อิทธิพลของน้ำหมักชีวภาพต่อการย่อยสลายและการเปลี่ยนแปลงสมบัติทางเคมีของฟางข้าว

Main Article Content

ชนากานต์ แย้มฎีกา
ผานิตย์ นาขยัน
สาวิกา กอนแสง
ภาวิณี อารีศรีสม
วีณา นิลวงศ์

บทคัดย่อ

"ฟางข้าว” เป็นวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรที่สามารถนำกลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการปรับปรุงดินได้ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของน้ำหมักชีวภาพต่อการย่อยสลายและการเปลี่ยนแปลงสมบัติทางเคมีของฟางข้าว โดยวางแผนการทดลองแบบ 3x3x2 factorial in completely randomized design (CRD) จำนวน 3 ซ้ำ ประกอบด้วยปัจจัยที่ 1 คือ ชนิดของน้ำหมักชีวภาพ ได้แก่ 1) น้ำหมักปลา 2) น้ำหมักสับปะรด และ 3) สารเร่งซุปเปอร์ พด.2 ที่ขยายเชื้อ ปัจจัยที่ 2 คือ ความเข้มข้นของน้ำหมักชีวภาพ ได้แก่ 1) ไม่มีการเจือจาง 2) เจือจาง 10 เท่า และ 3) เจือจาง 15 เท่า และปัจจัยที่ 3 คือ อัตราส่วนฟางข้าวต่อน้ำหมักชีวภาพ ได้แก่ 1:10 และ 1:25 ก./มล. ทำการหมักฟางข้าวที่อุณหภูมิห้องเป็นเวลา 12 สัปดาห์ ผลการทดลองพบว่า ชนิดของน้ำหมักชีวภาพ ความเข้มข้นของน้ำหมักชีวภาพ และอัตราส่วนฟางข้าวต่อน้ำหมักชีวภาพมีอิทธิพลต่อการย่อยสลายและการเปลี่ยนแปลงสมบัติทางเคมี ฟางข้าว (P<0.05) โดยกรรมวิธีการหมักฟางข้าวด้วยน้ำหมักปลาที่ไม่มีการเจือจาง อัตราส่วนฟางข้าวต่อน้ำหมักชีวภาพ 1:10 ทำให้มีประสิทธิภาพในการย่อยสลาย ปริมาณไนโตรเจนในฟางข้าวและสารละลายเฉลี่ยสูงที่สุด เท่ากับ 20.95, 1.96, และ 0.40% ตามลำดับ ในขณะที่ปริมาณอินทรียวัตถุในสารละลายเฉลี่ยสูงที่สุดเท่ากับ 8.85% พบในกรรมวิธีที่หมักด้วยสารเร่งซุปเปอร์ พด. 2 ที่เจือจาง 10 เท่า อัตราส่วนฟางข้าวต่อน้ำหมักชีวภาพ 1:25  สำหรับค่า pH และค่าการนำไฟฟ้า (EC) ของสารละลายเพิ่มสูงขึ้นหลังการหมัก โดยกรรมวิธีที่ใช้น้ำหมักสับปะรดที่ไม่มีการเจือจาง อัตราส่วนฟางข้าวต่อน้ำหมักชีวภาพ 1:10 ทำให้ค่า pH เพิ่มสูงสุดเฉลี่ย 8.55  ในขณะที่ค่าการนำไฟฟ้า (EC) มีค่าเฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ 32.95 dS/m ในกรรมวิธีที่ใช้สารเร่งซุปเปอร์ พด.2 ไม่เจือจาง อัตราส่วนฟางข้าวต่อน้ำหมักชีวภาพ 1:10 การศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าชนิดและความเข้มข้นของน้ำหมักเป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อการย่อยสลายและการเปลี่ยนแปลงสมบัติทางเคมีของฟางข้าวและสารละลายหลังการหมัก ซึ่งสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางการในการผลิตปุ๋ยหมักฟางข้าวและการจัดการฟางข้าวในนาข้าวเพื่อการปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์ของดินและการผลิตพืชได้

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กรมพัฒนาที่ดิน. 2553. คู่มือปฏิบัติงาน กระบวนการวิเคราะห์พืช ปุ๋ย และสิ่งปรับปรุงดิน. สำนักพิมพ์ กรมพัฒนาที่ดิน, กรุงเทพฯ.

