การเสริมน้ำนึ่งปูม้าเหลือทิ้งเพื่อเป็นสารดึงดูดและกระตุ้นการกินอาหาร ต่อการเจริญเติบโตและอัตราการรอดตายของปูม้า (Portunus pelagicus)

Main Article Content

ทิพย์สุดา ชงัดเวช

บทคัดย่อ

การศึกษาการเสริมน้ำนึ่งปูม้าเหลือทิ้งในอาหารเพื่อเป็นสารดึงดูดและกระตุ้นการกินอาหารของปูม้าต่อการเจริญเติบโต และอัตราการรอดตาย เพื่อหาระดับการเสริมน้ำนึ่งปูม้าที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตและอัตราการรอดตายของปูม้า การทดลองมี 5 ชุดการทดลอง ๆ ละ 3 ซ้ำ ได้แก่ อาหารที่เสริมน้ำนึ่งปูม้าที่ระดับ 0 (ชุดควบคุม; T1), 2 (T2), 4 (T3), 6 (T4) และ 8 (T5) มล./อาหาร 100 ก. การทดลองพบว่า การเสริมน้ำนึ่งปูม้าที่ระดับ 2 มล./อาหาร 100 ก. มีร้อยละของจำนวนปูม้าที่เข้ากินอาหารมากที่สุด (P<0.05) และยังส่งผลให้ร้อยละของปูม้าที่เข้ากินอาหารในนาทีที่ 1 และ 2 มากกว่าชุดการทดลองอื่น (P<0.05) แต่นาทีที่ 5, 10, 15 และ 20 นาที การเสริมน้ำนึ่งปูม้าที่ระดับ 2 และ 4 มล./อาหาร 100 ก. มีร้อยละของจำนวนปูม้าที่เข้ากินอาหารมากกว่าชุดการทดลองอื่น (P<0.05) และยังเป็นระดับที่ดึงดูดและกระตุ้นการกินอาหารทำให้ปูม้ามีการเจริญเติบโตทางด้านน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น ความถี่ในการลอกคราบ อัตราการรอดตาย ปริมาณอาหารที่ปูม้ากิน และอัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อมากกว่าชุดการทดลองอื่น (P<0.05) ดังนั้นการเสริมน้ำนึ่งปูม้าในอาหารที่ระดับ 2 มล./อาหาร 100 ก. เป็นระดับการใช้น้ำนึ่งปูม้าที่น้อยที่สุดแต่มีความเหมาะสมต่อการเป็นสารดึงดูดและการกระตุ้นการกินอาหาร ปูม้าจึงมีการเจริญเติบโตและมีอัตราการรอดตายที่สูงสุด

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

ชุติมา ตันติกิตติ และไพรัตน์ โสภโณดร. 2552. การใช้เครื่องในปลาทูน่าไฮโดรไลเสตเพื่อเป็นสารกระตุ้นการกินอาหารและการแทนที่ปลาป่นด้วยฮีโมโกลบินป่นที่ระดับต่าง ๆ ต่อการเจริญเติบโตและประสิทธิภาพการใช้อาหารของกุ้งขาว (Litopenaeus vannamei). แหล่งข้อมูล: https://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2010/7259. ค้นเมื่อ 3 มกราคม 2565.

บุญรัตน์ ประทุมชาติ. 2559. การพัฒนาอาหารเม็ดสำเร็จรูปเพื่อเลี้ยงปูม้า (Portunus pelagicus) โดยพิจารณาจากขนาดและระดับโปรตีน. แหล่งข้อมูล: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/bitstream/handle/1234567890/2037/2563_045. pdf?sequence=1&isAllowed=y. ค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2564.

ปิยารมณ์ พวงช่อ, ธนิกานต์ บัวทอง, จีรรัตน์ เกื้อแก้ว และสกนธ์ แสงประดับ. 2561. ผลของการใช้โปรตีนไฮโดรไลเสตจากเศษทิ้งกุ้งเพื่อเป็นสารดึงดูดการกินสำหรับการแทนที่ปลาป่นด้วยวัตถุดิบจากพืชในอาหารกุ้งกุลาดำ (Penaeus monodon Fabricius, 1798). สารวิชาการประมง. 1(1): 55-58.

พิเชต พลายเพชร, ธนิกานต์ บัวทอง และจีราพร ฟูวุฒิ. 2561ก. การใช้น้ำนึ่งปลาทูน่าเข้มข้นเป็นสารดึงดูดการกินอาหารที่ใช้พืชเป็นแหล่งโปรตีนหลักสำหรับกุ้งกุลาดำ (Penaeus monodon Fabricius, 1798). สารวิชาการประมง. 1(1): 37-42.

