ระดับการพรางแสงและการให้ปุ๋ยที่เหมาะสมต่อการผลิตผักกูดเพื่อการค้า

Main Article Content

อรประภา เทพศิลปวิสุทธิ์
รัญธิญา เอียดเอก
พฤกษ์ ชุติมานุกูล

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ศึกษาผลของการพรางแสงและการใส่ปุ๋ยต่อการผลิตผักกูดแบบปลอดภัยเพื่อการค้า ทำการทดลอง ณ แปลงของเกษตรกรจังหวัดพัทลุง วางแผนการทดลองแบบสปลิทพลอทแบบสุ่มสมบูรณ์ภายในบล็อค (Split plot in RCBD) จำนวน 4 ซ้ำ ประกอบด้วยปัจจัยหลักเป็นระดับการพรางแสง 3 ระดับ ได้แก่ ไม่พรางแสง และพรางแสงด้วยตาข่ายสีดำกรองแสง 50 และ 80 เปอร์เซ็นต์ และปัจจัยรองเป็นการใส่ปุ๋ย 5 รูปแบบ ได้แก่ ไม่ใส่ปุ๋ย (ควบคุม) ใส่ปุ๋ยเคมี (15-15-1530 กก./ไร่ และ 46-0-022.5 กก./ไร่) อัตรารวม 52.5 กิโลกรัมต่อไร่ และใส่ปุ๋ยมูลโคอัตรา 700, 1,400 และ 2,100 กิโลกรัมต่อไร่ จากผลการทดลองพบว่า ดินก่อนและหลังปลูกมีค่าความเป็นกรด-ด่างอยู่ในช่วง 4.60-4.97 ซึ่งมีสภาพเป็นกรดจัดมาก และพบว่า การพรางแสงที่เพิ่มขึ้นทำให้การลดลงของปริมาณอินทรียวัตถุในดินหลังปลูกช้ากว่าการไม่พรางแสง ในขณะที่การใส่ปุ๋ยมูลโคในปริมาณที่เพิ่มขึ้นทำให้ดินหลังปลูกมีปริมาณฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ทั้งนี้การพรางแสงที่ระดับ 50 เปอร์เซ็นต์ร่วมกับการใส่ปุ๋ยมูลโคอัตรา 1,400 กิโลกรัมต่อไร่ ทำให้ผักกูดมีปริมาณผลผลิตทั้ง 3 เดือน (เดือนที่ 3-6 หลังปลูก) สูงที่สุด คือ 125.45, 177.10 และ 152.43 กิโลกรัมต่อไร่ คิดเป็นค่าเฉลี่ยผลผลิตอยู่ที่ประมาณ 152 กิโลกรัมต่อไร่ต่อเดือน เมื่อพิจารณาราคาขายตลอดทั้งปีอยู่ที่กิโลกรัมละ 50 บาท จะสามารถคืนทุนได้ภายในระยะเวลา 1.5 ปี หลังปลูก ซึ่งสามารถคืนทุนได้เร็วกว่าการไม่พรางแสงและไม่ใส่ปุ๋ยถึง 8.1 ปี

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กรมพัฒนาที่ดิน. 2553. คู่มือการปฏิบัติงานกระบวนการวิเคราะห์พืช ปุ๋ย และสิ่งปรับปรุงดิน. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ.

คริษฐ์สพล หนูพรหม, อมรรัตน์ ชุมทอง และพงษ์ศักดิ์ มานสุริวงศ์. 2560. ผลของมูลโคและน้ำหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของบรอคโคลี. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 25(4): 627-638.

ประยงค์ ตันเล, รภัสสา จันทาศรี, เกรียงศักดิ์ ไพรวรรณ และพนิดา อะริมัตทสึ. 2558. ผลของการพรางแสงต่อการเจริญเติบโตและปริมาณสารเอเชียติโคไซด์ของบัวบกสายพันธุ์สารคามก้านเขียวในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม. เกษตรพระวรุณ. 12(1): 9-16.

ประทุมพร ยิ่งธงชัย. 2564. "ผักกูด" รูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร มาทำความรู้จักกันดีไหม. แหล่งข้อมูล: https://stri.cmu.ac.th/ article_detail.php?id=29. ค้นเมื่อ 2 กันยายน 2564.

ฝ่ายเผยแพร่การใช้น้ำชลประทาน. 2557. ผักกูด. สำนักบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย, กรมชลประทาน. วารสารข่าวเกษตรชลประทาน 18(71): 19-21.

มนตรี แก้วดวง. 2555. ผักกูด เฟิร์นกินได้. วารสารเกษตรกรรมธรรมชาติ. 15(3): 66-69.

มนตรี แก้วดวง และวิเซ็น ดวงสา. 2556. ผักกูด อาหารต้านอนุมูลอิสระ. วารสารหมอชาวบ้าน. 55(412): 10-14.

