ศักยภาพการบริหารจัดการโซ่อุปทานโคเนื้อภาคเหนือ

Main Article Content

นลินี คงสุบรรณ์
วันวสา วิโรจนารมย์
วิวัฒน์ พัฒนาวงศ์
จุฬากร ปานะถึก
สุบรรณ ฝอยกลาง
อานนท์ ปะเสระกัง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ระบบการบริหารจัดการโซ่อุปทานโคเนื้อภาคเหนือ และประเมินศักยภาพการบริหารจัดการโซ่อุปทานโคเนื้อภาคเหนือ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้มีส่วนได้เสียตลอดโซ่อุปทาน ได้แก่ เกษตรกร 112 ราย ผู้ประกอบการรวบรวมโคมีชีวิต 2 ราย ผู้ประกอบการฆ่า ชำแหละ และผู้ประกอบการตัดแต่งชิ้นส่วน 1 ราย แล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เชิงพรรณนา และวิเคราะห์เชิงปริมาณด้วยโครงสร้างต้นทุน-ผลตอบแทน และอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนตลอดโซ่อุปทาน ผลการวิจัยพบว่า ระบบการบริหารจัดการโซ่อุปทานโคเนื้อภาคเหนือ ประกอบด้วย 1) การผลิต เกษตรกรผลิตโคเนื้อพันธุ์ลูกผสมบราห์มัน และลูกผสมเลือดยุโรป 3 รูปแบบ ได้แก่ การผลิตโคต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ โดยการผลิตโคปลายน้ำ พันธุ์ลูกผสมเลือดยุโรป ROI สูงสุด 9.57% 2) การรวบรวม เกษตรกรผู้นำในพื้นที่เป็นผู้ประกอบการรวบรวมโคมีชีวิตแล้วกระจายไปยังผู้รวบรวมเพื่อการตลาดนัดโค-กระบือ ผู้ประกอบการโรงฆ่า และผู้ส่งออก ROI 3.04% 3) การฆ่า ชำแหละ ดำเนินการโดยสหกรณ์เครือข่ายโคเนื้อ จำกัด โดยใช้โรงฆ่าคณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ส่วนวิสาหกิจโคเนื้อล้านนาใช้โรงฆ่าสหกรณ์โคขุนดอกคำใต้ จำกัด และโรงฆ่าบริษัทพรีเมี่ยมบีฟ ROI 7.27% และ 4) การตัดแต่งชิ้นส่วนเนื้อโค ดำเนินการโดยสหกรณ์เครือข่ายโคเนื้อ จำกัด และวิสาหกิจโคเนื้อล้านนา ROI 15.85% ส่วนศักยภาพการบริหารจัดการโซ่อุปทานโคเนื้อภาคเหนือ พบว่า การตัดแต่งชิ้นส่วนเนื้อโคเพื่อขายปลีกมีศักยภาพสูงสุด ในขณะที่การรวบรวมมีศักยภาพน้อยที่สุด ดังนั้นการพัฒนาโซ่อุปทานโคเนื้อภาคเหนือควรมุ่งเน้นไปที่โซ่ปลายน้ำ

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กมลทิพย์ สอนศิริ, พยุงศักดิ์ อินต๊ะวิชา, สุรีย์พร แสงวงศ์, ภวิศสรณ์ ภูมิสรณคมณ์ และชยุต ดงปาลีธรรม์. 2563. สภาพการเลี้ยงและการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมของการผลิตเนื้อโคขุนคุณภาพในจังหวัดพะเยาและจังหวัดแพร่. แก่นเกษตร. 48(1): 93-104.

กรมปศุสัตว์. 2561. ยุทธศาสตร์โคเนื้อ 5 ปี พ.ศ.2561-2565. แหล่งข้อมูล: http://planning.dld.go.th/th/images/stories/section-17/policy/strategic_01.pdf ค้นเมื่อ 14 เมษายน 2564.

กลุ่มสารสนเทศและข้อมูลสถิติ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมปศุสัตว์. 2563. ข้อมูลจำนวนปศุสัตว์ ในประเทศไทย ปี 2563. แหล่งข้อมูล: http://docimage.dld.go.th/FILEROOM/CABDLD_BOOKSHELF2/DRAWER26/GENERAL/DATA0000/00000082.PDF ค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2565.

จัตตุรงค์ เพลินหัด. 2558. การเพิ่มศักยภาพของสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว (ตลาดน้ำ) ของไทยก่อนเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. วารสารวิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน. 1(2): 19-27.

จันทร์พร เจ้าทรัพย์, ภัทรพงศ์ จันทร์เจริญ, วิเชฎฐ์ ยาทองไชย, มาลัย จงเจริญ, กันยา ตันติวิสุทธิกุล และสุขสถิตพ์ พิสิษฐ์สัชญา. 2562. โครงการ “ระบบการบริหารจัดการโซ่อุปทานเนื้อโคขุนโพนยางคำเพื่อความสามารถในการแข่งขัน”. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

ฐิติมา นรโภค, ธนิตพันธ์ พงษ์จงมิตร, นพรัตน์ ผกาเชิด, ทิพย์สุดา บุญมาทัน และอนุสรณ์ เชิดทอง. 2562. การศึกษาข้อมูลการเลี้ยงโคเนื้อของเกษตรกรจังหวัดกาฬสินธุ์และผลของการให้อาหารเสริมในโคเนื้อแบบปล่อยเลี้ยง. แก่นเกษตร. 47(3): 587-594.