กรมพัฒนาที่ดิน. 2558. คู่มือสำหรับหมอดินอาสา. สำนักพิมพ์ กรมพัฒนาที่ดิน, กรุงเทพฯ.

กรมพัฒนาที่ดิน. 2559. การไถกลบตอซังเพื่อปรับปรุงดินและเพิ่มผลผลิตข้าว. แหล่งข้อมูล: http://www.ldd.go.th/menu_moc/

POSTER/rice/rice.htm. ค้นเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2562.

กรมวิชาการเกษตร. 2557. กำหนดเกณฑ์ปุ๋ยอินทรีย์ พ.ศ. 2557. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

คณาจารย์ภาควิชาปฐพีวิทยา. 2544. ปฐพีวิทยาเบื้องต้น. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

จิตรา อินเกตุ, ไพบูลย์ ประโมจนีย์ และนันทิยา พนมจันทร์. 2563. สมบัติทางเคมีของธาตุอาหารของปุ๋ยหมักแบบเติมอากาศผลิตจากหญ้าเนเปียร์ ต้นข้าวโพด และผักตบชวา. วารสารแก่นเกษตร. 48: 465-472.

นวลจันทร์ ชบา. 2557. ศึกษาการใช้น้ำหมักชีวภาพ และจุลินทรีย์ต่อการย่อยสลายตอซังข้าว การปลดปล่อยไนโตรเจนที่เป็นประโยชน์และการปลูกข้าวสุพรรณบุรี 1 ในชุดดินเดิมบาง. ใน: รายงานผลวิจัย. กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ.

บังอร อุบล, ชัยสิทธ์ ทองจู, จุฑามาศ ร่มแก้ว และศุภชัย อำคา. 2559. ผลของการจัดการตอซังข้าวร่วมกับการเตรียมดินและชนิดของปุ๋ยต่อการเจริญเติบโต ผลผลิตข้าว และสมบัติของดินบางประการ. วารสารพืชศาสตร์สงขลานครินทร์. 3: 39-49.

ปิยะรัตน์ ทองธานี. 2561. ประสิทธิภาพของปุ๋ยหมักจากวัสดุเหลือใช้จากการเกษตรต่อการเจริญเติบโตของคะน้ายอดไต้หวัน พันธุ์บางบัวทอง 35 ที่ผลิตภายใต้การมีส่วนร่วมของเกษตรตำบลป่าตัน อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง. วารสารแก่นเกษตร. 46: 1045-1056.

วิภาดา ศิริอนุสรณ์ศักดิ์ และนุษรา สินบัวทอง. 2556. การปรับสภาพฟางข้าวทางเคมีเพื่อเป็นสารตั้งต้นในการผลิตพลังงานทดแทน. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

วีณารัตน์ มูลรัตน์. 2553. ประสิทธิภาพของน้ำหมักชีวภาพจากเศษปลาที่ใช้น้ำกากส่าเหล้าทดแทนกากน้ำตาลต่อการเจริญเติบโตของผักโขมผัก (Amaranthus tricolor) ผักกว้างตุ้งฮ่องเต้ (Brassica campestris var. chinensis) และผักบุ้งจีน (Ipomoea aquatica var. reptans). วิทยานิพนธ์ ปริญญาวิทยาศาสตร มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.

วีณารัตน์ มูลรัตน์, สมชาย ชคตะการ และอัญชลี จาละ. 2553. ประสิทธิภาพของน้ำหมักชีวภาพจากเศษปลาที่ใช้น้ำกากส่าเหล้าทดแทนกากน้ำตาลต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของผักกวางตุ้ง. ใน: การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 48: สาขาพืช. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, กรุงเทพฯ.

