การทดสอบผลผลิตข้าวโพดข้าวเหนียวลูกผสมเดี่ยวเบื้องต้นโดยวิธี Testcross

Main Article Content

สุริยศักดิ์ อุ่นตาล
บุญฤทธิ์ สินค้างาม

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาพันธุ์ข้าวโพดข้าวเหนียวให้มีผลผลิตสูงและมีคุณภาพการบริโภคที่ดี โดยคัดเลือกข้าวโพดข้าวเหนียวผสมตัวเองชั่วที่ 3 จำนวน 20 สายพันธุ์ ทำการผสมแบบ Line × Tester โดยใช้สายพันธุ์ทดสอบ 3 สายพันธุ์ ได้แก่ UPT1, UPT3 และ UPT7 ได้สายพันธุ์ลูกผสมเดี่ยวเบื้องต้นจำนวน 60 คู่ผสม ปลูกทดสอบผลผลิตร่วมกับพันธุ์เปรียบเทียบจำนวน 4 พันธุ์ โดยใช้แผนการทดลองแบบสุ่มในบล็อกสมบูรณ์ (randomized complete block design) จำนวน 2 ซ้ำ พบว่า วันสลัดละอองเกสรและวันออกไหมอยู่ในช่วง 44 – 51 วัน และ 45 – 51 วัน คู่ผสมที่ให้ค่าเฉลี่ยผลผลิตทั้งเปลือกสูงที่สุด คือ UPWX2207 และ UPWX2447 เท่ากับ 2,743 กิโลกรัม/ไร่ ส่วนผลผลิตหลังปอกเปลือก คู่ผสมที่ให้ผลผลิตสูงที่สุด คือ UPWX2447 เท่ากับ 1,943 กิโลกรัม/ไร่ สำหรับคู่ผสมที่คุณภาพในการกัดชิมที่ดี คือ UPWX2447 ได้ 3.0 คะแนน เปอร์เซ็นต์การตัดฝานคู่ผสมที่ให้ค่าสูงสุด คือ  UPWX2377 และ UPWX2423 เท่ากับ 71.4% มีความยาวฝัก ความกว้างฝักและความยาวติดเมล็ดเฉลี่ยทุกคู่ผสมเท่ากับ 15.6, 3.7 และ 13.3 ซม. ตามลำดับ สำหรับการประเมินโรคราน้ำค้าง โรคใบไหม้แผลไหม้ โรคใบไหม้แผลเล็ก และโรคราสนิม พบว่า ทุกคู่ผสมมีการเกิดโรคทางใบอยู่ในระดับที่ ดี-ดีมาก เท่ากับ 1.0, 1.0, 1.5 และ 1.4 คะแนน ตามลำดับ ทั้งนี้สายพันธุ์ UP233 ซึ่งมีสมรรถนะการรวมตัวทั่วไปในลักษณะของผลผลิตฝักสดทั้งเปลือกและผลผลิตหลังการปอกเปลือกสูงสุด สามารถนำไปพัฒนาเป็นสายพันธุ์แท้ที่มีศักยภาพในการใช้สร้างสายพันธุ์ลูกผสม สำหรับสมรรถนะการรวมตัวเฉพาะ โดยพันธุ์ที่คาดว่ามีศักยภาพในการใช้เป็นพันธุ์ลูกผสม ได้แก่ พันธุ์ UPWX2207 และ UPWX2447 ซึ่งเป็นพันธุ์ที่มีค่าเฉลี่ยและค่าสมรรถนะการรวมตัวเฉพาะของน้ำหนักฝักสดทั้งเปลือกสูง

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

เกรียงศักดิ์ สุวรรณธราดล. 2555. กฎหมายและการปรับปรุงพันธุ์พืช. น. 48-75. ใน: เอกสารประกอบการฝึกอบรมหลักการปรับปรุงพันธุ์พืช รุ่นที่ 2 21-24 สิงหาคม 2555. ภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน, นครปฐม.

กรมวิชาการเกษตร. 2556. รายงานข้อมูลภาวการณ์ผลิตพืช (ตร. 01) แบบรายปี 2556/57.แหล่งข้อมูล: http://production.doae.go.th/report/report_main2.php?report_type=1. ค้นเมื่อ 27 เมษายน 2565.

ธาวิดา ศิริสัมพันธ์. 2561. ศรแดง มีข้าวโพดหลากสี คุณภาพเยี่ยม ให้ผลผลิตต่อไร่สูง. แหล่งข้อมูล:https://www.technologychaoban.com/agricultural-technology/article_65761. ค้นเมื่อ 15 เมษายน 2565.

บุญหงส์ จงคิด. 2548. หลักการและเทคนิคการปรับปรุงพันธุ์พืช. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.

บุญฤทธิ์ สินค้างาม. 2556. การประเมินสมรรถนะการผสมของข้าวโพดข้าวเหนียวผสมตัวเองชั่วที่ 3. วารสารวิชาการเกษตร. 31(3): 293-306.

ปัทมา จันทร์เรือง, ประณิตา พรหมศรี, จินตนา อันอาตม์งาม และสรรเสริญ จำปาทอง. 2556. ความหลากหลายของเชื้อราสนิมที่พบในประเทศไทยและเทคนิคการคัดเลือกพันธุ์ต้านทาน. ใน: การประชุมคลัสเตอร์เมล็ดพันธุ์. วันที่ 4 - 5 กุมภาพันธ์ 2556. อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยแห่งชาติ, ปทุมธานี.

ประภา กัณฐศากุล, สุทัศน์ ศรีวัฒนพงศ์ และจินดา จันทร์อ่อน. 2535. ส่วนประกอบบางอย่างของข้าวโพดฝักสด, น. 1-3. ใน: เอกสารประกอบการสัมมนาข้าวโพดหวาน. ศูนย์วิจัยพืชไร่เชียงใหม่, เชียงใหม่.

ไพศาล เหล่าสุวรรณ. 2527. หลักการปรับปรุงพันธุ์พืช. โรงพิมพ์ไทยนำ สงขลา. 320 น.

วรศักดิ์ สวนียะ, กมล เลิศรัตน์ และพลัง สุริหาร. 2555. สมรรถนะการรวมตัวในลักษณะผลผลิตฝักสดของข้าวโพดข้าวเหนียวสายพันธุ์แท้. แก่นเกษตร. 40(4): 77-82.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2559. ข้าวโพดข้าวเหนียว. แหล่งข้อมูล:http://www.oae.go.th/download/prcai/vegetable/sweetcorn.pdf. ค้นเมื่อ 27 เมษายน 2565.

Griffing, B. 1956. Concept of general and specific combining ability in relation to diallel crossing system. Australin Journal Biology. 9: 463-493.

Kanthasakul, P., S. Sriwatthanapong, and J. Junon. 1991. Partial organs of fresh corns. In: Sweet corn conference. Chiang Mai Field Crops Research Center. Chiang Mai, Thailand.

R-Program. 2021. R: A language and environment for statistical computing. R Foundation

for Statistical Computing, Vienna, Austria. Available: http://www.R-project.org. Accessed November. 27, 2021.

Sinkangam, B., and P. Chunvijit. 2014. Line development and preliminary trial of the waxy corn hybrid for high yield potential in Phayao using the test cross method with tester. Naresuan University Journal: Science and Technology. 22: 85-93.