มนตรี แก้วดวง, สายันต์ ตันพานิช, เรวัตร จินดาเจี่ย, ประยุทธ กาวิละเวส, วิเซ็น ดวงสา, พงษ์ศักดิ์ แก้วศรี, สุรสิทธิ์ วงษ์สัจจานันท์, ชลธิชา นิวาสประกฤติ, จิตตา สาตร์เพ็ชร์, สุพัตรา เปี่ยมวารี และสรวิศ แจ่มจำรูญ . 2558. การวิจัยและพัฒนาและส่งเสริมการปลูกผักกูดเป็นการค้า. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย, ปทุมธานี.

ยงยุทธ โอสถสภา, อรรถศิษฐ์ วงศ์มณีโรจน์ และชวลิต ฮงประยูร. 2554. ปุ๋ยเพื่อการเกษตรยั่งยืน. พิมพ์ครั้งที่ 2, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

วิเซ็น ดวงสา, สายันต์ ตันพานิช, เรวัตร จินดาเจี่ย และมนตรี แก้วดวง. 2559. ผลของวัสดุปลูกต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของผักกูด. พืชศาสตร์สงขลานครินทร์. 3(3): 30-35.

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. 2561. คู่มือการปลูกผักกูดในพื้นที่ดินเปรี้ยวจัด. ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ, นราธิวาส.

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย. 2564. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) แนะวิธีปลูกผักกูดขาย..เพิ่มรายได้ สู้วิกฤตโควิด-19. แหล่งข้อมูล https://www.mhesi.go.th/index.php/en/news-and-announce-all/news-all/1434-19-12.html. ค้นเมื่อ 10 กันยายน 2564.

สาวิตรี มังกรแก้ว, พิจิตรา แก้วสอน, ปริยานุช จุลกะ และปิยะณัฏฐ์ ผกามาศ. 2558. ผลของการพรางแสงและระยะปลูกต่อการเจริญเติบ โตและคุณภาพเมล็ดพริกขี้หนูพันธุ์ห้วยสีทนภายใต้สภาวะอุณหภูมิสูง. วิทยาศาสตร์เกษตร. 46(3): 769-772.

สำนักงานเกษตรอำเภอศรีราชา. 2558. KM online ปี 2558: ผักกูด. สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 3 จังหวัดระยอง, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. กรุงเทพฯ.

สำนักพิมพ์ไทยรัฐ. 2561. สหกรณ์โคเนื้อศรีวิชัย (พัทลุง) สร้างงาน-รายได้-มั่นคง-ยั่งยืน. แหล่งข้อมูล: https://www.thairath.co.th/news/local/south/1412343. ค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2563.

สำนักวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร. 2548. วัสดุอินทรีย์และปุ๋ยคอกในพื้นที่ทำการเกษตร. กรมวิชาการเกษตร, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ.

สำนักวิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาที่ดิน. 2547. คู่มือการวิเคราะห์ตัวอย่างดิน น้ำ ปุ๋ย พืช วัสดุปรับปรุงดิน และการวิเคราะห์เพื่อตรวจรับรองมาตรฐานสินค้า เล่มที่ 1. กรมพัฒนาที่ดิน, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ.

สยามรัฐออนไลน์. 2563. ศูนย์พัฒนาพิกุลทองฯ ศึกษาปลูกผักกูดในดินเปรี้ยวจัดทั่วไทยได้. แหล่งข้อมูล: https://siamrath.co.th/n/167994. ค้นเมื่อ 10 กันยายน 2564.

อรประภา อนุกูลประเสริฐ. 2560. การศึกษาเปรียบเทียบผลของปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมีต่อความสามารถในการผลิตจิงจูฉ่าย. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 25(4): 615-626.

อรประภา อนุกูลประเสริฐ และภาณุมาศ ฤทธิไชย. 2558. ผลของการใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงต่อการให้ผลผลิตและคุณภาพของผักกาดหอม. Thai Journal of Science and Technology. 4(1): 81-94.

อรประภา เทพศิลปวิสุทธิ์ และสมชาย ชคตระการ. 2563. ประสิทธิภาพของปุ๋ยมูลไก่และถ่านชีวภาพต่อความสามารถในการผลิตผักสลัดพันธุ์กรีนโอ๊คในสภาพดินกรด. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 28(7): 1267-1280.

Akter, S. 2014. Investigation of in vitro antioxidant, antimicrobial and cytotoxic activity of Diplazium esculentum (Retz). Sw. International Journal of Advances in Pharmacy, Biology and Chemistry. 3(3): 723-733.

Amit, S., and F.M. Singh. 2012. In-vitro anthelmintic activity of Diplazium esculentum (Retz.) Swiss rhizome extract. Journal of Pharmacognosy and Phytochemistry. 14: 84-87.

