การกำหนดเขตการใช้ที่ดินสำหรับไม้ผลเศรษฐกิจเพื่อสนับสนุนทางเลือกการใช้ที่ดินของเกษตรกรผู้ปลูกยางพาราในจังหวัดบึงกาฬและนครพนม

Main Article Content

วาสนา พุฒกลาง
อุราวรรณ จันทร์เกษ

บทคัดย่อ

ข้อมูลเชิงพื้นที่ความเหมาะสมของที่ดินสำหรับไม้ผลเศรษฐกิจหลายชนิดเป็นข้อมูลสนับสนุนยุทธศาสตร์การปรับลดพื้นที่ปลูกยางพาราและวางแผนการใช้ที่ดินในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความเหมาะสมของที่ดินสำหรับปลูกไม้ผลเศรษฐกิจ 4 ชนิด ได้แก่ ไม้ผลเศรษฐกิจภาคตะวันออก (ทุเรียน, มังคุด, ลองกอง, เงาะ) ลิ้นจี่ ส้มเขียวหวาน และ มะพร้าวน้ำหอม ด้วยเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศศาสตร์ และกำหนดเขตทางเลือกแบบผสมผสานพื้นที่ศักยภาพสำหรับปลูกไม้ผลเศรษฐกิจทดแทนพื้นที่ปลูกยางพารา โดยคำนึงถึงสภาพเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อม พื้นที่ศึกษาครอบคลุมจังหวัดบึงกาฬและนครพนม ตั้งอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนของปรเทศไทย เนื้อที่ประมาณ 9,800 ตารางกิโลเมตร การประเมินความเหมาะสมของที่ดินดำเนินการตามหลักการประเมินค่าที่ดินของ FAO เพื่อสร้างแบบจำลองผลคูณจากการบูรณาการคุณภาพที่ดินที่ไม้ผลเศรษฐกิจต้องการ ได้แก่ น้ำที่เป็นประโยชน์ คุณสมบัติของดิน และ สภาพภูมิประเทศ จากนั้นผสมผสานทางเลือกการใช้ที่ดินจากการบูรณาการข้อมูลพื้นที่เหมาะสมมากและปานกลาง สำหรับปลูกไม้ผลเศรษฐกิจแต่ละชนิด และกำหนดแผนทางเลือกสำหรับเกษตรกรผู้ปลูกยางพารา ผลการศึกษาสามารถสร้างข้อสนเทศเชิงพื้นที่ และแผนที่ความเหมาะสมของที่ดินสำหรับปลูกไม้ผลเศรษฐกิจทั้ง 4 ชนิด และกำหนดเขตการใช้ที่ดินสำหรับปลูกไม้ผลเศรษฐกิจออกเป็น 7 เขต จังหวัดบึงกาฬและนครพนม มีพื้นที่ปลูกยางพารา 2,427.34 ตารางกิโลเมตร แบ่งออกเป็น พื้นที่ปลูกยางพาราอายุ < 5 ปี, 5-20 ปี และ > 20 ปี คิดเป็นร้อยละ 2.72  21.16 และ 1.49 ของพื้นที่ศึกษา ข้อมูลเขตทางเลือกการใช้ที่ดินสำหรับปลูกไม้ผลเศรษฐกิจสามารถสนับสนุนการตัดสินใจสำหรับเกษตรกรผู้ปลูกยางพาราใกล้ตัดโค่นที่มีอายุ > 20 ปี ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และพบว่าการผลิตไม้ผลเศรษฐกิจทั้ง 4 ชนิดในจังหวัดบึงกาฬและนครพนม มีความคุ้มทุนทางเศรษฐศาสตร์

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กรมอุตุนิยมวิทยา. 2558. สถิติปริมาณฝนณสถานีอุตุนิยมวิทยาจังหวัดหนองคายพ.ศ. 2546 – 2558. ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน, ขอนแก่น.

กองการยางแห่งประเทศไทย. 2563. ประกาศคณะกรรมการการยางแห่งประเทศไทยเรื่องกำหนดไม้ยืนต้นชนิดอื่นที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจพ.ศ.2563. แหล่งข้อมูล: https://www.raot.co.th/article_attach/forest_act58ntree_support63.pdf. ค้นเมื่อ 25 กันยายน 2563.

ชรัตน์ มงคลสวัสดิ์, วาสนา พุฒกลาง, แสงดาว นพพิทักษ์ และอุราวรรณ จันทร์เกษ. 2552. พื้นที่เหมาะสมสำหรับปลูกอ้อยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. น. 170-188. ใน: การประชุมวิชการดาวเทียมธีออสเทคโนโลยีอวกาศของไทย เพื่อการพัฒนาภูมิสารสนเทศ 8-9 กันยายน 2552. โรงแรมณุศาพลาญ่าโฮเต็ลแอนด์สปา, ชลบุรี.

ชรัตน์ มงคลสวัสดิ์ และวาสนา พุฒกลาง. 2553. การประกอบแบบจำลองเชิงพื้นที่สำหรับประเมินความเหมาะสมของที่ดินสำหรับปลูกยางพาราในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. น. A2-3 #1- A2-3 #24. ใน: การประชุมวิชาการเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศแห่งชาติ 15-17 ธันวาคม 2553. อิมแพ็คคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ เมืองทองธานี, นนทบุรี.

