ผลกระทบของยางแท่งที่ใช้สารปลอมปนในการจับตัวยางก้อนถ้วย
Main Article Content
บทคัดย่อ
ยางก้อนถ้วยเป็นวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตยางแท่งและมักประสบปัญหาการใช้สารปลอมปนในการจับตัวยาง การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบองค์ประกอบและความเข้มข้นของสารจับตัวยางที่ใช้ในการผลิตยางก้อนถ้วยที่จำหน่ายทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ และศึกษาผลกระทบต่อการนำยางก้อนถ้วยไปผลิตเป็นยางแท่ง จากการตรวจสอบปริมาณความเข้มข้นของสารจับตัวด้วยเทคนิคไอออนโครมาโทกราฟี พบว่าประกอบด้วยไอออนฟอร์เมต 25% ของจำนวนตัวอย่างที่ตรวจพบ และองค์ประกอบของไอออนซัลเฟต 50% ของจำนวนตัวอย่างที่ตรวจพบ โดยมีความเข้มข้นในช่วง 17.89–93.46% โดยน้ำหนัก และ 36.17–99.74% โดยน้ำหนัก ตามลำดับ ส่วนสารจับตัวที่มีองค์ประกอบของไอออนฟอร์เมตผสมกับไอออนคลอไรด์ ไอออนซัลเฟตผสมกับไอออนคลอไรด์พบ 18.75% และ 6.25% ตามลำดับ ของจำนวนตัวอย่างที่ตรวจพบ และจากการนำยางก้อนถ้วยที่จับตัวด้วยกรดชนิดต่าง ๆ ผลิตยางแท่ง พบว่าสมบัติทางกายภาพของยางแท่งที่ใช้กรดฟอร์มิกในการจับตัวยางก้อนถ้วยมีสมบัติทางกายภาพเทียบเท่ากับยางแท่ง STR 5 ส่วนยางแท่งที่มีสารปลอมปน พบว่าสมบัติด้านความอ่อนตัวเริ่มแรก ดัชนีความอ่อนตัว และความหนืดต่ำกว่ามาตรฐานยางแท่ง STR 20
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
การยางแห่งประเทศไทย. 2564. รายงานข้อมูลสถิติยางพาราของไทยและการพยากรณ์ประจำเดือนเมษายน 2564. ฝ่ายเศรษฐกิจยาง.
กรุงเทพฯ; การยางแห่งประเทศไทย.
นิคม ศรีหะมงคล และสมเกียรติ กสิกรานันท์. 2558. การเปรียบเทียบประสิทธิภาพสารที่ใช้ผลิตยางก้อนถ้วยที่มีผลต่อผลผลิตและคุณภาพของยางก้อนถ้วย. วารสารแก่นเกษตร. 43 (ฉบับพิเศษ 1): 629-634.
ปรีดิ์เปรม ทัศนกุล. 2547. รายงานการตรวจคุณภาพยางแผ่นรมควันในโกดังเก็บยาง. สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร. กรุงเทพฯ.
ปรีดิ์เปรม ทัศนกุล. 2555. มหันตภัยร้ายของเกลือแคลเซียมในการผลิตยางก้อนถ้วย. วารสารยางพารา. 33(2): 23-27.
ปรีดิ์เปรม ทัศนกุล. 2556. เอกสารคำแนะนำสำหรับชาวสวนยาง คู่มือการผลิตยางก้อนถ้วยคุณภาพดี. ฝ่ายวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมยางการยางแห่งประเทศไทย. กรุงเทพฯ.
ปรีดิ์เปรม ทัศนกุล. 2557. ปัจจัยที่ใช้ในการควบคุมคุณภาพยางแท่งจากยางแห้ง. วารสารยางพารา. 35(2): 15-25.
พิศิษฐ์ พิมพ์รัตน์, วรพงษ์ พูนสวัสดิ์ และกรรณิการ์ สหกะโร. 2564. ผลของการใช้กรดฟอร์มิกและกรดซัลฟิวริกเป็นสารจับตัวยางที่มีความเข้มข้นต่างกัน 4 ระดับ ต่อสมบัติของยางแท่งเอสทีอาร์ 20 สมบัติการคงรูปของยางคอมพาวนด์ และสมบัติเชิงกลของยางหลังคงรูป. วารสารยางพารา. 42(2): 11–23.
สถาบันวิจัยยาง. 2554. การทดสอบตามมาตรฐานยางแท่งเอสทีอาร์. สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร. กรุงเทพฯ.
สมศักดิ์ ศิริวนารังสรรค์ และอุทัยวรรณ บุตรแพง. 2558. รูปแบบการจัดการปัญหาเหตุรำคาญเรื่องกลิ่นจากการประกอบกิจการที่เป็น
อันตรายต่อสุขภาพประเภทการสะสมยางก้อนถ้วย. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อม. 18(1): 60-80.
สมาคมยางพาราไทย. 2564. ปัญหาสิ่งปลอมปนและสารปลอมปนที่เติมในน้ำยาง ยางก้อนถ้วยหรือวัตถุดิบยางธรรมชาติ. ใน
บันทึกข้อความ. สงขลา.
มาตรฐานสินค้าเกษตร. มกษ 5907-2561. 2561. การปฏิบัติที่ดีสำหรับการผลิตยางเครป. สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร
แห่งชาติ. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
มาตรฐานสินค้าเกษตร. มกษ 5908-2562. 2562. การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับยางพารา เล่ม 1 การผลิตน้ำยางสด. สำนักงาน
มาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
มาตรฐานสินค้าเกษตร. มกษ 5910-2563. 2563. การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับยางพารา เล่ม 2 การผลิตยางก้อนถ้วย. สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
ISO 2479:1972. 1972. Sodium chloride for industrial use — Determination of matter insoluble in water or in acid and preparation of principal solutions for other determinations.
ISO 2480:1972. 1972. Sodium chloride for industrial use — Determination of sulphate content — Barium sulphate
gravimetric method.
Yunyongwattanakorn, J., Y. Tanaka, S. Kawahara, and W. Klinklai. 2003. Study the effect of proteins and fatty acids on storage hardening and gel formation under various conditions during accelerated storage of various kinds of natural rubber. Rubber Chemistry Technology. 76: 1228-1240.