ผลของอาหารต่อการเจริญเติบโตและการรอดตายของปูม้า (Portunus pelagicus Linnaeus, 1758) ที่เลี้ยงในกล่องแบบคอนโด
Main Article Content
บทคัดย่อ
การเลี้ยงปูม้าในกล่องแบบคอนโด มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของชนิดอาหารต่อการเจริญเติบโตและการรอดตายของปูม้า ที่เลี้ยงในกล่องแบบคอนโด โดยแบ่งการทดลองเป็น 3 ชุดการทดลอง (ให้กินปลาข้างเหลืองสด ให้กินอาหารเม็ดสำเร็จรูป และให้กินปลาข้างเหลืองสด + อาหารเม็ดสำเร็จรูป) แต่ละชุดการทดลองมีจำนวน 4 ซ้ำ ปูม้ามีน้ำหนักเฉลี่ยก่อนทดลองเท่ากับ 0.47±0.12 0.47±0.13 และ 0.49±0.14 กรัม ตามลำดับ ความกว้างกระดองเริ่มต้นเฉลี่ยเท่ากับ 1.61±0.28 1.62±0.30 และ 1.63±0.20 เซนติเมตร ตามลำดับ และมีความยาวกระดองเฉลี่ยเท่ากับ 0.92±0.10 0.89±0.11 และ 0.92±0.12 เซนติเมตร ตามลำดับ ผลการเลี้ยงระยะเวลา 60 วัน พบว่า มีน้ำหนักเฉลี่ยเท่ากับ 2.67±0.06 1.98±0.10 และ 2.28±0.05 กรัม ตามลำดับ ความยาวกระดองเฉลี่ยเท่ากับ 1.61±0.04 1.55±0.05 และ 1.57±0.02 เซนติเมตร มีความกว้างกระดองเฉลี่ยเท่ากับ 2.86±0.11 2.62±0.04 และ 2.77±0.07 เซนติเมตร ตามลำดับ อัตราการเจริญเติบโตจำเพาะเท่ากับ 2.95±0.10 2.34±0.13 และ 2.69±0.12 เปอร์เซ็นต์ต่อวัน ตามลำดับ น้ำหนักเพิ่มต่อวันเท่ากับ 0.035±0.02 0.025±0.05 และ 0.030±0.03 กรัมต่อวัน ตามลำดับ เปอร์เซ็นต์น้ำหนักเพิ่มเท่ากับ 490.81±0.56 310.84±0.41 และ 405.65±0.64 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ อัตราการรอดตายมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 87.50±0.38 91.67±0.40 และ 89.58±0.08 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ และ อัตราการแลกเนื้อเท่ากับ 2.05±0.09 2.65±0.12 และ 2.38±0.17 ตามลำดับ ปูม้าที่เลี้ยงโดยปลาข้างเหลืองสดมีการเจริญเติบโตสูงที่สุด และมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) เมื่อเปรียบเทียบกับการเลี้ยงด้วยอาหารสำเร็จรูป ส่วนปูม้าที่เลี้ยงด้วยอาหารสำเร็จรูปผสมกับปลาข้างเหลืองสด พบว่าอัตราการเจริญเติบโตไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติกับการทดลองอื่น ๆ และปูม้าที่เลี้ยงโดยอาหารสำเร็จรูปมีอัตราการรอดตายสูงสุด จากข้อมูลเบื้องต้นสามารถนำไปถ่ายทอดเพื่อส่งเสริมอาชีพให้ชุมชนชายฝั่ง หรือนำไปต่อยอดเพื่อการเลี้ยงเชิงพาณิชย์ต่อไป
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมประมง. 2563. สถิติการประมงแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2563. กองนโยบายและแผนพัฒนาการประมง, กรุงเทพฯ.
คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ. 2560. การกำหนดมาตรฐานคุณภาพน้ำทะเล. กรมควบคุมมลพิษ, กรุงเทพฯ.
