ผลของความเข้มข้นสารละลายโพแทสเซียมไนเตรตและระยะเวลาในระหว่าง การเตรียมพร้อมเมล็ดพันธุ์ต่อความงอกและความแข็งแรงของเมล็ดพันธุ์ผักชี
Main Article Content
บทคัดย่อ
เมล็ดพันธุ์ผักชีมักมีความงอกต่ำ งอกช้า และงอกไม่สม่ำเสมอ การเตรียมพร้อมเมล็ดพันธุ์เป็นวิธีการปรับปรุงความงอกและความแข็งแรงของเมล็ดพันธุ์ ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของความเข้มข้นสารละลาย KNO3 และระยะเวลาในการเตรียมพร้อมเมล็ดพันธุ์ต่อความงอกและความแข็งแรงของเมล็ดพันธุ์ผักชีเพื่อให้เมล็ดงอกได้เร็วและสม่ำเสมอ จัดสิ่งทดลองแบบ 3×2 แฟกทอเรียลในแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ โดยเมล็ดที่ไม่เตรียมพร้อมเมล็ดพันธุ์เป็นวิธีการควบคุม มี 2 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัย A คือ ความเข้มข้นของสารละลาย KNO3 มี 3 ระดับ ได้แก่ 0 (น้ำ reverse osmosis), 250 และ 500 มก./ล. และปัจจัย B คือ ระยะเวลาในการแช่เมล็ดพันธุ์ มี 2 ระดับ คือ 12 และ 24 ชม. จำนวน 4 ซ้ำ ซ้ำละ 50 เมล็ด จากนั้นลดความชื้นของเมล็ดให้ใกล้เคียงกับความชื้นเริ่มต้น (7%) บันทึกข้อมูล ได้แก่ เปอร์เซ็นต์การงอกที่การนับครั้งแรกและครั้งสุดท้าย (7 และ 21 วันหลังเพาะเมล็ด ตามลำดับ) จำนวนวันที่มีรากงอก เวลาที่ใช้ในการงอกถึง 50% และเวลาเฉลี่ยในการงอก ผลการทดลองพบว่า การเตรียมพร้อมเมล็ดพันธุ์ด้วยสารละลาย KNO3 ความเข้มข้น 500 มก./ล. เป็นเวลา 12 หรือ 24 ชม. ไม่มีผลทำให้เมล็ดมีความงอกที่การนับครั้งสุดท้ายแตกต่างทางสถิติ (99.0 และ 96.5% ตามลำดับ) เมื่อเปรียบเทียบกับเมล็ดที่ไม่ผ่านการเตรียมพร้อมเมล็ดพันธุ์ (97.0%) แต่มีผลทำให้เมล็ดมีจำนวนวันที่มีรากงอก (2.81-2.86 วัน) เวลาที่ใช้ในการงอกถึง 50% (6.23 วัน) และเวลาเฉลี่ยในการงอก (7.01-7.02 วัน) เร็วกว่าเมล็ดที่ไม่ผ่านการเตรียมพร้อมเมล็ดพันธุ์ (3.20, 6.60 และ 7.71 วัน ตามลำดับ) ดังนั้น การเตรียมพร้อมเมล็ดพันธุ์ผักชีด้วยสารละลาย KNO3 ความเข้มข้น 500 มก./ล. เป็นเวลา 12 ชม. เป็นวิธีการที่ดีที่สุด
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กองบรรณาธิการฐานเกษตรกรรม. 2531. อาชีพปลูกผัก.โรงพิมพ์เอเชีย, กรุงเทพฯ.
กัณจนัส สุขเกษม, ปริยานุช จุลกะ และพิจิตรา แก้วสอน. 2563. ผลของความเข้มข้นสารละลาย KNO3 และระยะเวลาในการเตรียมพร้อมเมล็ดพันธุ์ต่อความงอกและความแข็งแรงของเมล็ดพันธุ์ผักชีลาว. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า. 38(3): 280-287.
กัณฒมาศ ปาลวัฒน์. 2559. สวนผักในบ้าน กินฟรีทั้งปี. อินสปายร์, กรุงเทพฯ.