บัณฑิต ตันศิริ และคำรณ ไทรฟัก. 2539. คู่มือการประเมินคุณภาพที่ดินสำหรับพืชเศรษฐกิจ. กองวางแผนการใช้ที่ดินกรมพัฒนาที่ดินกระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ.

โพสต์ทูเดย์. 2565. สศก. แนะพืชทางเลือกภาคใต้ตอนบนทดแทนปลูกยางในพื้นที่ไม่เหมาะสม. แหล่งข้อมูลhttps://www.posttoday.com/economy/news/604431. ค้นเมื่อ 28 มีนาคม 2565.

มติชน. 2564. รัฐบาลไฟเขียวยุทธศาสตร์ยางพารา 20 ปีตั้งเป้าลดพื้นที่ปลูกยาง 5 ล้านไร่. แหล่งข้อมูล: https://www.matichon.co.th/politics/news_1784667.ค้นเมื่อ27 ตุลาคม2564.

วาสนา พุฒกลาง และชรัตน์ มงคลสวัสดิ์. 2553. ความเหมาะสมของที่ดินและการประเมินพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังด้วยข้อมูลภาพถ่ายจากดาวเทียมและระบบสารสนเทศ. วารสารสมาคมสำรวจข้อมูลระยะไกลและสารสนเทศภูมิศาสตร์แห่งประเทศไทย. 11: 67-89.

วาสนา พุฒกลาง และชรัตน์ มงคลสวัสดิ์. 2557. การโซนนิ่งพื้นที่เกษตรกรรมสำหรับการผสมผสานหาทางเลือกสำหรับการใช้ที่ดินในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารสมาคมสำรวจข้อมูลระยะไกลและสารสนเทศภูมิศาสตร์แห่งประเทศไทย. 15: 47-62.

วาสนา พุฒกลาง. 2561. การทำแผนที่พื้นที่ปลูกยางพาราตามช่วงอายุและผลสืบเนื่องของการปลูกยางพาราต่อการแตกกระจายของผืนป่าด้วยข้อมูลภาพถ่ายจากดาวเทียมหลายช่วงเวลาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.

วิทยา พรหมมี. 2564. บทบรรณาธิการ. วารสารยางพารา. 42:1.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2562. การคำนวนต้นทุน. แหล่งข้อมูล:https://www.oae.go.th/view/1/การคำนวณต้นทุน/TH-TH. ค้นเมื่อ 12 พฤษภาคม 2562.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2563. สถิติการเกษตรประเทศไทย ปี 2563. ศูนย์สารสนเทศการเกษตรสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรกระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2565. ยางพารา: ราคายางแผ่นดิบชั้น 3 รายเดือนที่เกษตรกรขายได้ที่สวนทั้งประเทศปี 2545-2565. แหล่งข้อมูล: https://www.oae.go.th/assets/portals/1/files/price/monthly_price/rubber3.pdf. ค้นเมื่อ 28 มีนาคม 2565.

อรวรรณ ศรีโสมพันธ์, นิติพงษ์ ส่งศรีโรจน์ และนริศ สินศิริ. 2559. ต้นทุนผลตอบแทนของการปลูกยางพารากับพืชเศรษฐกิจที่สำคัญในจังหวัดมหาสารคาม. แก่นเกษตร. 44: 559-564.

FAO. 1976. A framework for land evaluation. Soils Bulletin No.32. Food and Agriculture Organization of the United Nations, Rome, Italy.

FAO. 1983. Guidelines: Land Evaluation for Rainfed Agriculture. Soils Bulletin No.52. Food and Agriculture Organization of the United Nations, Rome, Italy.

Gurung, B., R. Regmi, A. Paudel, U. Paudel, A. Paudel, and S. Shrestha. 2021. Profitability, marketing, and resource use efficiency of ginger production in Rukum west, Nepal. Archives of Agriculture and Environmental Science. 6: 426-435.

Hirunkul, B., C. Mongkolsawat, and R. Suwanwerakamthorn. 2019. Integration of land qualities for assessing land suitability for rice in the Chi. Songklanakarin Journal of Science and Technology. 41: 1367-1375.

Mehmood, Y., B. Anjum, and M. Sabir. 2011. Benefit cost ratio analysis of organic and inorganic rice crop production; evidence from district Sheikhupura in Punjab Pakistan. Pakistan Journal of Medical Sciences. 63: 174-177.

Mongkolsawat C., P. Thirangoon and P. Kuptawutinan. 1999. Land Evaluation for Combining Economic Crops using GIS and Remotely Sensed Data. In proceedings 20th ACRS 1999 at Hong Kong, China.

Mongkolsawat, C., and W. Putklang. 2012. Rubber tree expansion in forest reserve and paddy field across the Greater Mekong Sub-Region, northeast Thailand based on remotely sensed imagery. pp. 214–219. In Proceedings of the 33rd Asian Conference on Remote Sensing 26–30 November 2012, Pattaya, Thailand.

Samranpong, C., B. Ekasingh, and M. Ekasingh. 2009. Economic land evaluation for agricultural resource management in Northern Thailand. Environmental Modelling & Software. 24: 1381-1390.