ผลของวัสดุปลูกและขนาดถุงปลูกต่อการเจริญเติบโตของต้นอ่อนกล้วยหอมทอง

Main Article Content

อภิรยา เทพสุคนธ์
สุชฎา ผาสุข
พันธวิทย์ สังสุมล
กมลทิพย์ คำเฝ้า

บทคัดย่อ

กล้วยหอมทอง (Hom Thong banana) เป็นผลไม้เศรษฐกิจของประเทศไทย มีความต้องการของตลาดต่างประเทศเป็นจำนวนมาก แต่ประเทศไทยยังไม่สามารถผลิตผลผลิตได้เพียงพอต่อความต้องการของตลาด เนื่องจากปริมาณผลผลิตที่ผลิตได้มีความไม่สม่ำเสมอ เพราะหน่อกล้วยหอมทองที่นำไปปลูกมักประสบปัญหาโรคตายพราย และใบจุด เป็นต้น แต่หากใช้ต้นกล้าพันธุ์ดีที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ จะสามารถช่วยแก้ปัญหาโรคต่างที่ติดมากับหน่อแม่พันธุ์ และให้ผลผลิตที่สามารถเก็บเกี่ยวได้พร้อมกัน จึงทำให้สามารถวางแผนจัดการผลผลิตให้มีปริมาณตามความต้องการของตลาดได้ วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้ เพื่อศึกษาวัสดุปลูกและขนาดของถุงปลูกต่อการเจริญเติบโตของต้นอ่อนกล้วยหอมทองที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์และแบ่งออกเป็น 2 การทดลอง คือ การทดลองที่ 1 ศึกษาผลของวัสดุปลูกที่แตกต่างกันต่อการเจริญเติบโตของต้นอ่อนกล้วยหอมทองในกระถางขนาด 4 นิ้ว โดยใช้วัสดุปลูกที่แตกต่างกัน 4 สูตร ได้แก่ 1) พีทมอส 2) พีทมอส:ทราย (1:1) 3) พีทมอส:ทราย:ถ่านแกลบ (1:1:1) และ 4) พีทมอส:ทราย:ถ่านแกลบ:ขุยมะพร้าว (1:1:1:1) ในอัตราส่วนที่เท่ากันโดยปริมาตร ส่วนการทดลองที่ 2 ศึกษาขนาดถุงปลูกต่อการเจริญเติบโตของต้นอ่อนกล้วยหอมทอง โดยเลือกใช้ถุงปลูก 4 ขนาด ได้แก่ 1) 4x12 นิ้ว 2) 5x10 นิ้ว 3) 5x12 นิ้ว และ 4) 6x12 นิ้ว ผลการทดลองพบว่าในการทดลองที่ 1 วัสดุปลูกทั้ง 4 สูตร ให้ผลการเจริญเติบโตของต้นอ่อนกล้วยหอมทองไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมีความสูงต้นสูงที่สุด คือ 16.80 ซม. ส่วนการทดลองที่ 2 พบว่าขนาดถุงปลูก 6x12, 5x12 และ 5x10 นิ้ว ทำให้ต้นอ่อนกล้วยหอมทองมีการเจริญเติบโตและคุณภาพดีที่กว่าขนาด 4x12 นิ้ว โดยมีความสูงต้น 58.24, 57.13, 56.63 และ 45.33 ซม. ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

จิระศักดิ์ วิชาสวัสดิ์, ประสาทพร กออวยชัย และปิยนุช จันทรัมพร. 2560. ผลของ BAP และ IAA ที่มีต่อการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อกล้วยหอมทอง. น. 17-23. ใน: ประชุมวิชาการประจำปี 2560. 7-8 ธันวาคม 2560. มหาวิทยาลัยแม่โจ้, เชียงใหม่.

นันทยา วรรธนะภูติ. 2553. การขยายพันธุ์พืช. พิมพ์ครั้งที่ 4. สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์, กรุงเทพฯ.

นุชจรี ทัดเศษ, การันต์ ผึ่งบรรหาร และลลิดา อุดธา. 2562. ผลของ BA และ NAA ต่อการเจริญเติบโตและการพัฒนาของกล้วยหินในสภาพปลอดเชื้อ และผลของวัสดุปลูกต่อการเจริญเติบโตในสภาพธรรมชาติ. เกษตรพระจอมเกล้า. 37(2): 262-273.

เบญจมาศ ศิลาย้อย. 2558. กล้วย. พิมพ์ครั้งที่ 4. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ.

พิกุล เดชพะละ, ฐิติพร พิทยาวุธวินิจ และวิบูล เป็นสุข. 2562. อิทธิพลของน้ำมะพร้าวและ BA ต่อการชักนำให้เกิดหน่อกล้วยน้ำว้าพันธุ์มะลิอ่องในสภาพปลอดเชื้อ. ผลิตกรรมการเกษตร. 1(1): 69-76.

