ผลของฟิล์มคลุมโรงเรือนมัลติฟังก์ชั่นต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของผักกาดหอมพันธุ์กรีนโอ๊ค และพันธุ์เรดโอ๊ค

Main Article Content

กาญจน์เจริญ ศรีอ่อน
ธรรมศักดิ์ ทองเกตุ
อทิตย์สา เพ็ชรสุข
ดวงฤทัย ศรีนุ่น
ดวงพร ศิริกิตติกุล

บทคัดย่อ

ปัจจุบันเกษตรกรนิยมปลูกพืชในโรงเรือนกันมากขึ้น และฟิล์มคลุมหลังคาโรงเรือนถือเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีความจำเป็นต่อการปลูกพืชในโรงเรือน ดังนั้นศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติจึงได้พัฒนาฟิล์มมัลติฟังก์ชั่นชนิดใหม่ที่มีคุณสมบัติในการกรองรังสีอัลตราไวโอเลต สะท้อนรังสีความร้อน และกระจายแสงได้ดี การทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของฟิล์มมัลติฟังก์ชั่นต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของผักกาดหอมพันธุ์กรีนโอ๊ค และพันธุ์เรดโอ๊ค โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ มี 3 ทรีทเมนต์ ได้แก่ โรงเรือนฟิล์มการค้า ฟิล์ม MultiTech และ ฟิล์ม MultiTech–Ultra ปลูกต้นกล้าผักกาดหอมลงในถุงเพาะชำขนาด 8 x 16 นิ้ว โดยใช้วัสดุปลูกที่ไม่ใช้ดินซึ่งมีส่วนผสมของขุยมะพร้าว: กาบมะพร้าวสับ อัตรา 2:1 ให้สารละลายปุ๋ยสูตร Enshi ดัดแปลง ที่ความเข้มข้น 1.2 mS/cm ผลการทดลอง พบว่า ต้นผักกาดหอมพันธุ์กรีนโอ๊ค อายุ 3 สัปดาห์ หลังย้ายปลูกที่ปลูกในโรงเรือนฟิล์ม MultiTech มีการเจริญเติบโตทางต้นดีกว่าต้นผักกาดหอมที่ปลูกในโรงเรือนฟิล์มการค้า โดยมีน้ำหนักสดต้น 128.8 ก./ต้น หรือมีน้ำหนักต้นเพิ่มขึ้น 27.0% แต่ต้นผักกาดหอมพันธุ์กรีนโอ๊คที่อายุ 4 สัปดาห์ มีน้ำหนักสดของต้นและปริมาณวิตามินซีไม่แตกต่างทางสถิติ (P > 0.05) โดยมีน้ำหนักสดต้น 296.1–301.0 ก./ต้น และมีปริมาณวิตามินซี 21.2–24.6 มก./100 ก. น้ำหนักสด ส่วนต้นผักกาดหอมพันธุ์เรดโอ๊คอายุ 4 สัปดาห์หลังย้ายปลูก ที่ปลูกในโรงเรือนฟิล์ม MultiTech และ MultiTech-Ultra มีน้ำหนักสดต้น 178.3 และ 171.7 ก./ต้น หรือมีน้ำหนักต้นเพิ่มขึ้น 15.7 และ 11.4% ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับต้นผักกาดหอมที่ปลูกในโรงเรือนฟิล์มการค้า แต่อย่างไรก็ตามต้นผักกาดหอมพันธุ์เรดโอ๊คที่ปลูกในโรงเรือนฟิล์มการค้ากลับมีปริมาณวิตามินซีมากที่สุดคือ 33.0 มก./100 ก. น้ำหนักสด

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

จริยา วิสิทธิ์พานิช และอัญชัญ ชมภูพวง. 2560. โรงเรือนปลูกผักในประเทศไทย. น. 7–25. ใน: จริยา วิสิทธิ์พานิช, บรรณาธิการ. คู่มือการผลิตผักคุณภาพและปลอดภัยในโรงเรือน. ฝ่ายเกษตร สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.), กรุงเทพฯ.

