ผลของการพ่นแคลเซียมทางใบต่อผลผลิตข้าวโพดลูกผสมและคุณภาพเมล็ดพันธุ์ภายหลังเก็บรักษา

Main Article Content

สุธีรา วงค์ไชย
ณัฐศักดิ์ กฤติกาเมษ
แสงทิวา สุริยงค์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการพ่นแคลเซียมต่อผลผลิตในแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดลูกผสมพันธุ์พี 3582 และคุณภาพเมล็ดพันธุ์ วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ภายในบล็อกจำนวน 3 ซ้ำ ณ แปลงปลูกของเกษตรกรจังหวัดลำปาง ระหว่างเดือนธันวาคม 2561 ถึงเดือนเมษายน 2562 กรรมวิธี ประกอบด้วยการพ่นแคลเซียมออกไซด์ความเข้มข้น 31 เปอร์เซ็นต์ อัตรา 0, 1.0, 1.5 และ 2.0 มล./ล. ผลการทดลอง พบว่า อัตราการฉีดพ่นไม่มีผลต่อองค์ประกอบผลผลิต ผลผลิตเมล็ด และการสะสมแคลเซียมในเมล็ด แต่มีแนวโน้มว่าความเข้มข้น 1.0 มล./ล. ส่งผลให้ข้าวโพดมีผลผลิตฝักสูงสุด 1,382.3 กก./ไร่ หลังจากนั้น นำผลผลิตเมล็ดที่ได้จากทุกกรรมวิธีของการพ่นมาศึกษาผลของการเก็บรักษาต่อคุณภาพเมล็ดพันธุ์ โดยวางแผนการทดลองแบบสปลิท พลอท แบบสุ่มสมบูรณ์ main plot คือ สภาพการเก็บรักษาที่อุณหภูมิห้องและอุณหภูมิ 15 องศาเซลเซียส ส่วน sub plot คือ เมล็ดที่ได้รับแคลเซียม 4 ระดับ เก็บบันทึกข้อมูลที่ 0, 2, 4 และ 6 เดือน ผลการทดลองพบว่า ระยะเวลาการเก็บรักษาและปฏิสัมพันธ์กับความเข้มข้นของแคลเซียมมีผลต่อเปอร์เซ็นต์ความงอก ส่วนความแข็งแรงของเมล็ดได้รับผลจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างช่วงเวลาและสภาพการเก็บรักษารวมถึงความเข้มข้นของแคลเซียมอย่างมีนัยสำคัญ โดยเมล็ดที่ได้รับแคลเซียม 1.0 มล./ล. และเก็บไว้ที่อุณหภูมิ 15 องศาเซลเซียส นาน 4 เดือนสามารถคงความแข็งแรงสูงกว่ากรรมวิธีอื่น ๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนการสะสมแคลเซียมในเมล็ดทุกกรรมวิธีลดลงจาก 0.75 เป็น 0.13 ก./น้ำหนักแห้ง 100 ก. หลังการเก็บรักษานาน 6 เดือน

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

ขวัญจิตร สันติประชา, วัลลภ สันติประชา และพรทิพย์ สุวรรณคีรี. 2554. ความสามารถในการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดหวานลูกผสมที่สัมพันธ์กับคุณภาพของเมล็ดพันธุ์ การเจริญเติบโต และผลผลิตของข้าวโพดหวาน. รายงานวิจัยภาคสมบูรณ์.ภาควิชาพืชศาสตร์ คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา.

คณาจารย์ภาควิชาปฐพีวิทยา. 2544. ปฐพีวิทยาเบื้องต้น. ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์,กรุงเทพฯ.

ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 2556. กำหนดมาตรฐานคุณภาพและวิธีการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ควบคุม พ.ศ. 2556.

ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 130 ตอนพิเศษ 58ง ลงวันที่ 14 พฤษภาคม 2556.

ยงยุทธ โอสถสภา. 2543. ธาตุอาหารพืช. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

วันชัย จันทร์ประเสริฐ. 2542. เทคโนโลยีเมล็ดพันธุ์พืชไร่. พิมพ์ครั้งที่ 1. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

Abbas, M., H. Abdel-Lattif, and M. Shahba. 2021. Ameliorative effects of calcium sprays on yield and grain nutritional composition of maize (Zea mays L.) cultivars under drought stress. Agriculture. 11(285):

-13.

Chishaki, N., K. Yuda, and S. Inanaga. 2007. Differences in mobility of calcium applied to the aboveground parts of broad bean plants (Vicia faba L.). Soil science and plant nutrition. 53(3): 286 - 288.

Copeland, L.O., and M.B. McDonald. 1985. Principle of seed science and technology. 2nd ed. Macmillan

Publishing, New York.

Cordova-Tellez, L., and J.S. Burris. 2002. Alignment of lipid bodies along the plasma membrane during the acquisition of desiccation tolerance in maize seed. Crop Science. 42(6): 1982-1988.

Edward, A.H. 1998. Element determination by atomic absorption spectrophotometry. pp. 157-164. In: Kalra, Y. P. (eds.). Handbook of reference methods for plant analysis. Boca Raton.

Feagley, S.E., and L.B. Fenn. 1998. Using soluble calcium to stimulate plant growth. Agrilife extention Texas A&M system. L-5212: 1-4.

ISTA (International Seed Testing Association). 1995. Handbook of vigour test methods. Zurich, Switzerland.

ISTA (International Seed Testing Association). 2019. International rules for seed testing. Zurich, Switzerland.

Kumar, A., U.M. Singh, M. Manohar, and V.S. Gaur. 2014. Calcium transport from source to sink understanding the mechanism(s) of acquisition, translocation, and accumulation for crop biofortification. Acta Physiologiae Plantarum. 37(1): 1-14.

Marschner, H. 2012. Marschner’s mineral nutrition of higher plants. 3rd ed. Elsevier Publishing, United Kingdom.

Naeem, M., M.S. Naeem., R. Ahmad, M.Z. Ihsan, M.Y. Ashraf, Y. Hussain, and S. Fahad. 2018. Foliar calcium spray confers drought stress tolerance in maize via modulation of plant growth, water relations, proline content and hydrogen peroxide activity. Archives of Agronomy and Soil Science. 64 (1): 116-131.

Nath, M., P. Roy, A. Shukla, and A. Kumar. 2013. Spatial distribution and accumulation of calcium in different tissues, developing spikes and seeds of finger millet genotypes. Journal Plant Nutrition. 36(4): 539–550.

Pittman, J.K. 2011. Vacuolar Ca2+ uptake. Cell Calcium. 50(2): 139–146.

Shah, F.S., C.E. Watson, and E.R. Cabrera. 2002. Seed vigor testing of subtropical corn hybrids. Mississippi Agricultural and Forestry Experiment Station. 23(2): 1-5.

Wolswinkel, P., A. Ammerlaan, and J. Koerselman-Kooij. 1992. Effect of the osmotic environment on K+ and Mg2+ release from the seed coat and cotyledons of developing seeds of Vicia faba and Pisum sativum: Evidence for a stimulation of efflux from the vacuole at high cell turgor. Journal of Experimental Botany. 43: 681-693.

Xu, C., X. Li, and L. Zhang. 2013. The effect of calcium chloride on growth, photosynthesis, and antioxidant responses of Zoysia japonica under drought conditions. PLOS ONE. 8(7): 1-10.