พิเชต พลายเพชร, ปิยารมณ์ คงขึม, ธนิกานต์ บัวทอง และสกนธ์ แสงประดับ. 2561ข. การใช้ตะกอนน้ำนึ่งปลาทูน่าเป็นสารดึงดูดการกินอาหารที่ใช้พืชเป็นแหล่งโปรตีนหลักสำหรับปลากะพงขาว (Lates calcarifer Bloch, 1790) และกุ้งขาว (Litopenaeus vannamei Boone, 1931). สารวิชาการประมง. 1(1): 43-48.

มนทกานติ ท้ามติ้น, สุพิศ ทองรอด และสิริพร ลือชัยชัยกุล. 2551. ระดับโปรตีนที่เหมาะสมในอาหารต่อการเจริญเติบโต ของลูกปูม้า (Portunus pelagicus Linnaeus, 1758) ถึงระยะ 10 กรัม. แหล่งข้อมูล: https://www4.fisheries.go.th/ local/ file_document/20170301080130_file.pdf. ค้นเมื่อ 2 ธันวาคม 2564.

มนทกานติ ท้ามติ้น, สุพิศ ทองรอด, จีรรัตน์ เกื้อแก้ว และสิริพร ลือชัย ชัยกุล. 2555. การตอบสนองของลูกปูม้า (Portunus pelagicus Linnaeus, 1758) ต่อแร่ธาตุรวมระดับสูงในอาหาร. แหล่งข้อมูล: https://www4.fisheries.go.th/local/file_document/20170301080401_file.pdf. ค้นเมื่อ 19 มกราคม 2565.

วาสนา อากรรัตน์, วุฒิชัย อ่อนเอี่ยม และสุทิน สมบูรณ์. 2562. การพัฒนาอาหารเม็ดสำเร็จรูปสำหรับการเลี้ยงปูม้า (Portunus pelagicus). น. 347-355. ใน: การประชุมวิชาการ ครั้งที่ 57 ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เรื่องชุมชนโลกาภิวัฒน์สู่สังคมไทยยุคติจิทัล 29 มกราคม – 1 กุมภาพันธ์ 2562. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพ.

วัฒนา วัฒนกุล, อุไรวรรณ วัฒนกุล และเจษฎา อิสเหาะ. 2554. ระดับที่เหมาะสมของน้ำนึ่งปลาและกากเนื้อเมล็ดในปาล์มน้ำมันในอาหารกุ้งขาวแวนนาไม. แหล่งข้อมูล: https://fishtech.rmutsv.ac.th/fishtech/sites/default/files/files/2557/SAR56/FISHTECH%204.0.2-03(2).pdf. ค้นเมื่อ 2 ธันวาคม 2564.

วัฒนา วัฒนกุล, อุไรวรรณ วัฒนกุล และเจษฎา อิสเหาะ. 2556. ผลของการเสริมน้ำนึ่งปลาในอาหารต่อการเจริญเติบโตและอัตราการรอดตายของกุ้งก้ามกราม. น. 3239-3246. ใน: การประชุมวิชาการแห่งชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ครั้งที่ 10 6-7 ธันวาคม 2556. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, นครปฐม.

วัฒนา วัฒนกุล, อุไรวรรณ วัฒนกุล และเจษฎา อิสเหาะ. 2557. ผลของการใช้น้ำนึ่งปลาเป็นแหล่งโปรตีนทดแทนโปรตีนจากปลาป่น ในอาหารต่อการเจริญเติบโตและอัตราการรอดตายของปลาช่อน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ. 2(2): 121-130.

ศิริภรณ์ โคตะมี, เพ็ญพรรณ ศรีสกุลเตียว และสมสมร แก้วบริสุทธิ์. 2556. องค์ประกอบแร่ธาตุหลักในน้ำทะเลเปรียบเทียบกับน้ำเกลือสินเธาว์เพื่อการอนุบาลลูกกุ้งก้ามกราม. แก่นเกษตร. 41(4): 419-424.

สุดารัตน์ นิลรัตน์, กัญญารัตน์ งามเจริญ, ธนิษฐา ทรรพนันทน์ และอมรศักดิ์ สวัสดี. 2562. ชีววิทยาและการประมงปูม้าในประเทศไทย. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 21(1): 117-127.

สุรพล ฉลาดคิด. 2564. การสำรวจการทำประมงอวนจมปูเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนบริเวณหาดวอนนภา อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี. วารสารวิจัยรำไพพรรณี. 15(1): 127-136.

