การพัฒนากระบวนการเร่งการเพาะงอกของตาลโตนดในพื้นที่จังหวัดเพชรบุรี

Main Article Content

จันทนา ก่อนเก่า
วัชราภรณ์ ประภาสะโนบล
พาขวัญ ทองรักษ์
ฉอ้อน จุ้ยแจ้ง
นิสันติ ศิลประเสริฐ

บทคัดย่อ

จาวตาลเป็นส่วนของเมล็ดตาลที่อยู่ในระหว่างการงอก สามารถนำมาทำผลิตภัณฑ์อาหารได้หลายชนิด แต่อัตราการงอกของเมล็ดตาลตามธรรมชาติต้องใช้เวลานานจึงมีผลกระทบต่อการนำไปใช้ประโยชน์ งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงกระบวนการเร่งการเพาะงอกของตาลโตนดโดยศึกษาผลของความเข้มข้นกรดซัลฟิวริก อุณหภูมิของน้ำและระยะเวลาในการทำลายระยะการพักตัวในกระบวนการเร่งการเพาะงอกของเมล็ดตาลเพื่อผลิตเป็นจาวตาล ขั้นตอนการศึกษาประกอบด้วย การศึกษาข้อมูลการเพาะงอกตาลโดยใช้วิธีดั้งเดิมตามภูมิปัญญาและปัญหาการผลิตของเกษตรกรที่ได้จากการสัมภาษณ์เชิงลึก พบว่า เกษตรกรใช้วิธีการกระตุ้นการงอกด้วยการแช่เมล็ดในน้ำ 15-30 วัน และมีอัตราการงอกประมาณ 54-75% ในขณะที่การวิจัยครั้งนี้มีการกระตุ้นการงอกโดยใช้สารละลายกรดซัลฟิวริกความเข้มข้น 5, 10 และ 15% v/v และแช่เมล็ดตาลเป็นเวลา 6, 12, 18 และ 24 ชั่วโมง ก่อนนำไปเพาะงอก เปรียบเทียบกับการแช่เมล็ดตาลในน้ำร้อนที่อุณหภูมิ 60, 70, 80 และ 90 ํC ที่เวลาต่างกัน 10-90 นาที ผลการศึกษาพบว่า การแช่เมล็ดตาลโตนดในน้ำร้อนที่อุณหภูมิ 70 ํC นาน 40 นาที เมล็ดมีอัตราการงอกสูงสุด 91.11 % ที่ระยะเวลาการเพาะงอก 30 วัน ซึ่งไม่แตกต่างกับ (P>0.05) การแช่เมล็ดตาลในน้ำร้อนที่อุณหภูมิ 70 ํC นาน 20 นาที และ 60 นาที มีอัตราการงอก 88.89% และ 85.56% ตามลำดับ  การแช่เมล็ดตาลโตนดในสารละลายกรดซัลฟิวริกมีอัตราการงอกต่ำอยู่ที่ 13-70%  และชุดควบคุมที่ระยะเวลาการเพาะ 30 วัน มีอัตราการงอก 72-78% ดังนั้นสภาวะการเพาะงอกตาลโตนดที่เหมาะสมที่สุดคือการแช่เมล็ดตาลโตนดในน้ำร้อน 70 ํC นาน 20-40 นาที ซึ่งจะสามารถช่วยลดเวลาในการเพาะงอกและลดการสูญเสียเมล็ดตาลจากการเพาะงอกได้

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

ถนอม ภู่เงิน. 2556. การปลูกตาลโตนด. แหล่งข้อมูล: www.phechaburi.reoae.go.th/2013/tan_phey/tan6.htm.

มนูญ ศิรินุพงศ์ นงนุช วงศ์สินชวน และสุจริต ส่วนไพโรจน์. 2557. การทำลายการพักตัวของเมล็ดและการกระตุ้นการเจริญของ จาวตาลโตนด (Borassus flabellifer Linn.). แก่นเกษตร. 42(พิเศษ 3): 386-390.

สรายุทธ์ ไทยเกื้อ ทวีศักดิ์ ชื่นปรีชา และพิมพาพร พลเสน. 2550. วิธีทำลายระยะพักตัวที่เกิดจากเปลือกหุ้มเมล็ดแข็งของเมล็ดพันธุ์ถั่วอาหารสัตว์เขตร้อนบางชนิด. รายงานผลงานวิจัยกองอาหารสัตว์. กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. น. 35-50.

Arunachalam, K., S. Saravanan, and T. Parimelazhagan. 2011. Nutritional analysis and antioxidant activity of palmyrah (Borassus flabellifer L.) seed embryo for potential use as food source. Food Science and Biotechnology. 20 (1): 143-149.

Das, S., A. Das, N.S. Kar, and S. Bandyopadhay. 2020. Shortening seed germination time for Borassus flabellifer using compost pit seed pretreatment. Current Science. 119 (8): 1249-1251.

Kher, M.M., and M. Natarai. 2015. Effect of sulfuric acid treatment on breaking of seed dormancy and germination of Indian doum palm, Hyphaene dichotoma, a threatened and endemic palm. Environmental and Experimental Biology. 13: 99–101.

Meerow, A.W., and T.K. Broschat. 2004. Palm seed germination. Florida Cooperative Extensive Service., University of Florida.

Naguleswaran, S., T. Vasanthan, R. Hoover, and Q. Liu. 2010. Structure and Physicochemical properties of palmyrah (Borassus flabellifer L.) seed-shoot starch grown in Sri Lanka. Food Chemistry. 118: 634-640.

Pego, R.G., D.S.D. Silva, S.M. Filho, and J.A.S. Gross. 2016. Sulfuric acid on breaking dormancy seeds and on emergence and morphology of Canna edulis seedlings. Campinas-sp. 22(2): 221-227.

Purohit, S., S.K. Nandi, L.M.S. Palni, L. Giri, and A. Bhatt. 2015. Effect of sulfuric acid treatment on breaking of seed dormancy and subsequent seedling establishment in Zanthoxylum armatum DC: An endangered medicinal plant of the Himalayan region. National Academy Science Letters. 38(4): 301-304.