กุลธิดา น้อยลมทวน. 2543. อิทธิพลของความหนาแน่นที่คาดคะเนจากการหว่านเมล็ดต่อการเจริญเติบโต และการสร้างผลผลิตของผักชี. ปัญหาพิเศษ ปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ.
เกษตรอินเทรนด์. 2561. ผักที่ตลาดต้องการตลอดปี. แหล่งข้อมูล:http://www.kasetintrend.com/ผักที่ตลาดต้องการตลอดปี, ค้นเมื่อ 4 พฤษภาคม 2564.
ณภัทร โรจนสกุล. 2556. การศึกษาเบื้องต้นของลักษณะทางกายภาพและการดูดน้ำของเมล็ดพันธุ์ผักบางชนิด. ปัญหาพิเศษ ปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ.
ตลาดไท. 2564. ผักชีไทย. แหล่งข้อมูล:https://talaadthai.com/product/9-38-01-cilantro, ค้นเมื่อ 22 ธันวาคม 2564.
นิพดา เขียวอุไร. 2562. ปลูกพืชตามนิสัยผัก. อินสปายร์, กรุงเทพฯ.
บุญมี ศิริ. 2558. การปรับปรุงสภาพและยกระดับคุณภาพเมล็ดพันธุ์. โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา, ขอนแก่น.
ประเสริฐ ประภานพสินธุ์. 2542. การกระตุ้นการงอกของเมล็ดพริกด้วยวิธี hydropriming และ osmocondilioning. ปัญหาพิเศษ ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ.
พระราชบัญญัติพันธุ์พืช. 2518. ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดมาตรฐานคุณภาพ และวิธีเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ควบคุม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2556. ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 130 ตอนพิเศษที่ 148 ง, หน้า 32-33.
ภาควิชาพืชสวน. 2560. หลักการผลิตพืชสวน. คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
ภาณุมาศ ฤทธิไชย และ อติพร พิพัฒน์กรสกุล. 2551. ผลของวิธีการ Hydropriming ต่อความงอกและความแข็งแรงของเมล็ดพันธุ์ผักชี. แก่นเกษตร. 36: 235-240.
วันชัย จันทร์ประเสริฐ. 2553. สรีรวิทยาเมล็ดพันธุ์. โรงพิมพ์สำนักส่งเสริมและฝึกอบรม, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ.
สรสิทธิ์ วัชโรทยาน. 2518. ความอุดมสมบูรณ์ของดิน. ภาควิชาปฐพีวิทยา, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ.
สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร. 2563. ปริมาณและมูลค่าการนำเข้าเมล็ดพันธุ์ควบคุมที่นำเข้ามาจากประเทศต่าง ๆ. แหล่งข้อมูล: https://www.doa.go.th/ard/wp-content/uploads/2021/01/%E0%B8%99%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8-63.pdf. ค้นเมื่อ 23 เมษายน 2565.
สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร. 2564ก. การนำเข้าเมล็ดพันธุ์ควบคุมเพื่อการค้า ประจำปี พ.ศ. 2564. แหล่งข้อมูล:https://www.doa.go.th/ard/wp-content/uploads/2022/03/Seed-Import-in-Year-2564.pdf. ค้นเมื่อ 23 เมษายน 2565.
สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร. 2564ข. การส่งออกเมล็ดพันธุ์ควบคุมเพื่อการค้า ประจำปี พ.ศ. 2564. แหล่งข้อมูล:https://www.doa.go.th/ard/wp-content/uploads/2022/03/Seed-Export-in-Year-2564.pdf. ค้นเมื่อ 23 เมษายน 2565.
สุภาภรณ์ จ่าพันธ์. 2548. ผลของโพแทสเซียมไนเตรตและน้ำตาลเมนนิทอลต่อการงอกของเมล็ดพันธุ์ผักชี. ปัญหาพิเศษ ปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ.
อุษา สง่าแสง, ปริยานุช จุลกะ และพิจิตรา แก้วสอน. 2563. ผลของความเข้มข้นสารละลาย KNO3 และระยะเวลาในการเตรียมพร้อมเมล็ดพันธุ์ต่อคุณภาพของเมล็ดพันธุ์พริกหวาน. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 28(7): 1301-1308.
