การศึกษาห่วงโซ่คุณค่าของกล้วยหอมทองในจังหวัดเพชรบุรีภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาห่วงโซ่คุณค่าของเกษตรกรและผู้รวบรวมกล้วยหอมทองในจังหวัดเพชรบุรี และผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ส่งผลต่อห่วงโซ่คุณค่าของเกษตรกรและผู้รวบรวมกล้วยหอมทองในจังหวัดเพชรบุรี ทั้ง 4 กลุ่มตามช่องทางการจำหน่าย คือ จำหน่ายตลาดทั่วไป จำหน่ายให้กับสหกรณ์การเกษตร 2 แห่ง และจำหน่ายให้กับโรงกล้วยเอกชน งานวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพโดยสัมภาษณ์เชิงลึกเกษตรกรและผู้รวบรวมกล้วยหอมทอง จำนวน 32 คน ด้วยวิธีเฉพาะเจาะจง ผลวิจัยพบว่า เกษตรกรที่จำหน่ายกล้วยหอมทองแบบไม่ประกันราคาได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 มากที่สุด คือ ปัจจัยนำเข้า และด้านการตลาดและการขาย และผู้รวบรวมกล้วยหอมทองที่รับซื้อผลผลิตแบบประกันราคาได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 มากที่สุด คือ ด้านการตลาดและการขาย ซึ่งงานวิจัยนี้เป็นแนวทางให้แก่ผู้รวบรวมกล้วยหอมทองในจังหวัดเพชรบุรีในการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ฉุกเฉินที่เกิดโรคระบาด เพื่อให้สามารถปรับปรุงแนวทางการจำหน่าย และวางแผนการผลิตให้เหมาะสมมากที่สุด
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Porter, M.E. 1985. COMPETTITIVE ADVANTAGE (พิมพ์ครั้งที่ 1 ed.). United Stated: A Division of Simon & Schuster Inc.
กรมส่งเสริมการเกษตร. 2563. รายงานข้อมูลภาวะการผลิตพืช พืชอายุยาว (รต.02). กรงเทพมหานคร: ระบบสารสนเทศการผลิตทางด้านการเกษตร.
ขวัญฤทัย เทพพิทักษ์. 2558. การศึกษาห่วงโซ่คุณค่าที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการประกอบธุรกิจส่งออกผลไม้แปรรูปของผู้ประกอบการไทยในตลาดโลก. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, กรุงเทพมหานคร.
ชาญชัย ชัยประสิทธิ์. 2564. เจาะพฤติกรรมผู้บริโภคไทยที่เปลี่ยนไปในยุคโควิด-19. Retrieved from https://www.pwc.com/th/en/pwc-thailand-blogs/blog-20210518.html. สืบค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 2564.
นันทนา แอวอู. 2548. การศึกษาสถานการณ์กระบวนการผลิตและส่งออกกล้วยหอมทองปลอดสารพิษ: ศึกษาเฉพาะกรณี สหกรณ์การเกษตรท่ายาง จำกัด จังหวัดเพชรบุรี. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์สหกรณ์), มหาวิทยาลัยแม่โจ้, เชียงใหม่.
มนัสชนก ไชยรัตน์. 2563. พฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปช่วงสถานการณ์ COVID-19 ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร. (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชี คณะบริหารธุรกิจ ), มหาวิทยาลัยรามคำแหง, กรุงเทพมหานคร.
ศุภกิจ พิมพ์เสน. 2564. ความเสี่ยงและกลยุทธ์ทางธุรกิจหลังจบวิกฤติการณ์ COVID-19 และการหาโอกาสใหม่ในการดาเนินธุรกิจหลังจบวิกฤตการณ์ของกลุ่มธุรกิจไวน์ในประเทศไทย. (ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยมหิดล, กรุงเทพมหานคร.
สุธนัย วงศ์สินอุดม. 2545. การศึกษาการตลาดของผลิตภัณฑ์กล้วยหอมทอง: ศึกษาเฉพาะกรณี กลุ่มเกษตรกร อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการตลาด), มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, กรุงเทพมหานคร.
สำนักจัดซื้อของเซเว่นอีเลฟเว่น. 2558. “เซเว่น อีเลฟเว่น” ส่งเสริม SMEs ไทย หนุนสหกรณ์ฯ ท่ายาง ปลูกกล้วยหอมทอง สร้างรายได้เกษตรกร. Retrieved from https://www.cpall.co.th/sme-talk/%E0%B9%80%E0%B8% 8B%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%9F%E0%B980%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%AA. สืบค้นเมื่อ 10 กรกฎาคม 2564.
สำนักสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และระบบสหประชาชาติประจำประเทศไทย. 2563. การประเมินผลกระทบรวมด้านเศรษฐกิจและสังคมจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานผู้ประสานงานสหประชาชาติประจำประเทศไทย.