ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสมพันธุ์นครสวรรค์ 5 อายุเก็บเกี่ยวสั้นและทนแล้ง

Main Article Content

สุริพัฒน์ ไทยเทศ
ศิวิไล ลาภบรรจบ
ทัศนีย์ บุตรทอง
ปริญญา การสมเจตน์

บทคัดย่อ

ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์ วิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสมเพื่อให้ได้พันธุ์ใหม่ ให้ผลผลิตสูง ทนแล้ง และต้านทานโรคทางใบที่สำคัญ มีอายุเก็บเกี่ยวสั้น (95-100 วันหลังปลูก) เหมาะสมกับฤดูปลูกและระบบปลูกพืช โดยเฉพาะการปลูกในนาหลังเก็บเกี่ยวข้าว จากการประเมินผลผลิตตามขั้นตอนการปรับปรุงพันธุ์ในแหล่งปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่สำคัญของประเทศไทย พบว่า ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสมพันธุ์นครสวรรค์ 5 (NS5) ให้ผลผลิต 1,190 กก./ไร่ สูงกว่าพันธุ์นครสวรรค์ 3 (NS3) ร้อยละ 10 (เฉลี่ยจาก 63 แปลงทดลอง) ในสภาพขาดน้ำระยะออกดอกเป็นเวลา 1 เดือน ให้ผลผลิต 684 กก./ไร่ สูงกว่าพันธุ์นครสวรรค์ 3 ร้อยละ 21 มีความต้านทานโรคใบไหม้แผลใหญ่ และโรคราสนิม ต้านทานปานกลางต่อโรคราน้ำค้าง และโรคใบด่างที่เกิดจากเชื้อ Maize dwarf mosaic virus (SCMV-MDB) ฝักแห้งเร็ว หรือมีความชื้นขณะเก็บเกี่ยวน้อยกว่าพันธุ์อื่นๆ ในขณะที่ต้นยังเขียวสด สามารถเก็บเกี่ยวได้เร็วกว่าพันธุ์ลูกผสมการค้า 10-20 วัน

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

จำนงค์ ชัญถาวร, สุริพัฒน์ ไทยเทศ, ทัศนีย์ บุตรทอง, พิเชษฐ์ กรุดลอยมา, เพ็ญรัตน์ เทียมเพ็ง, อานนท์ มลิพันธ์, สายชล แสงแก้ว, อารีรัตน์ พระเพชร, พินิจ กัลยาศิลปิน, ปรีชา แสงโสดา, นิภาภรณ์ พรรณรา และสิทธิ์ แดงประดับ. 2558. การเปรียบเทียบในไร่เกษตรกรพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสมอายุสั้นพันธุ์ดีเด่นทนทานแล้ง. น. 82-92. ใน: รายงานผลการวิจัย ประจำปี 2558. ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์ สถาบันวิจัยพืชไร่และพืชทดแทนพลังงาน กรมวิชาการเกษตร.

ทัศนีย์ บุตรทอง, สุริพัฒน์ ไทยเทศ, พิเชษฐ์ กรุดลอยมา, สุทัศนีย์ วงค์ศุปไทย, จำนงค์ ชัญถาวร, เพ็ญรัตน์ เทียมเพ็ง, อานนท์ มลิพันธ์, สายชล แสงแก้ว, อารีรัตน์ พระเพชร, พินิจ กัลยาศิลปิน และปรีชา แสงโสดา. 2557. การเปรียบเทียบในท้องถิ่นพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสมอายุสั้นพันธุ์ดีเด่นทนทานแล้ง. น. 13-24. ใน: รายงานผลการวิจัย ประจำปี 2557. ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์ สถาบันวิจัยพืชไร่และพืชทดแทนพลังงาน กรมวิชาการเกษตร.

พิเชษฐ์ กรุดลอยมา, สุริพัฒน์ ไทยเทศ, กัญจน์ชญา ตัดโส, กัลยา ภาพินธุ, สมโภชน์ แก้วเทียน, เสกสรร อุดมการณ์เกษตร, สายชล จอมเกาะ, อรรณพ กสิวิวัฒน์, ปรีชา แสงโสดา, อานนท์ มลิพันธุ์ และอารีรัตน์ พระเพชร. 2552. การเปรียบเทียบในท้องถิ่น: พันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสมพันธุ์ดีเด่นทนทานแล้ง. น. 124-137. ใน: รายงานผลการวิจัย ประจำปี 2552. ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์ สถาบันวิจัยพืชไร่ กรมวิชาการเกษตร.

ศิวิไล ลาภบรรจบ, พีระวรรณ พัฒนวิภาส, พิเชษฐ์ กรุดลอยมา และสุริพัฒน์ ไทยเทศ. 2553ก. การประเมินพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ต่อโรคใบไหม้แผลใหญ่. น. 383-389. ใน: รายงานผลการวิจัย ประจำปี 2553. ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์ สถาบันวิจัยพืชไร่ กรมวิชาการเกษตร.

ศิวิไล ลาภบรรจบ, อมรา ไตรศิริ, พิเชษฐ์ กรุดลอยมา และสุริพัฒน์ ไทยเทศ. 2553ข. ปฏิกิริยาของสายพันธุ์ข้าวโพดต่อโรคราสนิม. น. 96-106. ใน: รายงานผลการวิจัย ประจำปี 2553. ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์ สถาบันวิจัยพืชไร่ กรมวิชาการเกษตร.