Amit, S., K. Sunil, S.P. Bhatt, and N. Arvind. 2011. Antibacterial activity of Diplazium esculentum (retz.) Sw. Pharmacognosy Journal. 3(21): 77-79.

Brady, N.C., and R.R. Weil. 2008. The nature and properties of soils. 14th Edition. Prentice Hall, New Jersey.

Dodd, M.B., A.W. McGowan, I.L. Power, and B.S. Thorrold. 2005. Effects of variation in shade level, shade duration and light quality on perennial pastures. Journal of Agricultural Research. 48(4): 531-543.

Gardner, F.P., R.B. Pearce, and R.L. Mitchell. 1985. Physiology of crop plants. Iowa State University Press, USA.

Kaushik, A., J.J. Kaushik, A. Das, S. Gemal, and D. Gaim. 2011. Preliminary studies on anti-inflammatory activities of Diplazium esculentum in experimental animal models. International Journal of Pharmaceutical Sciences Review and Research. 2(5): 1251-1253.

Moniruzzaman, M., M.S. Islam, M.M. Hossain, T. Hossain, and M.G. Miah. 2009. Effect of shad and nitrogen levels on quality Bangladhonia production. Bangladesh Journal of Agricultural Research. 34(2): 205-213.

Natural Resources Conservation Service. 2004. Soil survey laboratory methods manual. Soil Survey Investigations Report, No. 42, Version 4.0. United States Department of Agriculture, Washington D.C., USA.

Neumann, A.L. 1977. Beef Cattle. John Weiley and Sons, New York.

Ofori-Frimpong, K., A.A. Afrifa, and S. Acquaye. 2010. Impact of shade and cocoa plant densities on soil organic carbon sequestration rates in a cocoa growing soil of Ghana. African Journal of Environmental Science and Technology. 4(9): 621-624.

Onwuka, B., and B. Mang. 2018. Effects of soil temperature on some soil properties and plant growth. Advances in Plants & Agriculture Research. 8(1): 34-37.

Qian, P., and J.J. Schoenau. 2002. Availability of nitrogen in solid manure amendments with different C:N ratio. Canadian Journal of Soil Science. 82(2): 219-225.

Raine, R. 2021. What types of ferns prefer acidic soil? Available: https://homeguides.sfgate.com/types-ferns-prefer-acidic-soil-51940.html. Accessed May 28, 2021.

Rasoulzadeh, A., and A. Yaghoubi. 2010. Effect of cattle manure on soil physical properties on a sandy clay loam soil in North-West Iran. Journal of Food, Agriculture and Environment. 8(2): 976-979.

Schick, J., S. Haneklaus, D. Rückamp, and E. Schnug. 2013 Report on the chemical quality of different types of manure (processed and unprocessed) including P-solubility: Baltic Manure Knowledge Report. Baltic Forum for Innovative Technologies for Sustainable Manure Management, Germany.

Schlegel, A.J., Y. Assefa, H.D. Bond, L.A. Haag, and L.R. Stone. 2017. Changes in soil nutrients after 10 years of cattle manure and swine effluent application. Soil and Tillage Research. 172: 48–58.

Seal, T. 2012. Evaluation of nutritional potential of wild edible plants, traditionally used by the tribal people of Meghalaya state in India. American Journal of Plant Nutrition and Fertilization Technology. 2: 19-26.

Shaban, N.T., N. Tzvetkova, R. Cherkez, and P. Parvanova. 2016. Evaluation of response of lettuce (Lactuca sativa L.) to temperature and light stress. Acta Agrobotanica. 69(2): 1664.

Shim, M.S., Y.J. Kim, D.S. Lee, H.Y. Kwon, S.S. Kim, and U. Kang. 2011. Growth responses of various ferns on shading and fertilizer application. Journal of Bio-Environment Control. 20(2): 109-115. [In Korean]

Trail, P., Y. Danmalidoi, A. Bicksler, and R. Burnette. 2021. Production of vegetable fern (Diplazium esculentum Reytz.) under varying levels of shade. ECHO Asia Note. 2(4): 1-7.

Wang, Y., S. Gao, X. He, Y. Li, Y. Zhang, and W. Chen. 2020. Response of total phenols, flavonoids, minerals, and amino acids of four edible fern species to four shading treatments. The Open Access Journal for Life and Environment: 1-18.

Walkley, A., and I.A. Black. 1934. An examination of Degtjareff method for determining soil organic matter and a proposed modification of the chromic acid titration method. Soil Science. 37: 29-37.

Whalen, J.K., C. Chang, and G.W. Clayton. 2002. Cattle manure and lime amendments to improve crop production of acidic soils in northern Alberta. Canadian Journal of Soil Science. 82(2): 227-238.

Whitehead, M., and M.E. Isaac. 2012. Effects of shade on nitrogen and phosphorus acquisition in cereal-legume intercropping systems. Agriculture. 2: 12-24.