ผลของฤดูปลูก อัตราส่วนแถวแม่ต่อพ่อ และระยะปลูกที่มีต่อลักษณะทางการเกษตรและผลผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสม

Main Article Content

วทัญญู ทวารไทสง
ประเสริฐ ถาหล้า
จุฑามาศ ร่มแก้ว
ชูศักดิ์ จอมพุก
ชัยสิทธิ์ ทองจู

บทคัดย่อ

การผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสมให้มีผลผลิตสูงนั้นขึ้นอยู่กับฤดูปลูก อัตราส่วนแถวแม่ต่อพ่อ และระยะปลูก เป็นต้น ดังนั้นวัตถุประสงค์ของการศึกษาในครั้งนี้เพื่อประเมินผลของฤดูปลูก อัตราส่วนแถวแม่ต่อพ่อ และระยะปลูกที่มีต่อลักษณะทางการเกษตรและผลผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสมพันธุ์พันธุ์ใหม่สุวรรณ 5720 (Ki 61 x Ki 60) ณ ศูนย์วิจัยข้าวโพดและข้าวฟ่างแห่งชาติ ใน 3 ฤดูปลูก ได้แก่ 1) ฤดูแล้ง 2563 2) ฤดูต้นฝน 2564 และ 3) ฤดูปลายฝน 2564 วางแผนการทดลองแบบ split plot in randomized complete block design (RCBD) จำนวน 4 ซ้ำ โดยกำหนดให้ ระยะปลูกแถวสายพันธุ์แม่ จำนวน 2 ระยะ ได้แก่ 60 x 20 ซม. และ 70 x 20 ซม. เป็น Main plot อัตราส่วนระหว่างแถวสายพันธุ์แม่:สายพันธุ์พ่อ จำนวน 2 ระดับ เป็น Sub plot คือ 4:1 และ 6:1 ผลการทดลองพบว่า ฤดูปลายฝนมีวันโปรยละอองเกสร 50% วันออกไหม 50% เร็ว มีความสูงต้นและความสูงฝักสูงกว่าการปลูกฤดูต้นฝนและฤดูแล้ง ผลผลิตฝักต่อไร่สูงที่สุดในฤดูต้นฝน แต่ผลผลิตเมล็ดพันธุ์ต่อไร่ไม่แตกต่างทางสถิติกับฤดูปลายฝนและฤดูแล้ง การใช้ระยะปลูก 60 x 20 ซม. มีผลทำให้ความสูงต้น ความสูงฝัก จำนวนต้นและจำนวนฝัก/ไร่ และผลผลิตเมล็ดพันธุ์สูงกว่าระยะปลูก 70x20 ซม. ไม่พบอิทธิพลร่วมของฤดูปลูก อัตราส่วนแถวแม่ต่อพ่อ และระยะปลูกต่อผลผลิตเมล็ดพันธุ์ต่อไร่ จะเห็นได้ว่า การผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสมพันธุ์สุวรรณ 5720 ในฤดูปลายฝน โดยใช้อัตราส่วนแถวแม่ต่อพ่อ 4:1 ที่ระยะปลูก 60 x 20 ซม. ให้ผลผลิตเมล็ดพันธุ์ น้ำหนักฝักดีและเปอร์เซ็นต์กะเทาะสูงกว่าฤดูปลูก อัตราส่วนแถวแม่ต่อพ่อ และระยะปลูกอื่น ๆ

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

เกรียงศักดิ์ สุวรรณธราดล. 2535. ข้อพิจารณาบางประการในการเปลี่ยนแปลงฤดูปลูกข้าวโพด, น. 1-13. ใน เอกสารประกอบการบรรยายในการประชุมวิชาการข้าวโพดข้าวฟ่างแห่งชาติ ครั้งที่ 23. ณ โรงแรมแกรนด์จอมเทียนพาเลซ พัทยา, ชลบุรี.

เกรียงศักดิ์ สุวรรณธราดล, พาโชค พงษ์พานิช และสรรเสริญ จำปาทอง. 2555. สามทศวรรษของธุรกิจเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดไร่ลูกผสมในประเทศไทย. แก่นเกษตร. 40 (4): 16-30.

ชูศักดิ์ จอมพุก, สรรเสริญ จำปาทอง, กิตติ บุญเลิศนิรันดร์, พีรนุช จอมพุก, จุฑามาศ ร่มแก้ว และชเนษฎ์ ม้าลำพอง. 2561. การพัฒนาพันธุ์ข้าวโพดไร่ลูกผสมเพื่อปลูกในดินนาฤดูแล้งเขตชลประทานภาคกลาง. รายงานการวิจัยการพัฒนาการวิจัยการเกษตร ฉบับสมบูรณ์ เสนอ สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน). 98 หน้า.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2563. ข้อมูลการผลิตสินค้าเกษตร: ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์. แหล่งข้อมูล: http://www.oae.go.th/view/, 25 พฤษภาคม 2563.

