การสำรวจพฤติกรรมสุขภาพของเกษตรกรสวนส้มจากการใช้สารกำจัดศัตรูพืช

Main Article Content

กัลย์กนิต พิสมยรมย์
พิมสหรา ยาคล้าย
เตชทัต หอมบุปผา
สุทิสา ถาน้อย
ณัฐวุฒิ เจริญผล

บทคัดย่อ

การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ปัจจุบันในการใช้สารกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรสวนส้ม และศึกษาปริมาณสารกำจัดศัตรูพืชที่ปนเปื้อนในร่างกายของเกษตรกรและสิ่งแวดล้อม ในพื้นที่เพาะปลูกสวนส้มสีทอง ตำบลแม่สำ อำเภอ    ศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย กลุ่มตัวอย่างในการศึกษา คือ เกษตรกรสวนส้ม จำนวน 144 คน ทำแบบสัมภาษณ์ทางด้าน อายุ เพศ อาชีพ ประวัติการเจ็บป่วย พฤติกรรมการใช้สารกำจัดศัตรูพืช ชนิดสารเคมีที่ใช้ รวมถึงตรวจคัดกรองระดับสารเคมีตกค้างในเลือดของอาสาสมัครเกษตรกรสวนส้มสีทอง เพื่อวิเคราะห์หาการปนเปื้อนของสารกำจัดศัตรูพืชในร่างกาย และทำการเก็บตัวอย่างสิ่งส่งตรวจในสวนส้มสีทองเพื่อวิเคราะห์การปนเปื้อนของสารกำจัดศัตรูพืชในสิ่งแวดล้อม ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 56.90 อายุเฉลี่ย 52.1 ปี ทำสวนส้มสีทองเป็นอาชีพหลักร้อยละ 86.10 มีระดับของสารเคมีตกค้างในเลือดอยู่ในระดับที่มีความเสี่ยง จำนวน 136 คน คิดเป็นร้อยละ 94.44 สาเหตุจากการสัมผัสสารเคมีทางการเกษตรโดยตรง คือ อยู่ในบริเวณที่มีการฉีดพ่นหรือสัมผัสกับสารเคมีกำจัดศัตรูพืชแล้วไม่เปลี่ยนเสื้อผ้าหลังการฉีดพ่นทันทีและเมื่อเสื้อผ้าเปื้อนสารกำจัดศัตรูพืชก็ยังคงสวมใส่อยู่โดยไม่ได้ทำความสะอาดร่างกาย  นอกจากนี้พบสารกำจัดวัชพืชที่ใช้ในปริมาณสูงคือ ไกลโฟเซตและพาราควอต คิดเป็นร้อยละ 64.60 และ 41.70 ตามลำดับ ส่วนสารกำจัดแมลงที่เกษตรกรสวนส้มสีทองใช้ในปริมาณสูง คือ อะบาเม็กติน และการตรวจหาสารปนเปื้อนในดินพบอนุพันธ์ไกลโฟเซตในปริมาณ 0.59 มก./กก. และพาราควอตในปริมาณ 7.59 มก./กก. ผลจากการศึกษานี้จะทำให้ได้ข้อมูลพื้นฐานของเกษตรกรสวนส้มในการประเมินสุขภาพของตนเองและสภาพแวดล้อมในการทำงาน สร้างความตระหนักในการป้องกันตนเองจากการใช้สารเคมีทางการเกษตรในสวนส้มได้อย่างปลอดภัย

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กรมควบคุมโรค. 2559. สารเคมีกำจัดศัตรูพืชและผลกระทบต่อสุขภาพ. แหล่งข้อมูล: http://envocc.ddc.ddc.moph.go.th/contents/view/405. ค้นเมื่อ 25 เมษายน 65.

ธีรนันท์ วรรณศิริ, บำเพ็ญ พงศ์เพชรดิถ, และอัจฉรา อ่วมเครือ. 2562. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเกษตรกรสวนส้มโอเพื่อผลผลิตส้มโอปลอดภัยที่จังหวัดนครปฐม. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. 212-221.

