การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการห่วงโซ่คุณค่าในการเลี้ยงไก่พื้นเมืองเชิงพาณิชย์ของกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย

Main Article Content

ฑีฆา โยธาภักดี
พนมศักดิ์ พรหมบุรมย์
สุขุม พันธุ์ณรงค์
พิมลพรรณ บุญยะเสนา
น้ำฝน รักประยูร
สุวิทย์ โชตินันท์

บทคัดย่อ

การจัดการห่วงโซ่คุณค่าที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการเลี้ยงไก่พื้นเมืองเชิงพาณิชย์ของกลุ่มเกษตรกรภาคเหนือตอนบน โดยใช้วิธีการประชุมระดมความเห็นจากตัวแทนเกษตรกร ผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้อง ทั้งการประชุมกลุ่มย่อย และการสัมภาษณ์เชิงลึกด้วยการใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลห่วงโซ่อุปทาน ประกอบด้วย ต้นทุน-ผลตอบแทนจากการผลิต อัตราผลตอบแทนจากการลงทุน (ROI) ด้านห่วงโซ่คุณค่าเป็นการสังเคราะห์ข้อมูลในกิจกรรมหลักและกิจกรรมสนับสนุน โดยแบ่งกลุ่มเกษตรกร 3 ระดับที่แตกต่างกันตามศักยภาพการผลิต จำนวน 148 ตัวอย่าง ได้แก่ สูง (36) ปานกลาง (65) น้อย (47) ผลการศึกษาห่วงโซ่อุปทานประกอบด้วย 5 ห่วงโซ่ พบว่า1) ห่วงโซ่ฟาร์มไก่พ่อแม่พันธุ์ได้ไข่เชื้อมีประสิทธิภาพของการผลิตมีค่า ROI 1.5-3% การยกระดับด้วยการเก็บรักษาสายพันธุ์ให้คงสายพันธุ์แท้ 2) ห่วงโซ่โรงฟักไข่เชื้อได้ลูกไก่มีประสิทธิภาพของการฟักไข่มีค่า ROI 1-2% การยกระดับด้วยการใช้เทคโนโลยีตู้ฟักไข่ที่มีคุณภาพ 3) ห่วงโซ่ไก่ขุนมีประสิทธิภาพของการผลิตมีค่า ROI 1-2% การยกระดับด้วยการใช้นวัตกรรมการจัดการกลุ่มวิสาหกิจอย่างเป็นระบบ 4) ห่วงโซ่โรงฆ่าแต่ละกลุ่มมีค่าเชือดไก่เฉลี่ย 15-20 บาท/ตัว การยกระดับด้วยการพัฒนาโรงฆ่าขนาดเล็กพิเศษของกลุ่ม และ 5) ห่วงโซ่ผู้บริโภคส่วนใหญ่มีการซื้อไก่ชำแหละทั้งตัว 1 ตัว/ครั้ง ราคา 101-150 บาท/ตัว ที่ตลาดสด การยกระดับด้วยการสร้างการรับรู้การประชาสัมพันธ์ในลักษณะเด่นของเนื้อไก่พื้นเมือง ส่งผลให้เกิดการยกระดับศักยภาพเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่พื้นเมืองที่เป็นเชิงพาณิชย์ให้สามารถเป็นอาชีพได้ ข้อเสนอแนะกลุ่มเกษตรกรในห่วงโซ่ต้นน้ำ ได้แก่ กลุ่มระดับสูง ควรมีการรักษาคุณภาพของลูกไก่ให้แข็งแรง สำหรับการจำหน่ายให้กับเกษตรกรเครือข่าย กลุ่มระดับปานกลาง ควรมีการพัฒนาฟาร์มของสมาชิกให้เข้าสู่มาตรฐาน GAP ให้มากขึ้น และกลุ่มระดับน้อย ควรพัฒนาองค์ความรู้ด้านการเลี้ยง ระบบวัคซีนให้มากขึ้น เพื่อให้มีอัตราการรอดของไก่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้การยกระดับเพื่อการสร้างอาชีพเลี้ยงไก่ไปสู่เชิงพาณิชย์ได้ตามศักยภาพของแต่ละกลุ่มได้อย่างเหมาะสม

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กฤษฎา เจริญมูล, มนต์ชัย ดวงจินดา, บัญญัติ เหล่าไพบูลย์, พิชญรัตน์ แสนไชยสุริยา, ยุผิน ผาสุข และสจี กันหาเรียง. 2558. สภาพการเลี้ยงไก่พื้นเมืองและความพึงใจต่อการเลี้ยงไก่พื้นเมืองของเกษตรดรผู้ประสบอุทกภัยที่ได้รับการแจกไก่พื้นเมืองในเขตพื้นที่จังหวัดขอนแก่น. แก่นเกษตร. 43(ฉบับพิเศษ1): 995-1000.

กรุงเทพธุรกิจ. 2561. เลี้ยง 'ไก่พื้นเมือง' โจทย์วิจัย..เพื่อความมั่นคงทางอาหารในชุมชน?. แหล่งข้อมูล https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/788971 ค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2563.

ฐิติมา วงศ์อินตา, ปนัดดา กสิกิจวิวัฒน์, ฮุซเซ็น นิยมเดชร, บุณฑรี จันทร์กลับ และโรสลาวาตี โตะแอ. 2015. การวิเคราะห์ห่วงโซ่คุณค่าอาหารฮาลาล. Journal of Transportation and Logistics. 8(2015): 1-11.