นราทิพย์ ชุติวงศ์. 2548. หลักเศรษฐศาสตร์I : จุลเศรษฐศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 10. โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

นราวุธ ระพันธุ์คำ, เรืองฤทธิ์ หาญมนตรี, ภรภัทร ไชยสมบัติ, ชนกนันท์ ศรีลาพัฒน์ และลัดดาวัลย์ เลิศจันทึก. 2562. การเปรียบเทียบต้นทุนและผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์ของการเลี้ยงโคขุนในเขตจังหวัดสกลนคร. แก่นเกษตร. 47 (ฉบับพิเศษ 1): 871-876.

นลินี คงสุบรรณ์. 2563. ประสิทธิภาพการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานโคเนื้อของสหกรณ์เครือข่ายโคเนื้อ จำกัด. ดุษฎีนิพนธ์ ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยแม่โจ้. เชียงใหม่.

นิพนธ์ พัวพงศกร, บุญจิต ฐิตาภิวัฒนกุล, สุเมธ องกิตติกุล, ชัยสิทธิ์ อนุชิตวรวงศ์, ชลัท ทัพประเสิรฐ, สุวรรณา ตุลยวศินพงศ์, นิภา ศรีอนันต์, เศก เมธาสุรารักษ์, กัมพล ปั้นตะกั่ว และมาเรียม กรีมี. 2553. โครงการศึกษาแนวทางการจัดการห่วงโซ่อุปทาน และโลจิสติกส์ของสินค้าเกษตร. สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย: กรุงเทพฯ.

รชต สวนสวัสดิ์. 2559. การบัญชีต้นทุน 2. คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี. อุดรธานี.

ศิริพร กิรติการกุล, จงกล พรมยะ, สุขสถิตพ์ พิสิษฐ์สัชญา, วันวสา วิโรจนารมย์ และนลินี คงสุบรรณ์. 2565. การพัฒนาธุรกิจชุมชนด้วยโซ่อุปทานการผลิตสินค้าเกษตร เพื่อเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจชุมชนบนพื้นที่สูง. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.).

ศิริพร กิรติการกุล, สิทธิพร บุรณนัฏ และฑีฆา โยธาภักดี. 2559. การเปลี่ยนผ่านจากเกษตรสู่อุตสาหกรรมบริการของประเทศไทย: นวัตกรรมการสร้างมูลค่าและการสร้างงานด้วยรูปแบบธุรกิจใหม่ในโซ่อุปทานเนื้อโค. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ สำนักงานสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

ศิริพร กิรติการกุล, สุขสถิตพ์ พิสิษฐ์สัชญา และนลินี คงสุบรรณ์. 2563. โมเดลอาชีพทางเลือกและห่วงโซ่อุปทาน. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.).

ศิริพร กิรติการกุล. 2563. โอกาสโคเนื้อไทยหรือเพียงปกป้องอุตสาหกรรมเนื้อโคของประเทศ. (น. 83-102). ใน: จันทร์จรัส เรี่ยวเดชะ. แพลตฟอร์มวิจัยด้านเกษตร: การออกแบบและการบริหารจัดการงานวิจัยเพื่อมุ่งผลลัพธ์. สถาบันคลังสมองของชาติ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม, กรุงเทพฯ.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2563. สถานการณ์สินค้าเกษตรที่สำคัญและแนวโน้มปี 2564. แหล่งข้อมูล: http://www.oae.go.th/assets/portals/1/files/jounal/2564/trend2564.pdf ค้นเมื่อ 14 เมษายน 2564.

สุภาวดี แหยมคง. 2559. ต้นทุนและผลตอบแทนการผลิตโคเนื้อของเกษตรกร ในอำเภอวัดโบสถ์ และอำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก. วารสารเกษตร. 32(3): 401–407.

สุรีย์พร แสงวงศ์, วีรนุช ทันนิธิ, จักรกฤษ วิชาพร และพยุงศักดิ์ อินต๊ะวิชา. 2562. สภาพการผลิต การจัดการและห่วงโซ่อุปทานโคเนื้อของเกษตรกรในจังหวัดเชียงราย. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 28(8): 1403-1414.

Aramyan, L.H., O. LAG, J.G. Van Der Vorst, and O. Van Kooten. 2007. Performance measurement in agrifood supply chains: A case study. Supply Chain Management: An International Journal. 12: 304–315.

Beef Cluster Cooperative LTD. 2019. Annual report 2019. Nakhonpathom. (in Thai).

Brewer, P.C., and T.W. Speh. 2000. Using the balanced scorecard to measure supply chain performance. Journal of Business Logistic. 21(21): 75-93.

Galankashi, M.R., and F.M. Rafiei. 2021. Financial performance measurement of supply chains: a review. International Journal of Productivity and Performance Management. 71(5): 1674-1707.

Rahayu, R., E.P. Purnomo, and A.D. Malawani. 2020. Using The "Return on Investment" strategy to sustain logistic supply provider toward Indonesia's logistic policy. Journal of Government and Civil Society. 4(2): 201-218.

Zamfir, M., M.D. Manea, and L. Ionescu. 2016. Return on investment – indicator for measuring the profitability of invested capital. Valahian Journal of Economic Studies. 7(21): 79-85.