วารินทร์ งามการุญ. 2558. แผนธุรกิจกล้วยหอมทองในประเทศไทยเพื่อการส่งออกไปประเทศญี่ปุ่นให้มีความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืน. การค้นคว้าอิสระ. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 94 น.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2565. กล้วยหอม. แหล่งข้อมูล: http://mis-app.oae.go.th/product/กล้วยหอม. ค้นเมื่อ 18 สิงหาคม 2565.

สุรวิช วรรณไกรโรจน์, ปริยานุช จุลกะ, วสันต์ หนูนัง และเจนวิทย์ สมอคร. 2562. วัสดุทดแทนพีทมอสในระยะอนุบาลของการผลิตต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิง (Nepenthes ampullaria) เป็นไม้กระถาง. แก่นเกษตร. 47(1): 169-176.

Abad, M., P. Noguera, R. Puchades, A. Maquieira, and V. Noguera. 2002. Physico-chemical and chemical properties of some coconut coir dusts for use as a peat substitute for containerised ornamental plants. Bioresource Technology. 82:241-245.

Adu-Berko, F., I. A. Idun, and F. M. Amoah. 2011. Influence of the size of nursery bag on the growth and development of Cashew (Anacardium occidentale) seedlings. American Journal of Experimental Agriculture. 1(4): 440-449.

Barakat, A.A., and M.K. Gaber. 2018. Micropropagation and ex vitro acclimatization of aglaonema plants. Middle East Journal of Applied Sciences. 8(4): 1425-1436.

Daungban, S., P. Pumisutapon, and N. Topoonyanont. 2017. Effects of Explants Division by Cutting, Concentrations of TDZ and Number of Sub-culture Cycles on Propagation of ‘Kluai Hom Thong’ Banana in a Temporary Immersion Bioreactor System. Thai Journal of Science and Technology. 6(1): 89-99.

Hartmann, H.T., D.E. Kester, F.T. Davies, and R.L. Geneve. 2002. Hartmann and Kester’s Plant Propagation Principles and Practices. 7th ed. Pearson Education, Upper Saddle.

Herold, A., and P.H. McNeil. 1979. Restoration of photosynthesis in pot-bound tobacco plants. Journal of Experimental Botany. 30: 1187-1194.

Keatmetha, W., and P. Suksa-ard. 2004. Effects of Rooting substrates on In vitro rooting of Anthurium andraeanum L. cv. Avanti. Walailak Journal of Science and Technology. 1(2): 49-55.

Kumar, V. 2015. Growing media for healthy seedling production. Van Sangyan. 2(9): 19-28.

Maharana K., P.S. Munsi, and S. Beura. 2017. Studies on hardening of in vitro plantlets of banana (Musa acuminata) CV. Amritpani. Journal in Science, Agriculture & Engineering. 7(24): 247-249.

Mot, S., S. Khin, V. Peuo, P. Pok, and P. Srean. 2021. Rice husk ash incorporation in container substrates effect on romaine lettuce plant growth. Journal of Agricultural Sciences. 4(1): 30-37.

Poorter, H., J. Bühler, D. van Dusschoten, J. Climent, and J.A. Postma. 2012. Pot size matters: a meta-analysis of the effects of rooting volume on plant growth. Functional Plant Biology. 39: 839-850.

Ray, J.D., and T.R. Sinclair. 1998. The effect of pot size on growth and transpiration of maize and soybean during water deficit stress. Journal of Experimental Botany. 49: 1381-1386.

Rodríguez, A.H., L.R. Hernández, D.O. Barrios, J.P. Luévano, A.C.G. Franco, and V.G. Prieto. 2017. Semicompost and Vermicompost Mixed with peat moss enhance seed germination and development of lettuce and tomato seedlings. Interciencia. 42(11): 774-779.

Singh, R., P. Srivastavab, P. Singhc, A.K. Sharmad, H. Singhe, and A.S. Raghubanshi. 2019. Impact of rice-husk ash on the soil biophysical and agronomic parameters of wheat crop under a dry tropical ecosystem. Ecological Indicators. 105: 505-515.

Theriault and Hachey Peat Moss Ltd. 2013. Analytical Detail of Professional Grades of Peat Moss. Available: http://thpeat.com/wp-content/uploads/2019/08/Peat-Moss-composition-basic-5-chunks.pdf. Accessed Apr.20, 2022.

Tschaplinski, T.J., and T.J. Blake. 1985. Effects of root restriction on growth correlations, water relations and senescence of alder seedlings. Physiologia Plantarum. 64: 167-176.

Wafaa, A.F, and H.M. Wahdan. 2017. Influence of substrates on in vitro rooting and acclimatization of micropropagated strawberry (Fragaria x ananassa Duch.). Middle East Journal of Agriculture. 6(3): 682-691.