เซน ไฮโดรโพนิกส์. 2559. สลัด กรีนโอ๊ค. แหล่งที่มา: http://zen-hydroponics.blogspot.com/2014/12/green-oak-lettuce.html, 2 มีนาคม 2563.

ธรรมศักดิ์ ทองเกตุ. 2558. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน. ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, นครปฐม.

ธรรมศักดิ์ ทองเกตุ. 2559. เอกสารประกอบการฝึกอบรม หลักสูตร เทคโนโลยีฟาร์มผักอัจฉริยะ. ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, นครปฐม.

นวรัตน์ อุดมประเสริฐ. 2558. สรีรวิทยาของพืชภายใต้สภาวะเครียด. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

สมบุญ เตชะภิญญาวัฒน์. 2544. สรีรวิทยาของพืช. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

เสาวรภย์ บัวเล็ก. 2539. การใช้พลาสติกในการเกษตร: พลาสติกสำหรับสร้างโรงเรือนปลูกพืช. แหล่งข้อมูล: https://www2.mtec.or.th/th/e-magazine/admin/upload/247_56-61.pdf, ค้นเมื่อ 22 พฤษภาคม 2563.

Akram, N.A., F. Shafiq, and M. Ashraf. 2017. Ascorbic acid-a potential oxidant scavenger and its role in plant development and abiotic stress tolerance. Frontiers in Plant Science. 8: 613.

AOAC. 1990. Official Methods of Analysis. 15th Edition. Association of Official Analytical Chemist, Washington DC.

Cervantes, J. 2006. Marijuana Horticulture: The Indoor/Outdoor Medical Grower’s Bible. Van Patten Publishing, Vancouver.

Dole, J.M., and H.F. Wilkins. 2005. Floriculture Principles and Species. Pearson prentice hall, New Jersey.

Dueck, T., J. Janse, T. Li, F. Kempkes, and B. Eveleens. 2012. Influence of diffuse glass on the growth and production of tomato. Acta Horticulturae. 956: 75–82.

Espi, E., A. Salmerón, A. Fontecha, Y. García, and A.I. Real. 2006. Plastic film for agricultural applications. Journal of Plastic Film & Sheeting. 22: 85–102.

Fu, W., P. Li, Y. Wu, and J. Tang. 2012. Effects of different light intensities on anti-oxidative enzyme activity, quality and biomass in lettuce. Horticultural Science. 39: 129–134.

Hemming, S., V. Mohammadkhani, and T. Dueck. 2008. Diffuse greenhouse covering materials – material technology, measurements and evaluation of optical properties. Acta Horticulturae. 797: 469–475.

Hew, C.S., G. Krotkov, and D.T. Canvin. 1969. Effects of temperature on photosynthesis and CO2 evolution in light and darkness by green leaves. Plant Physiology. 44: 671–677.

Kittas, C., M. Tchamitchian, N. Katsoulas, P. Karaiskou, and Ch. Papaioannou. 2006. Effect of two UV-absorbing greenhouse-covering films on growth and yield of an eggplant soilless crop. Scientia Horticulturae. 110: 30–37.

Smith, R., M. Cahn, O. Daugovish, S. Koike, E. Natwick, H. Smith, K. Subbarao, E. Takele, and T. Turini. 2012. Leaf Lettuce Production in California. Available: https://anrcatalog.ucanr.edu/pdf/7216.pdf, Accessed March 2, 2020.

University of Exeter. 2007. Vitamin C Is Essential for Plant Growth. Available: https://www.sciencedaily.com/releases/2007/09/070923205844.htm, Accessed March 2, 2020.

Zhang, X., D. He, G. Niu, Z. Yan, and J. Song. 2018. Effects of environment lighting on the growth, photosynthesis, and quality of hydroponic lettuce in a plant factory. International Journal of Agricultural and Biological Engineering. 11: 33–40.

Zhou, J., P. Li, J. Wang, and W. Fu. 2019. Growth, photosynthesis, and nutrient uptake at different light intensities and temperatures in lettuce. HortScience. 54: 1925–1933.