ฑัตษภร ศรีสุข, นิฤมล หิรัญวิจิตรภรณ์ และสุบิน แก้วเต็ม. 2563. ห่วงโซ่คุณค่าของผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูปเพื่อพัฒนาทักษะด้านการตลาดของเกษตรกรในจังหวัดลำปางรองรับโครงการ Smart Farmer. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. 14(2): 505-521.

ณรงค์ วีรารักษ์, บัณฑิต กีรติการกุล และขนิษฐา ศรีนวล. 2560. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการการบริหารจัดการระบบการเลี้ยงไก่ประดู่หางดาเชียงใหม่ ในระบบเลี้ยงปล่อยธรรมชาติ พื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน สู่มาตรฐานฟาร์มไก่พื้นเมือง และการสร้างแบรนด์ของเกษตรกร. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

ดรุณี โสภา และองอาจ เดชอิทธิรัตน์. 2564. การปรับปรุงผลผลิตไก่ไทยเพื่อคุณภาพความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของประชาชน. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. 4(1): 118-144.

ธันวา ไวยบท. 2562. รูปแบบการเลี้ยงไก่พื้นเมืองลูกผสมตะนาวศรีต่อสมรรถภาพการผลิตและคุณภาพซาก. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 27(2): 276-287.

นราทิพย์ ชุติวงศ์. 2548. หลักเศรษฐศาสตร์: จุลเศรษฐศาสตร์. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปิยะนันท์ นวลหนูปล้อง, ไชยวรรณ วัฒนจันทร์, สุธา วัฒนสิทธิ์ และบัญชา สมบูรณ์สุข. 2562. โครงสร้างตลาด เส้นทางการตลาด และห่วงโซ่อุปทานของไก่เบตงในพื้นที่จังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส. วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร. 36(3): 78-85.

เปลื้อง บุญแก้ว, อัจฉรา นิยมเดชา และมงคล คงเสนเปลื้อง. 2558. ผลการเสริมเยื่อในลำต้นสาคูในอาหารที่มีผลต่อสมรรถภาพการผลิตของไก่พื้นเมืองไทยในระยะเล็ก. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. 7(2): 113-118.

พิชา วิสิทธิ์พานิช, ศิริพร อินโห้, ลักษมี งามมีศรี และจิรพร จรบุรี. 2019. การศึกษาห่วงโซ่คุณค่าในการผลิตและการตลาดผลิตภัณฑ์แปรรูปจากปลาเชิงพาณิชย์ในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์. วารสารวิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน. 5(2): 89-100.

ยรรยง ศรีสม. 2010. ห่วงโซ่คุณค่า (ตอนจบ) value chain ในงานโลจิสติกส์. Technology Promotion Management. 37(211): 39-44.

รชต สวนสวัสดิ์. 2559. การบัญชีต้นทุน 2 (Cost Accounting II). คณะวิทยาการจัดการ, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

วัชระ แลน้อย, วีรพงษ์ กันแก้ว, กฤตภาค บูรณวิทย์ และบรรจง อาจคํา. 2559. ระบบการเลี้ยงและศักยภาพในการผลิตไก่พื้นเมืองของเกษตรกรในจังหวัดพะเยา. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 4(1): 137-145.

ศิริพร กิรติการกุล. 2563. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ระบบการสร้างอาชีพการเลี้ยงไก่ประดู่หางดำแก่เกษตรกรรายย่อย เส้นทางผลลัพธ์ต้นแบบธุรกิจชุมชน. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.).

สุรชัย สุวรรณลี และอินทร์ ศาลางาม. 2561. สมรรถภาพการผลิตของไก่ลูกผสมพื้นเมืองไทยที่เกิดจากพ่อพันธุ์ประดู่หางดำและแม่พันธุ์ไก่เนื้อ-ไก่ไข่. แก่นเกษตร. 46(3): 517-524.

สัญชัย จตุรสิทธา, ศุภกฤษ์ สายทอง, อังคณา ผ่องแผ้ว, ทัศนีย์ อภิชาติสรางกูร และอำนวย เลี้ยวธารากุล. 2546. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงคุณภาพซาก และเนื้อ ของไก่พื้นเมืองและสายพันธุ์ลูกผสม 4 สายพันธุ์. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)

อัสม๊ะ ลือมาสือนิ, ลตีฟา สมานพิทักษ์ และชุลกิพลี กาซอ. 2560. การศึกษาและออกแบบตู้ควบคุมอุณหภูมิในการฟักไข่ไก่แบบกลับไข่อัตโนมัติ. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา. 2(1): 39-49.

อำนวย เลี้ยวธารากุล, ชูศักดิ์ ประภาสวัสดิ์, จันทร์แรม ศรีสุข และดรุณี โสภา. 2556. สมรรถภาพการฟักไข่ไก่ประดู่หางดำเชียงใหม่โดยใช้ตู้ฟักไข่ไก่พื้นเมืองกรมปศุสัตว์. แก่นเกษตร. 41. (พิเศษ 1): 420-423.

Porter, M.E. 1985. Competitive advantage: Creating and sustaining superior performance. New York: Free Press.