ระบบการผลิตมะเขือเทศผลสดของเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย

Main Article Content

สุกัลยา เชิญขวัญ
พัชราภรณ์ ภูมิจันทึก
ฝากจิต ปาลินทร

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายระบบการผลิตมะเขือเทศผลสดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย สำรวจปัญหา และเสนอแนวทางการส่งเสริมการผลิตมะเขือเทศของเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนมกราคม – มิถุนายน 2564 โดยการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างจากเกษตรกรผู้ปลูกมะเขือเทศผลสด จำนวน 53 คน ในพื้นที่ 6 จังหวัด ได้แก่ ขอนแก่น หนองคาย บึงกาฬ นครพนม สกลนคร และนครราชสีมา วิเคราะห์เนื้อหาโดยการจำแนกและสรุปประเด็นเนื้อหาให้เป็นหมวดหมู่ ผลการศึกษา พบว่า  การผลิตมะเขือเทศผลสดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ระบบหลัก แบ่งตามช่องทางการจำหน่าย ได้แก่ ระบบที่จำหน่ายให้กับโรงงานอุตสาหกรรมแบบพันธะสัญญาและไม่เป็นพันธะสัญญา และระบบที่จำหน่ายในช่องทางอื่น ๆ เกษตรกรปลูกมะเขือเทศทั้งหมด 21 สายพันธุ์ แบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ มะเขือเทศลูกท้อ มะเขือเทศสีดา และมะเขือเทศเชอรี่ การผลิตอยู่ในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงมิถุนายน มีการจำหน่ายผ่าน 4 ช่องทาง คือ ตลาดค้าส่ง ตลาดท้องถิ่น โรงงานอุตสาหกรรม และช่องทางออนไลน์ มะเขือเทศสร้างรายได้ประมาณ 7,500-74,000 บาท/ไร่ ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์และการจัดการ การผลิตมะเขือเทศผลสดมีปัญหาด้านการจัดหาปัจจัยการผลิต การเตรียมพื้นที่ปลูก การกลายพันธุ์ และการตลาด ซึ่งแนวทางการส่งเสริมการผลิตมะเขือเทศผลสด คือ สร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานในการพัฒนาพันธุ์มะเขือเทศให้ทนต่อโรค แมลง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาดูแลในระหว่างการผลิต โดยอบรมให้ความรู้เรื่องต่าง ๆ เช่น การจัดการแปลง การใช้ปุ๋ยและสารเคมีที่ปลอดภัย และวางแผนการผลิตร่วมกับเกษตรกรเพื่อให้มีผลผลิตสอดคล้องกับความต้องการของตลาด

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กรมพัฒนาที่ดิน. 2562. เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจมะเขือเทศ. กลุ่มวางแผนบริหารจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำ กองนโนบายและแผนการใช้ที่ดิน. เอกสารวิชาการเลขที่ 07/05/2562.

เกษตร ทูเดย์. 2564. มะเขือเทศสีดา อีกหนึ่งมะเขือเทศที่คนไทยหลายคนคุ้นเคย. แหล่งข้อมูล: https://kaset.today/ผักสวนครัว/มะเขือ/เทศ/สีดา. ค้นเมื่อ 24 กันยายน 2564.

ตราพฤกษ์ ธัญญเกษตร. 2562. มะเขือเทศ. แหล่งข้อมูล: http://www.agriman.doae.go.th/ home/news/2562/47-48.pdf. ค้นเมื่อ 24 กันยายน 2564.

ปุรินทร์ นาคสิงห์, กังสดาล เชาว์วัฒนกุล, ชลิตา บัณฑุวงศ์ และอังกูร หงษ์คณานุเคราะห์. 2560. ชนบทที่เปลี่ยนผ่านและการปรับตัวในการดำรงชีพของเกษตรกร: กรณีศึกษา “ชุมชนเกษตรกร” ที่จังหวัดนครปฐม. วารสารวิจัยสังคม. 40(2): 77-106.

ฝากจิต ปาลินทร ลาภจิตร. 2557. การศึกษาสภาพการผลิต และความต้องการของเกษตรกรผู้ปลูกมะเขือเทศสีดาในจังหวัดนครราชสีมา. แก่นเกษตร. 42(3): 894-898.

วรรณรีย์ คนขยัน. 2551. คู่มือนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร (มะเขือเทศ). พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สำนักงานส่งเสริมและจัดการสินค้าเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2563. มะเขือเทศ: เนื้อที่เพาะปลูก จำนวนครัวเรือนและเฉลี่ยเนื้อที่ต่อครัวเรือน รายจังหวัด ปี 2562. แหล่งข้อมูล: https://www.oae.go.th/assets/portals/1/fileups/prcaidata/files/Tomato%20holdland%2062.pdf. ค้นเมื่อ 28 กันยายน 2563.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2563. มะเขือเทศ: เนื้อที่เพาะปลูก เนื้อที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ พันธุ์โรงงานและพันธุ์บริโภค ปี 2563. แหล่งข้อมูล:https://www.oae.go.th/assets/portals/1/fileups/prcaidata/files/tomato%2063.pdf. ค้นเมื่อ 30 เมษายน 2565.