ศิวิไล ลาภบรรจบ, สุริพัฒน์ ไทยเทศ และอมรา ไตรศิริ. 2558. การประเมินความเสียหายของผลผลิตข้าวโพดที่เป็นโรคใบด่าง. น. 232-241. ใน: รายงานผลการวิจัย ประจำปี 2558. ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์ สถาบันวิจัยพืชไร่และพืชทดแทนพลังงาน กรมวิชาการเกษตร.

สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย. 2564. ประชากรสัตว์ ความต้องการใช้อาหารสัตว์. แหล่งข้อมูลhttp://www.thaifeedmill.com/tabid/56/Default.aspx. ค้นเมื่อ 11 พฤษภาคม 2564.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2564. สถานการณ์สินค้าเกษตรที่สำคัญและแนวโน้มปี 2565. แหล่งข้อมูล: https://www.oae.go.th/assets/portals/1/files/jounal/2565/trendstat2565-Final-Download.pdf. ค้นเมื่อ 1 มิถุนายน 2565.

สุริพัฒน์ ไทยเทศ, พิเชษฐ์ กรุดลอยมา, สุทัศนีย์ วงศ์ศุปไทย, ทัศนีย์ บุตรทอง, เพ็ญรัตน์ เทียมเพ็ง, อานนท์ มลิพันธ์ และกิตติมา อินทะเคหะ. 2555ก. การเปรียบเทียบเบื้องต้นพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสมอายุสั้นพันธุ์ดีเด่นทนทานแล้ง. น. 64-74. ใน: รายงานผลการวิจัย ประจำปี 2555. ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์ สถาบันวิจัยพืชไร่และพืชทดแทนพลังงาน กรมวิชาการเกษตร.

สุริพัฒน์ ไทยเทศ, พิเชษฐ์ กรุดลอยมา, สุทัศนีย์ วงศ์ศุปไทย และทัศนีย์ บุตรทอง. 2555ข. เทคนิคการคัดเลือกพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ทนทานแล้ง. น. 150-160. ใน: การประชุมวิชาการพืชไร่และพืชทดแทนพลังงาน ประจำปี 2555 สถาบันวิจัยพืชไร่และพืชทดแทนพลังงาน. 18-20 มิถุนายน 2555. โรงแรมภูริมาศ บีช แอนด์ สปา, จ.ระยอง.

สุริพัฒน์ ไทยเทศ, พิเชษฐ์ กรุดลอยมา, ทัศนีย์ บุตรทอง, เพ็ญรัตน์ เทียมเพ็ง, อานนท์ มลิพันธ์, สายชล แสงแก้ว, ปรีชา แสงโสดา และ กิตติมา อินทะเคหะ. 2556. การเปรียบเทียบมาตรฐานพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสมอายุสั้นพันธุ์ดีเด่นทนทานแล้ง. น. 13-23. ใน: รายงานผลการวิจัย ประจำปี 2556. ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์ สถาบันวิจัยพืชไร่และพืชทดแทนพลังงาน กรมวิชาการเกษตร.

สุริพัฒน์ ไทยเทศ, พิเชษฐ์ กรุดลอยมา, ทัศนีย์ บุตรทอง และจำนงค์ ชัญถาวร. 2560. การปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสมอายุสั้นเพื่อผลผลิตสูงและทนแล้ง. หน้า 22-23. ใน : รายงานผลการวิจัย ประจำปี 2560 (บทคัดย่อ/รายงานความก้าวหน้า). ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์ สถาบันวิจัยพืชไร่และพืชทดแทนพลังงาน กรมวิชาการเกษตร.

สุริพัฒน์ ไทยเทศ, ทัศนีย์ บุตรทอง, จำนงค์ ชัญถาวร, ปริญญา การสมเจตน์ และชัยโย ฉายาพัฒน์. 2561ก. การปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสมอายุสั้นเพื่อผลผลิตสูงและทนแล้ง. หน้า 19-20. ใน : รายงานผลการวิจัย ประจำปี 2561(บทคัดย่อ/รายงานความก้าวหน้า). ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์ สถาบันวิจัยพืชไร่และพืชทดแทนพลังงาน กรมวิชาการเกษตร.

สุริพัฒน์ ไทยเทศ, ทัศนีย์ บุตรทอง, จำนง ชัญถาวร, เพ็ญรัตน์ เทียมเพ็ง, ระพีพรรณ ชั่งใจ, สายชล แสงแก้ว และปรีชา แสงโสดา. 2561ข. การเปรียบเทียบมาตรฐานพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสมอายุสั้น. หน้า 21-22. ใน : รายงานผลการวิจัย ประจำปี 2561 (บทคัดย่อ/รายงานความก้าวหน้า). ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์ สถาบันวิจัยพืชไร่และพืชทดแทนพลังงาน กรมวิชาการเกษตร.

Fischer, K.S., E.C. Johnson, and G.O. Edmeades. 1983. Breeding and Selection for Drought Resistance in Tropical Maize. CIMMYT, Mexico.

Nair, S.K., T.A. Setty, R.S. Rathore, R. Kumar, N.N. Singh, and B.M. Prasanna. 2008. Towards molecular marker mapping of genes conferring resistance to sorghum downy mildew (Peronosclerospora sorghi) in maize. Available: http://www.agron.missouri.edu/mnl/75/60nair.html. Accessed July 2, 2007.

Scott, G.E., S.B. King, and J.W. Armour. 1984. Inheritance of resistance to southern corn rust in maize populations. Crop Science. 24: 265-267.