ความคิดเห็นของเกษตรกรรายย่อยต่อการปรับเปลี่ยนไปสู่การเลี้ยงไก่ไข่อินทรีย์ในจังหวัดเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความคิดเห็นของเกษตรกรรายย่อยต่อการปรับเปลี่ยนไปสู่การเลี้ยงไก่ไข่ในระบบอินทรีย์ในจังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่าง คือ เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่รายย่อยในจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 148 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบ Stepwise ผลการศึกษาพบว่า 1) เกษตรกรร้อยละ 52.70 เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 53.43 ปี ประสบการณ์ในการเลี้ยงไก่ไข่เฉลี่ย 2.82 ปี รายได้จากการเลี้ยงไก่ไข่เฉลี่ย 2,099.26 บาท/เดือน ค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงไก่ไข่เฉลี่ย 2,401.64 บาท/เดือน หนี้สินเฉลี่ย 116,058.78 บาท ได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการเลี้ยงไก่ไข่อินทรีย์เฉลี่ย 3.38 ครั้งต่อเดือน 2) ความคิดเห็นต่อการปรับเปลี่ยนไปสู่การเลี้ยงไก่ไข่อินทรีย์ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ทั้งด้านโรงเรือนและการเลี้ยงปล่อย การจัดการสุขภาพสัตว์ การจัดการฟาร์ม การขนส่ง การฆ่าสัตว์ และการจัดการของเสีย อาหารสัตว์ การเก็บรักษาและการบรรจุหีบห่อ การปรับเปลี่ยนระบบการผลิตให้เป็นระบบการผลิตปศุสัตว์อินทรีย์อยู่ในระดับมาก ยกเว้นแหล่งที่มาของไก่ไข่และการจัดเก็บบันทึกข้อมูลอยู่ในระดับปานกลาง 3) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความคิดเห็นต่อการปรับเปลี่ยนไปสู่การเลี้ยงไก่ไข่อินทรีย์ ได้แก่ เพศ และค่าใช้จ่าย (P < 0.05) และการได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการเลี้ยงไก่ไข่อินทรีย์ (P < 0.01) โดยทั้ง 3 ปัจจัยดังกล่าวสามารถร่วมกันสร้างสมการพยากรณ์ได้ร้อยละ 16.8 4) เจ้าหน้าที่ควรมีการเข้าไปติดตามหรือให้ความรู้อย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากเกษตรกรขาดความรู้ในเรื่องการเลี้ยงไก่ไข่อินทรีย์
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมปศุสัตว์. 2562. สถิติเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่ปี 2562. แหล่งข้อมูล http://ict.dld.go.th/webnew/images/stories/stat_web/
yearly/2562/T6-1-chicken.pdf. ค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2562.
กานดา ล้อแก้วมณี และชลัท ทรงบุญธรรม. 2560. การเลี้ยงไก่ไข่ของประเทศไทย (Poultry production in Thailand).
คณะทรัพยากรธรรมชาติและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติจังหวัดสกลนคร.
ณัฐณิชา ตียะสุขเศรษฐ์. 23 สิงหาคม 2563. สัมภาษณ์. นายสัตวแพทย์ชำนาญการพิเศษ. สำนักงานปศุสัตว์เขต 5.
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. 2540. ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 7. เจริญผล, กรุงเทพฯ.
ภาณุพันธุ์ ประภาติกุล. 2558. การยอมรับระบบการผลิตปศุสัตว์อินทรีย์ของเกษตรกรในจังหวัดขอนแก่น. แก่นเกษตร. 43(2): 319-330.
วรศิลป์ มาลัยทอง. 2561. สถานภาพ และโอกาสในการพัฒนาการเลี้ยงไก่ประดู่หางดำแบบปล่อยอิสระสู่ระบบปศุสัตว์อินทรีย์ของกลุ่มผู้เลี้ยงไก่ประดู่หางดำในจังหวัดแพร่. วิจัยและส่งเสริมการเกษตร. 35(2): 895-902.
ศูนย์ปศุสัตว์อินทรีย์ กรมปศุสัตว์. 2556. ปศุสัตว์อินทรีย์. แหล่งข้อมูล http://www.dld.go.th/organic/principle/principle.html.
ค้นเมื่อ 5 ตุลาคม 2562.
สุคีพ ไชยมณี และนริศรา เกิดสุข. 2565. ปศุสัตว์อินทรีย์บนพื้นที่สูง. แหล่งข้อมูล https://hkm.hrdi.or.th/page/Knowledge/detail
/548. ค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2565.
อภิเดช ชัยพิริยะกิจ, สายสกุล ฟองมูล, พุฒิสรรค์ เครือคำ, ปภพ จี้รัตน์, นภารัศม์ เวชสิทธิ์นิรภัย และทวีชัย คำทวี. 2562. ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกรในพื้นที่ตำบลพะวอ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก. ผลิตกรรมการเกษตร. 1(1): 43-53.
อาคม พรมเสน. 2552. การยอมรับระบบเกษตรอินทรีย์ของเกษตรกรในพื้นที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงทุ่งหลวง อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่.