ศิรประภา นาสารีย์. 2558. คุณภาพของเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดไร่และข้าวโพดฝักอ่อนลูกผสมที่เก็บรักษาที่ห้องควบคุมอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์และอุณหภูมิห้อง. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ราเชนทร์ ถิรพร. 2539. ข้าวโพด. ภาควิชาพืชไร่นา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 274 หน้า.

เอ็จ สโรบล, สุรพล เช้าฉ้อง, สดใส ช่างสลัก, ศุภกาญจน์ ล้วนมณี, รวีวรรณ เชื้อกิตติศักดิ์, จุฑามาศ ร่มแก้ว, สราวุธ รุ่งเมฆารัตน์ และสุพจน์ กาเซ็ม. 2560. ใน รายงาน ความก้าวหน้าโครงการวิจัยศักยภาพการให้ผลผลิตของพันธุ์ข้าวโพดไร่ลูกผสมภายใต้ วิธีการเพาะปลูกแบบปกติและการลดการไถพรวนในฤดูฝนและฤดูแล้ง ครั้งที่ 3. สํานักงาน พัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน), กรุงเทพฯ. 245 หน้า.

Belay, M.K. 2019. Effect of inter and intra row spacing on growth, yield components and yield of hybrid maize (Zea mays L.) varieties at Haramaya, Eastern Ethiopia. American Journal of Plant Sciences. 10: 1548-1564.

Boomsma, C.R., J.B. Santini, M. Tollenaar, and T.J. Vyn. 2009. Maize morphophysiological responses to intense crowding and low nitrogen availability: An analysis and review. Agronomy Journal. 101: 1426–1452.

Borras, L., M.E. Westgate, and M.E. Otegui. 2003. Control of kernel weight and kernel water relations by the post-flowering source-sink ratio in maize. Annals of Botany. 91: 857-886.

Douglas, A., C.B. Dyson, and D.P. Sinclair. 1982. Effect of plant population on the yield of maize under high yielding conditions in New Zealand. New Zealand Journal Agricultural Research. 25: 147-149.

Fadhly, A.F., S. Saenong, R. Arief, F. Tabri, and F. Koes. 2010. Perakitan Teknologi Produksi Benih Jagung Hibrida Berumur Sedang (90-100 hari, hasil benih F1>2 t/ha). Laporan Akhir Program Insentif Riset Terapan. Maros: Balai Penelitian Tanaman Serealia.

Jettner, R., S.P. Loss, K.H. Siddique, and L.D. Martin. 1998. Responses of faba bean (Vicia faba L.) to sowing rate in South-Western Australia. I. Seed yield and economic optimum plant density. Australian Journal of Agricultural Research. 49: 989-998.

Jithendra, D.B., G.V. Basvaraju, G. Sarika, and N. Amrutha. 2013. Effect of fertilizer levels and planting geometry on growth and seed yield of single cross maize hybrid NAH-2049 (Nithyashree). Global Journal of Biology, Agriculture and Health Science. 2(3): 216-220.

R Core Team. 2020. The R Project for Statistical Computing. Available Source:

http://www.r-project.org/index.html, January 20, 2020.

Raymond, F.D., M.M. Alley, D.J. Parrish, and W.E. Thomason. 2009. Plant density and hybrid impacts on corn grain and forage yield and nutrient uptake. Journal of Plant Nutrition. 32: 395–409.

Ridwan, I., M. Farid Bdr, Y. Musa, H. Jamil, A.R. Amin, M.F. Anshori, S. Pati, N. Nursini, and A.N. Fadhilah. 2020. SINHAS-1 maize seed production through male-female ratio and pruning technique. Agrotech Journal. 5(2): 73-81.

Sárvári, M., Z. Futó, and M. Zsoldos. 2002. A vetésido? és a to?szám hatása a kukorica termésére. 51(3): 291-307.

Shapiro, C.A., and C.S. Wortmann. 2006. Corn response to nitrogen rate, row spacing, and plant density in eastern Nebraska. Agronomy Journal. 98: 529–535.

Stanger, T.F., and J.G. Lauer. 2007. Corn stalk response to plant population and the Bt-European corn borer trait. Agronomy Journal. 99: 657–664.

Tolka, A. 2014. Effect of variaties and plant density on yield and yield components of maize (Zea mays L.) in Ofa District, Gesuba, southern Ethiopia. Hara-maya University, Haramaya, Ethiopia.

Tollenaar, M., and F.A. Lee. 2002. Yield potential, yield stability and stress tolerance in maize. Field Crops Research. 75: 161–169.

Yuyun, I., and R.A. Syahban. 2017. The ratio of male and female parental and addition boron fertilizer in male plant to the production and quality seed of sweet corn (Zea mays “saccharata” STURT). Agriprima: Journal of Applied Agricultural Sciences. 1 (1): 1-12.