การศึกษาอัตราส่วนของแกลบที่ผสมกับปุ๋ยหมักเปลือกมันสำปะหลังต่อสมบัติดินในพื้นที่ดินเค็ม จังหวัดบุรีรัมย์

Main Article Content

อรรถพล เปลื้องไธสง
ธรรมเรศ เชื้อสาวถี
วิทยา ตรีโลเกศ

บทคัดย่อ

การศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงอิทธิพลของปุ๋ยหมักเปลือกมันสำปะหลังกับแกลบในอัตราต่างกันที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงสมบัติของดิน ได้ทำการศึกษาที่บ้านดอน อำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งเป็นพื้นที่ดินเค็มปานกลาง (4.3 ds/m) มีการศึกษาวางแผนการทดลองแบบ randomized complete block  design, (RCBD) ประกอบด้วย 4 กรรมวิธีทดลอง ได้แก่ แปลงควบคุม ปุ๋ยหมักเปลือกมันสำปะหลังอัตรา 3,000 กก./ไร่ ปุ๋ยหมักเปลือกมันสำปะหลังอัตรา 3,000 กก./ไร่ ร่วมกับแกลบอัตรา 500 กก./ไร่ และปุ๋ยหมักเปลือกมันสำปะหลังอัตรา 3,000 กก./ไร่ ร่วมกับแกลบอัตรา 1,000 กก./ไร่ จำนวน 3 ซ้ำ  ผลการศึกษาพบว่า ในทุกตำรับการทดลองที่มีการใช้ปุ๋ยหมักเปลือกมันสำปะหลังร่วมกับแกลบในอัตราต่าง ๆ มีแนวโน้มทำให้ความหนาแน่นของดินลดลง ยกเว้นกรรมวิธีทดลองควบคุม เมื่อใส่วัสดุอินทรีย์ในทุกกรรมวิธีทดลอง  ยกเว้นแปลงควบคุมพบว่า ค่าการนำไฟฟ้าของดิน  (EC)  ลดลงมากถึง 44.62% และการใช้วัสดุอินทรีย์สามารถเพิ่มความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารให้กับดิน ซึ่งพบว่า ปริมาณไนโตรเจน ปริมาณฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียม มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับแปลงควบคุม ผลการลดลงของค่าการนำไฟฟ้าของดิน จากการใส่วัสดุอินทรีย์ต่าง ๆ ชี้ให้เห็นว่าเป็นสาเหตุหลักของการลดลงของค่าความเค็มในดิน

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กรมพัฒนาที่ดิน. 2553. เรื่อง คู่มือการวิเคราะห์ตรวจสอบดินทางเคมี. คู่มือการปฏิบัติงานกระบวนการวิเคราะห์ดิน น้ำ พืช. ปรับปรุงครั้งที่ 01 ฉบับที่ 01.

กรมพัฒนาที่ดิน. 2540. การปรับปรุงบำรุงดินด้วยอินทรียวัตถุ. กลุ่มอินทรียวัตถุ. กองอนุรักษ์ดินและน้ำ. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. กรุงเทพฯ : 165 หน้า.

ไพรัช พงษ์วิเชียร, ชัยนาม ดิสถาพร, ปราโมทย์ แย้มคลี่ และประสิทธิ์ ตันประภาส. 2546. รายงานผลงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่องผลของวัสดุปรับปรุงดินร่วมกับการปลูกข้าวต่อการ เคลื่อนย้ายเกลือในดินระบบระบายน้ำแบบร่องเปิดในพื้นที่ดินเค็มจัด. 38 หน้า.

สมศักดิ์ สุขจันทร์ 2548. กองวิจัยและพัฒนาการจัดการที่ดิน. ข้อมูลการจัดการดิน. ตารางแสดงการแพร่กระจายดินเค็มเมื่อพิจารณาจากคราบเกลือในจังหวัดต่างๆ ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ไร่). [สืบค้นเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2562. จาก : www.ldd.go.th/Web_Soil/salty.htm.]

สมศรี อรุณินท์. 2539. ดินเค็มในประเทศไทย. โครงการพัฒนาพื้นที่ดินเค็ม เอกสารคู่มือเจ้าหน้าที่ของรัฐ. กลุ่มปรับปรุงดินเค็ม. กรมพัฒนาที่ดิน. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 343 หน้า.

Arriaga, F.J., and B. Lowery. 2003. Soil physical properties and crop productivity of an eroded soil amended with cattle manure. Soil Science. 168(12): 888-899.

Asai, H., B.K. Samson, H.M. Stephan, K. Songyikhangsuthor, K. Homma, Y. Kiyono, Y. Inoue, T. Shiraiwa, and T. Horie. 2009. Biochar amendment techniques for upland rice production in Northern Laos 1. Soil physical properties, leaf SPAD and grain yield. Filed Crops Research. 111: 81-84.

Chaganti, V.N., D.M. Crohn, and J. Simunek. 2015. Leaching and reclamation of a biochar and amended saline-sodic soil with moderate SAR reclaimed water. Agricultural Water Management. 158: 255-265.

Colombani, N., M. Mastrocico, D.D. Giuseppe, B. Faccini, and M. Coltorti. 2014. Variation of the hydraulic properties and solute transport mechanisms in a silty-clay soil amended with natural zeolites. CATENA. 123: 195-204.

Eche, N.M., E.N.O. Iwuafor, I. Yo,ila Amapui, and M.V. Bruns. 2013. Effect of application of organic and mineral soil amendments in a continuous cropping system for 10 year on chemical and physical properties of an Alfisol in Northem Guinea Savanna zone. International Journal of Agricultural Policy and Research. 1 (4): 116-123.

Luduena, L., D. Fasce., V.A. Alvarez, and P.M. Stefani. 2011. Nanocellulose from rice husk following alkaline treatment to remove silica. BioResources. 6(2): 1440-1453.

Major, J., M. Rondon., D. Molina., S.J. Riha and J. Lehmann. 2010. Maize yield and nutrition during 4 years after biochar application to a Colombian savanna oxisol. Plant Soil. 333:117-128.

Puttaso, A., P. Vityakon, P. Saenjan, V. Trelo-ges, and G. Cadisch. 2011. Relationship between residue quality, decomposition patterns, and soil organic matter accumulation in a tropical sandy soil after 13 years. Nutrient Cycling in Agroecosystems. Agroecosys. 89: 159-174.

Tejada, M., C. Garcia, J.L. Gonzalez, and M.T. Hernandez. 2006. Use of organic amendment as a strategy for saline soil remediation: Influence on the physical, chemical and biological properties of soil. Soil Biology and Biochemistry. 38:1413-1421.