Aymen, E. M., and H. Cherif. 2013. Influence of seed priming on emergence and growth of coriander (Coriandrum sativum L.) seedlings grown under salt stress. Acta Agriculturae Slovenica. 101(1): 41-47.
Coolbear, P., A. Francis, and D. Grierson. 1984. The effect of low temperature pre-sowing treatment on the germination performance and membrane integrity of artificially aged tomato seeds. Journal of Experimental Botany. 35(1): 1609-1617.
Datiles, M.J. 2015. Coriandrum sativum (coriander). Invasive Species Compendium. Wallingford, CABI, UK.
Debbarma, A., D. Jyotsna, B. Meghali, and S. Debojit. 2018. Germination performance of chilli (Capsicum annuum L.) and coriander (Coriandrum sativum L.) as affected by seed priming treatments. Journal of Pharmacognosy and Phytochemistry. 7(1): 2648-2652.
Dhillon, N.P.S. 1995. Seed priming of male sterile muskmelon (Cucumis melo L.) for low temperature germination. Seed Science and Technology. 23(3): 881-884.
Ellis, R.H., and E.H. Roberts. 1980. Improved equations for the prediction of seed longevity. Annals of Botany. 45(1): 13-30.
Hasanuzzaman, M., and V. Fotopoulos. 2019. Priming and Pretreatment of Seeds and Seedlings: Implication in Plant Stress Tolerance and Enhancing Productivity in Crop. Springer Nature Singapore Pte Ltd., Singapore.
ISTA. 2018. International Rules for Seed Testing. International Seed Testing Association, Bassersdorf, Switzerland.
Lara, T.S., J.M.S. Lira, A.C. Rodrigues, M. Rakocevic, and A.A. Alvarenga. 2014. Potassium nitrate priming affects the activity of nitrate reductase and antioxidant enzymes in tomato germination. Journal of Agricultural Science. 6(2): 72-80.
Lutts, S., P. Benincasa, L. Wojtyla, S. Kubala, S.R. Pace, K. Lechowska, M. Quinet, and M. Garnczarska. 2016. Seed priming: new comprehensive approaches for an old empirical technique. P. 2-5. In: S. Araújo, and A. Balestrazzi. New Challenges in Seed Biology-Basic and Translational Research Driving Seed Technology. Rijeka, Croatia.
McDonald, M.B. 2000. Seed priming. P. 287-325. In: M. Black, and J. D. Bewley. Seed Technology and Its Biological Basis. Sheffield Academic Press, England.
McIntyre, G.I., A.J. Cessna, and A.I. Hsiao. 1996. Seed dormancy in Avena fatua: interacting effects of nitrate, water and seed coat injury. Physiologia Plantarum. 97: 291-302.
Na nakorn, P., and P. Kaewsorn. 2021. Effects of KNO3 concentration and aeration during seed priming on seed quality of wax gourd (Benincasa hispida [Thunb.] Cogn.). Agriculture and Natural Resources. 55:877-885.
Pawar, V.A., and S.L. Laware. 2018. Seed priming: a critical review. International Journal of Scientific Research in Biological Sciences. 5(5): 94-101.
Rouhi, H.R., A. Moradi, M. Saman, and R.M. Champiri. 2018. Seed hydropriming to overcome ageing damages in coriander (Coriandrum sativum L.) seeds. Academia Journal of Agricultural Research. 6(10): 354-358.
Rubatzky, V.E., C.F. Quiros, and P.W. Simon. 1999. Carrots and Related Vegetable Umbelliferae. CABI, Oxford.
Shabbir, I., M. Shakir, M. Ayub, M. Tahir, A. Tanveer, M. Shahbaz, and M. Hussain. 2013. Effect of seed priming agents on growth, yield and oil contents of fennel (Foeniculum vulgare Mill.). Advance in Agriculture and Biology. 1(3): 58-62.
Sowjanya, S., and A. Dutta. 2020. Influence of seed priming through KNO3 on plant growth and seed production of coriander (Coriandrum sativum L.). International Journal of Current Microbiology and Applied Sciences. 9(02): 722-728.