นัฐวุฒิ ไผ่ผาด, สมจิตต์ สุพรรณทัสน์, และธีรพัฒน์ สุทธิประภา. 2557. ผลจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม อำเภอร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์. แก่นเกษตร. 42(3): 301-310.

บุญฤทธิ์ เผือกวัฒนะ. 2560. เกษตรอินเทรนด์ ส้มเขียวหวานสีทองที่แม่สิน จ.สุโขทัย ส้มคุณภาพผลิตส่งโมเดิร์นเทรด. มติชนเส้นทางเศรษฐกิจออนไลน์. แหล่งข้อมูล: https://www.technologychaoban.com/agricultural-technology/article_38861. ค้นเมื่อ 30 ธันวาคม 64.

มัลลิกา ธีระกุล, ปิยะวดี สราภิรมย์, และอลิศรา เรืองแสง. 2560. การหาสภาวะที่เหมาะสมในการย่อยสลายพาราควอทโดยใช้กลุ่มจุลินทรีย์ที่คัดแยกจากดินบริเวณรอบ ๆ รากพืช. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 11(2): 90-99.

วรรณวิมล ภัทรสิริวงศ์. 2560. การศึกษาพัฒนาแนวทางการจัดการความเสี่ยงจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนด้วยกระบวนการวิจัยแบบมีส่วนร่วมปีที่1: จังหวัดเชียงรายและจังหวัดน่าน. อินฟินิตี้ มีเดีย. 1-255.

สุธาสินี อั้งสูงเนิน. 2558. ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 9(1): 50-63.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2560. ปริมาณและมูลค่าการนำเข้าวัตถุอันตรายทางการเกษตร ปี 2554-2560. แหล่งข้อมูล: http://oaezone.oae.go.th/view/1/ปัจจัยการผลิต/TH-TH. ค้นเมื่อ 30 ธันวาคม 64.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2563. ข้อมูลการผลิตสินค้าเกษตร. แหล่งข้อมูล: http://www.oae.go.th/view/1/ข้อมูลการผลิตสินค้าเกษตร/TH-TH. ค้นเมื่อ 30 ธันวาคม 64.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุโขทัย. 2563. รายงานประจำปี. แหล่งข้อมูล: http://www.skto.moph.go.th/document_file/raynganyear63. ค้นเมื่อ 18 พฤษภาคม 65.

อัจฉราพร สมภาร. 2550. นิเวศพิษวิทยาของสารเคมีกาจัดศัตรูพืชและสัตว์ที่ใช้ในนาข้าวต่อแพลงก์ตอน. วิทยานิพนธ์ คณะเกษตรศาสตร์, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Alavanja, M.C., and M.R. Bonner. 2005. Pesticides and human cancers. Cancer Investigation. 23: 700-711.

Del Prado-Lu, J.L. 2007. Anthropometric Measurement of Filipino Manufacturing Workers. Industrial Ergonomics. 37: 497-503.

Kongtip, P., N. Nangkongnab, R. Phupancharoensuk, C. Palarach, D. Sujirarat, S. Sangprasert, M. Sermsuk, N. Sawattrakool, and S.R. Woskie. 2017. Glyphosate and Paraquat in Maternal and Fetal Serums in Thai Women. Journal of Agromedicine. 22(3): 282-289.

Krejcie, R.V., and D.W. Morgan. 1970. Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3): 607–610.

Miligi, L., A.S. Costantini, A. Veraldi, A. Benvenuti, and P. Vineis. 2006. Cancer and pesticides: an overview and some results of the Italian multicenter case-control study on hematolymphopoietic malignancies. Annals of the New York Academy of Sciences. 1076: 366-377.

Nunnally, J.C. 1978. Psychometric theory. 2nd Edition. New York: McGraw-Hill.

World Health Organization. 2017. WHO SPECIFICATIONS AND EVALUATIONS FOR PUBLIC HEALTH PESTICIDES, Bifenthrin. 1-45.