิกายนถึงต้นเดือนมกราคม เนื่องจากสามารถให้ค่าเฉลี่ยของผลผลิตสูงสุด

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กรมการข้าว. 2562. ความต้องการของธัญพืชเมืองหนาวของไทย. น. 1-8. ใน: การประชุมผู้ใช้ประโยชน์จากธัญพืชเมืองหนาว. 23

เมษายน 2562. ณ กรมการข้าว กรุงเทพฯ.

งามชื่น รัตนดิลก. 2537. วิธีการปรับปรุงพันธุ์ข้าวสาลีในเขตร้อนชื้น. น. 19-37. ใน: การประชุมวิชาการธัญพืชเมืองหนาว ครั้งที่ 15

เรื่อง อนาคตของธัญพืชเมืองหนาวกับการพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตร. 2-4 สิงหาคม 2537. โรงแรมคลอลิตี้เชียงใหม่ฮิลล์ จ.

เชียงใหม่.

บุญเทียม เลิศศุภวิทย์นภา. 2529. การทดสอบข้าวสาลีสำหรับที่ดอนในอำเภอฝาง. น. 330-342. ใน: สัมมนาเชิงปฏิบัติการวางแผน

งานวิจัยและพัฒนาธัญพืชเมืองหนาว ปี 2529-30. 18-19 สิงหาคม 2529. ณ โรงแรมอัมรินทร์ลากูน จ.พิษณุโลก.

บุญรัตน์ จงดี, พิบูลวัฒน์ ยังสุข, ละม้ายมาศ ขาวไชยมหา, อดุลย์ สิทธิวงศ์ และวรฤทธิ์ บังวรรณ. 2534. อิทธิพลของสภาพแวดล้อม และการเขตกรรมของข้าวสาลีหลังนา. น. 32-42. ใน: การสัมมนาวิชาการธัญพืชเมืองหนาว ประจำปี 2534. 7-9 สิงหาคม 2534. ณ โรงแรมแม่สอดฮิลล์ จ.ตาก.

ราเชนทร์ ถิรพร. 2537. งานวิจัยการจัดการเพาะปลูกธัญพืชเมืองหนาว รายงานการเรียบเรียงผลงานวิจัย ปี พ.ศ. 2534-2536. น. 366-

ใน การประชุมวิชาการธัญพืชเมืองหนาว ครั้งที่ 15 เรื่อง อนาคตของธัญพืชเมืองหนาวกับการพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตร.

-4 มีนาคม 2537. ณ โรงแรมคลอลิตี้เชียงใหม่ฮิลล์ จ. เชียงใหม่.

สาวิตร มีจุ้ย. 2528. ผลกระทบของวันปลูกและการขาดน้ำที่มีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวสาลีพันธุ์ Inia 66 วิทยานิพนธ์

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เกษตรศาสตร์) สาขาวิชาพืชไร่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่.

สถาบันวิจัยข้าว. 2547. คำแนะนำการใช้ปุ๋ยเคมีในนาข้าวตามค่าวิเคราะห์ดิน. น. 41. สถาบันวิจัยข้าว กรมวิชาการเกษตร. กรุงเทพฯ.

สุชน นิมมานนิตย์ และสุจินดา นิมมานนิตย์. 2528. ความคงตัวด้านคุณภาพของข้าวสาลีพันธุ์ Inia 66 และข้าวสาลีพันธุ์อื่น ๆ ที่ปลูกใน

ประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522-2527. น. 251-286. ใน: การประชุมทางวิชาการแผนงานวิจัยและพัฒนาธัญพืชเมืองหนาว.

-25 สิงหาคม 2528. จ.เชียงราย.

สุทัศน์ จุลศรีไกวัล, ดำรง ติยวลีย์ และวิโชติ พัฒโร. 2524. การเปรียบเทียบพันธุ์ของ Bread wheat, Durum wheat และ Triticale

เมื่อปลูกที่ระยะเวลาปลูก 4 ระยะ และที่ระดับปุ๋ยฟอสเฟต 4 ระดับ. น. 95-105. ใน: การสัมมนาเชิงปฏิบัติการธัญพืชเมือง

หนาว. 17-19 สิงหาคม 2524. สำนักงานเกษตรภาคเหนือ จ.เชียงใหม่.

สุทัศน์ จุลศรีไกวัล และดำรง ติยวลีย์. 2525. ศึกษาระยะเวลาปลูกที่เหมาะสมของข้าวสาลี. น. 257-262. ใน: การสัมมนาเชิงปฏิบัติการ

ธัญพืชเมืองหนาว ครั้งที่ 3. 9-11 สิงหาคม 2525. สำนักงานเกษตรภาคเหนือ จ.เชียงใหม่.

สุทัศน์ จุลศรีไกวัล และอาคม กาญจนประโชติ. 2537. งานวิจัยและพัฒนาธัญพืชเมืองหนาวของคณะเกษตรศาสตร์

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. น. 16-17. ใน: การประชุมวิชาการธัญพืชเมืองหนาว ครั้งที่ 15 เรื่อง อนาคตของธัญพืชเมืองหนาวกับ

การพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตร. 2-4 สิงหาคม 2537. โรงแรมคลอลิตี้เชียงใหม่ฮิลล์ จ.เชียงใหม่.

อาคม กาญจนประโชติ. 2529. การทดสอบและการผลิตข้าวสาลีระดับไร่เกษตรกรเขตโครงการหลวง. น. 343-346. ใน: สัมมนาเชิง

ปฏิบัติการวางแผนงานวิจัยและพัฒนาธัญพืชเมืองหนาว ปี 2529-30. 18-19 สิงหาคม 2529. จ.พิษณุโลก.

อาคม กาญจนประโชติ และสมจิตร ใจดี. 2531. การศึกษาเบื้องต้นการปลูกข้าวสาลีบนที่สูง. น. 352-359. ใน: สัมมนาเชิงปฏิบัติการ

การวางแผนงานวิจัยและพัฒนาธัญพืชเมืองหนาว ปี 2531-32. 9-11 สิงหาคม 2531. จ.ลำปาง.

Bray, R.H., and N. Kurtz. 1945. Determination of total organic and available forms of phosphorus in soil. Soil

Science. 59: 39-45.

Pratt, P.F. 1965. Potassium. pp. 1022-1030. In: C.A. Black, ed. Methods of Soil Analysis. Part II. Amer. Soc. of Agron,

Inc. Madison, Wisconsin.

Walkley, A., and I.A. Black. 1934. An examination of Degtjareff method for determining soil organic matter and a

proposed modification of the chronic acid titration method. Soil Science. 37: 29-38.