ศศิธร กู้สุวรรณวิจิตร, สุดารัตน์ ตรีเพชรกุล และแสงชัย เอกประทุมชัย. 2557. การผลิตน้ำหมักชีวภาพจากน้ำทิ้งในกระบวนการผลิตน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์: อิทธิพลของชนิดน้ำตาล. วารสารวิจัยและพัฒนา มจธ. 37: 447-466.

สำนักนิเทศและการถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดิน. 2550. การขยายเชื้อจุลินทรีย์ในสารเร่ง พด.1 พด.2 พด.3 ของกรมพัฒนาที่ดิน. กรมพัฒนาที่ดิน, กรุงเทพฯ.

สิรินดา ยุ่นฉลาด และสุจิตรา ทนสูงเนิน. 2552. การผลิต D-lactic acid โดยแบคทีเรียกรดแลคติคเพื่อผลิตพลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพ. วารสารศูนย์บริการวิชาการ. 17: 16-23.

โสฬส แซ่ลิ้ม. 2559. ปุ๋ยอินทรีย์และการใช้ประโยชน์ในประเทศไทย. แหล่งข้อมูล: http://www1.ldd.go.th/WEB_PSD/Employee%20 Assessment/wean/pch/pch38/3.pdf. ค้นเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2562.

สมศักดิ์ วงใน. 2528. จุลินทรีย์และกิจกรรมในดิน. ไทยวัฒนาพานิช, กรุงเทพฯ.

อนุสรา สมรัก. 2560. ความรู้และการปฏิบัติของเกษตรกรผู้เข้าอบรมการลดการเผาตอซังพืช ในอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ ปริญญาวิทยาศาสตร มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่.

อมรัตน์ ชุมทอง และภัทรพร ภักดีฉนวน. 2562. ผลของน้ำหมักชีวภาพต่อการย่อยสลายฟางข้าวและการเจริญเติบโตของข้าวพื้นเมืองพันธุ์รวงรี. วารสารพืชศาสตร์สงขลานครินทร์. 6: 82-90.

อัจฉรา เพิ่ม, อัสมา มาลินี และฮุสนา ดอเลาะ. 2561. ฤทธิ์ของน้ำหมักชีวภาพจากสับปะรด มะเขือเทศ ผลยอ และผลไม้รวมในการยับยั้งการเจริญของเชื้อ Staphylococcus และ Salmonella Typhimurium. น. 1,093-1,101 ใน: รายงานการประชุมวิชาการระดับชาติและนานชาติ ครั้งที่ 2. มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, บุรีรัมย์.

Abdulla, H.M. 2007. Enhancement of rice straw composting by lignocellulolytic Actinomycete strains. International Journal of Agriculture and Biology. 9: 106-109.

AOAC. 1980. Official Methods of Analysis of AOAC. Available: https://archive.org/details/gov.law.aoac.methods.1980/ page/n775/mode/2up. Accessed August 30, 2020.

Lalremruati M., and A.S. Devi. 2021. Changes in physico-chemical properties during composting of three common household organic solid wastes amended with garden soil. Bioresource Technology Reports. 15: 1-7.

Nie, E., G. Ding, and Z. Guodi. 2020. Effects of lactic acid on modulating the ammonia emissions in co-composts of poultry litter with slaughter sludge. Bioresource Technology. 315: 1-10.

Romasanta, R.R., B.O. Sander, Y.K. Gaihre, M.C. Alberto, M. Gummert, J. Quilty, V.H. Nguyen, A.G. Castalone, C. Balingbing, J. Sandro, T. Correa, and R. Wassmann. 2017. How does burning of rice straw affect CH4 and N2O emissions? A comparative experiment of different on-field straw management practices. Agriculture, Ecosystems and Environment. 239: 143-153.

Zhao, J., Z. Dong, J. Li, L. Chen, Y. Bai, Y. Jia, and T. Shao. 2018. Ensiling as pretreatment of rice straw: The effect of hemicellulase and Lactobacillus plantarum on hemicellulose degradation and cellulose conversion. Bioresource Technology. 226: 158-165.