ไทยเกษตรศาสตร์. 2013. อาหารสำเร็จรูปเลี้ยงสัตว์น้ำ. แหล่งข้อมูล: https://www.thaikasetsart.com/. ค้นหาเมื่อ
กันยายน 2563.
ธนาภรณ์ จิตตปาลพงศ์. 2557. การสร้างสูตรอาหารสตว์น้ำและสูตรอาหารสตว์น้ำเศรษฐกิจ กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ.
บรรจง เทียนส่งรัศมี. 2544. การเพาะเลี้ยงปูม้า ทางเลือกใหม่ของเกษตรกรปี 2000. วารสารสัตว์น้ำ. 145: 163–168.
มาโนช ขำเจริญ และปรีดา ภูมี. 2560. ผลของอาหารสำเร็จรูปที่แตกต่างกันต่อการเจริญเติบโต และอัตราการรอดตายของลูกหอยหวาน (Babylonia areolata). วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย. 1: 127-140.
วารินทร์ ธนาสมหวัง, สง่า สิงห์หงษ์ และฉลอง ทองบ่อ. 2548. ผลของความเค็มของน้ำต่ออัตรา รอดตายและการเจริญเติบโตของลูกปูม้า (Portunus pelagicus Linnaeus, 1758) ที่อนุบาลในที่กักขัง. ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งสมุทรสาคร, สมุทรสาคร.
วารินทร์ ธนาสมหวัง และวัฒนา ฉิมแก้ว. 2549. ผลของความเป็นด่างของน้ำต่ออัตรารอดตายและการเจริญเติบโตของลูกปูม้า (Portunus pelagicus Linnaeus, 1758) ที่อนุบาลในถังไฟเบอร์. ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งสมุทรสาคร, สมุทรสาคร.
สุพิศ ทองรอด, วารินทร์ ธนาสมหวัง, มนทกานติ ท้ามติ้น, จีรรัตน์ เกื้อแก้ว และสิริพร ลือชัยชัยกุล. 2548. การผลิตอาหารสำเร็จรูปสำหรับการเลี้ยงปูม้า. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, กรุงเทพฯ.
อาภรณ์ เทพพานิช และสํารวย ชุมวรฐายี. 2548. การเลี้ยงปูม้า (Portunus pelagicus Linnaeus, 1758) ที่ระดับความหนาแน่นต่างกันในบ่อดิน. ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งสุราษฎร์ธานี, สุราษฎร์ธานี.
อัมพร บัวที, ลิขิต ชูชิต และเทพบุตร เวชกามา. 2550. ผลของการใช้ท่อพีวีซีและกล่องพลาสติกเป็นวัสดุหลบซ่อนต่อ อัตราการรอดตายอัตราการเติบโตของปูม้า (Portunus pelagicus) ที่เลี้ยงในบ่อดิน. น. 229–234. ใน: ประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 48 เรื่องการประชุมวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 3–6 กุมภาพันธ์ 2553. คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
Bryars, S.R., and J.N. Havenhand. 2006. Effects of constant and varying temperatures on the development of blue swimmer crab (Portunus pelagicus) larvae: Laboratory observations and field predictions for temperate coastal waters. Journal of Experimental Marine Biology and Ecology. 329: 218–229.
Food and Agriculture Organization of the United Nations (FAO). 2018. Fisheries and Aquaculture (Portunus pelagicus Linnaeus, 1758). Available: https://www.fao.org/fishery/en/global-search?q=Acesta%20rathbuni,Rathbun&lang=en. Accessed May. 1, 2018.
Kunsook, C. 2006. Population dynamics of blue swimming crab (Portunus pelagicus Linnaeus, 1758) at Kung krabaen bay, Chantaburi province. M. S. Thesis. Chulalongkorn University. Bangkok.
Marshall S., K. Warburton, B. Paterson, and D. Mann. 2005. Cannibalism in juvenile blue-swimmer crabs Portunus pelagicus (Linnaeus, 1766): effects of body size, moult stage and refuge availability. Applied Animal Behavior Science. 90: 65–82.