อนงค์ คูณอาจ, เบ็ญจมาศ ไพบูลย์กิจกุล และชลี ไพบูลย์กิจกุล. 2553. ผลของวัตถุดิบอาหารกลุ่มโปรตีนและไขมันต่อการกระตุ้นการอยากกินอาหารในหอยหวาน Babylonia areolata. วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 15(11): 1061-1066.

โชคชัย เหลืองธุวปราณีต. 2554. หลักการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ. สำนักพิมพ์โฟร์เพซ. กรุงเทพฯ.

Alberto, J.P.N. V.C.Sá Marcelo, F.F. Andriola-Neto, and D. Lemos. 2006. Behavioral response to selected feed attractants and stimulants in Pacific white shrimp, Litopenaeus vannamei. Aquaculture. 260: 244 –254.

AOAC. 2016. Official Methods of Analysis of AOAC International. 20th Edition. AOAC International, Rockville, MD, USA.

AOAC. 2019. Official Methods of Analysis of AOAC International. Gaithersburg, Maryland, USA.

APHA, AWWA and WEF. 1998. Standard Methods for the Examination of Water and Wastewater. 20th Edition. United Book Press Inc., Baltimore, Maryland, USA.

Bardera, G., A.G.O. Matthew, N.F. Felipe, M.A.C. Jose, A.S. Katherine, and E.A. Mhairi. 2020. Assessing feed attractability in Pacific white shrimp (Litopenaeus vannamei) using an automated tracking software. Aquaculture. 529: 1-10.

Cheryl, A., P.S.B.R. James, and B. Sundaramoorthy. 2015. Determination of feeding stimulants in shrimp using a solid matrix bioassay. Biochemical and Cellular Archives. 15(1): 259-264.

Chin, H.C., U.P.D. Gunasekera, and H.P. Amandakoon. 1991. Formulation of artificial feeds for mud crab culture: a preliminary biochemical, physical and biological evaluation, pp. 179-184. In: report of the seminar on the mud crab culture and trade the mud crab. 5-8 November 1991. Surat Thani, Thailand.

Herbert, P., P. Barros, N. Ratola, and A. Alves. 2000. HPLC determination of amino acids in musts and port wine using OPA/FMOC derivatives. Journal of Food Science. 65(7): 1130-1133.

Miguel, V.A., G. Kawamura, and K. Anraku. 2011. Bait improvement for swimming crab trap fisheries. New Frontiers in Crustacean Biology. 47-55.

Montoya-Martínez, C., H. Nolasco-Soria, F. Vega-Villasante, O. Carrillo-Farnés, A. Álvarez-González, and R. Civera-Cerecedo. 2018. Attractability and palatability of ingredients in longarm river prawn Macrobrachium tenellum feed. Latin American Journal of Aquatic Research. 46(3): 615-620.

Sasaki, K., and Y. Sawada. 1980. Determination of ammonia in estuary. Bulletin of the Japanese Society of Scientific Fisheries. 46(3): 319-321.

Smith, D.M., S.J. Tabrett, M.C. Barclay, and S.J. Irvin. 2005. The efficacy of ingredients included in shrimp feeds to stimulate intake. Aquaculture Nutrition. 11(4): 263-272.

Strickland, J.D.H., and T.R. Parsons. 1972. A Practical Handbook of Seawater Analysis. Fisheries Research Board of Canada Bulletin 167, Ottawa.

Suresh, A.V., K.P. Kumaraguru vasagam, and S. Nates. 2011. Attractability and palatability of protein ingredients of aquatic and terrestrial animal origin, and their practical value for blue shrimp, Litopenaeus stylirostris fed diets formulated with high levels of poultry byproduct meal. Aquaculture. 319: 132–140.

Tantikitti, C. 2014. Feed palatability and the alternative protein sources in shrimp feed. Songklanakarin Journal of Science and Technology. 36(1): 51-55.

Unnikrishnan, U., and R. Paulraj. 2010. Dietary protein requirement of giant mud crab Scylla serrata juveniles fed iso-energetic formulated diets having graded protein levels. Aquaculture Research. 41: 278–294.

Yuan, Y., A.L. Lawrence, S.B. Chehade, K.E. Jensen, R.J. Barry, L.A. Fowler, R. Makowsky, M.L. Powell, and S.A. Watts. 2021. Feed intake as an estimation of attractability in Pacific white shrimp Litopenaeus vannamei. Aquaculture. 532: 1-6.